29 มีนาคม 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่จัดโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในอำเภอดอกคำใต้

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่จัดโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในอำเภอดอกคำใต้

หมวดหมู่: การศึกษา

วันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ณ ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีความพยายามในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดตั้งเป็นชมรมรักษ์แผนไทยตำบลบ้านถ้ำขึ้น โดยทางชมรมมีการนำพืชสมุนไพรที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น มาประกอบเป็นตำรับยาตามภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมา เผยแพร่ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทางคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้ลงพื้นที่จัดโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในอำเภอดอกคำใต้ เพื่อสืบสานองค์ความรู้ด้านสมุนไพรตำรับยาในท้องถิ่น



คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมี ดร.มารุต แก้ววงศ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมด้วย ดร.เนติ เงินแพทย์ นางสาวพัชรินทร์  ใจข้อ และนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ กว่า 20 คน จัดโครงการ ร่วมกับชมรมรักษ์แผนไทย รพ.สต.บ้านถ้ำ ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ โดยเริ่มจากการสำรวจ ไม้ยืนต้นในสวนรุกขชาติ ต.บ้านถ้ำ และจัดทำป้ายอะครีลิคแนะนำไม้ยืนต้นในบริเวณ ซึ่งในป้ายจะประกอบด้วย ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาคำเมือง และชื่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำมาสู่การต่อยอดทำการสำรวจพืชสมุนไพรในบริเวณป่าชุมชน (โดย ดร.ภัคสิริ สิน ไชยกิจ) ของ ต.บ้านถ้ำ จัดทำเป็นตัวอย่างพืชพรรณแห้ง และจัดเป็นนิทรรศการเผยแพร่ ในโอกาสต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการ ต่อยอด เกี่ยวกับการส่งเสริมให้มีการสืบทอดภูมิปัญญาล้านนาที่ได้สืบทอดกันมาให้เป็นไปตาม หลักการทางวิทยาศาสตร์ทางคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงมีแนวคิดที่จะรวบรวม ตำรับยาสมุนไพรสูตรต่างๆ ของชมรม มาเผยแพร่ โดยการจัดเก็บตัวอย่าง และถ่ายรูปต้นพืชสมุนไพรในพื้นที่ พร้อมทั้งหาชื่อทางวิทยาศาสตร์ของพืชสมุนไพรนั้น มาจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนต่อไป

ในภาคเหนือ (ล้านนา) เรียกหมอแผนโบราณ เรียกว่าหมอเมือง ทำการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยวิชาการที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ตามประเพณีที่สืบทอดกันมา ซึ่งภูมิปัญญาล้านนาจะแบ่งเป็นหลายศาสตร์หลายแขนง เช่น การนวดอัตลักษณ์ล้านนา การย้ำขาง โหราเวช ตอกเส้นสิบสองไม้ครู ยาฝนยาต้ม เป็นต้น

 

 


ดร.มารุต แก้ววงศ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้ จะเป็นด้านทำนุศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจะเป็นการเก็บข้อมูลหมอพื้นบ้านทุกศาสตร์ ทุกแขนง ที่รวมกลุ่มกันกว่า 40 คน ซึ่งเราได้สร้างพื้นที่ให้กลุ่มหมอเมืองได้มีโอกาสมาพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงให้เป็นที่รู้จักของประชาชน นอกจากนี้จะดำเนินการจัดนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อสืบต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังมีแนวคิดที่จะทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรตำรับที่มีความถี่ในการใช้สูงบางตำรับ เพื่อให้ได้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าตำรับสมุนไพรที่ใช้มีฤทธิ์ตามที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้กล่าวไว้และปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย

สำหรับ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี

แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้

25 พฤษภาคม 2561

ผู้ชม 840 ครั้ง

Engine by shopup.com