19 เมษายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความก้าวขึ้นปีที่ 6 สคช. เตรียมพลิกโฉมมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพ

ก้าวขึ้นปีที่ 6 สคช. เตรียมพลิกโฉมมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพ

หมวดหมู่: แรงงาน

ก้าวขึ้นปีที่ 6 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ  เตรียมพลิกโฉมมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพ และสร้างการยอมรับระบบคุณวุฒิวิชาชีพมุ่งสู่สากล ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต  อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ การท่องเที่ยวอัจฉริยะ การแปรรูปอาหาร  และการแพทย์ครบวงจร เสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกช่องทาง ผ่านระบบ  E - Training  การใช้ Mobile Application เพื่อสืบค้นเกี่ยวกับมาตรฐานอาชีพ  และการจัดทำ QR CODE ในทุกๆ อาชีพ



พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง “คุณวุฒิวิชาชีพกับการพัฒนากำลังคนสู่ประเทศไทย 4.0” ภายในงานวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)  TPQI Day – พลิกโฉม สคช. ประเทศไทยก้าวไกล คนไทยมืออาชีพ ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็คเมืองทองธานี ว่า วันนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในหลายมิติ ทั้งปริมาณกำลังคนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลกและมีอัตราการเกิดต่ำ อีกทั้งจำนวนกำลังคนที่มีทักษะสูงมีจำนวนน้อย โดยการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยประจำปี 2559 พบว่าสัดส่วนการจ้างงานทักษะสูงของประเทศไทยนั้นเป็นอันดับ 92 จาก 130 ประเทศ และความหลากหลายของทักษะเป็นอันดับที่ 106 จาก 130 ประเทศ จึงต้องเพิ่มจำนวนแรงงานที่มีทักษะ จากเดิมที่มีประมาณ 5.47 ล้านคนเป็น 18.28 ล้านคนภายใน 5 ปีข้างหน้า เพื่อก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ดังนั้น ต้องเร่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีมูลค่าสูง  โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ เพื่อให้สามารถก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง  พร้อมกับดึงดูดการลงทุนในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ตลอดจนเร่งผลักดันนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล 

“ปัจจัยสำคัญในการตอบสนองความท้าทายเชิงนโยบาย คือการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมกับอนาคตในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้กำลังคนสามารถใช้เทคโนโลยีช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ และเพื่อให้กำลังคนสามารถปรับตัว  มีสมรรถนะที่เหมาะสม  มีความก้าวหน้าในอาชีพ  และได้รับโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมจากประเทศไทย 4.0 อย่างเต็มที่ โดยการพัฒนากำลังคนให้เป็นระบบและตอบโจทย์ความท้าทาย ซึ่งจำเป็นต้องมีแนวทาง

และเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานอาชีพจะระบุหน่วยสมรรถนะ วิธีการประเมินสมรรถนะและจัดระดับความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบอาชีพในสาขานั้นๆทำให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์  และเป็นเกณฑ์ในการรับรองสมรรถนะของบุคลากรได้  โดยปกติแล้ว  มาตรฐานอาชีพก็จะได้รับการทบทวน  ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบท เทคโนโลยีและความต้องการของอุตสาหกรรมอยู่เป็นประจำ  แต่เมื่อเราต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมและเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ การปรับและพัฒนามาตรฐานอาชีพจึงทวีความสำคัญยิ่งขึ้น หลายประเทศก็ได้มีการศึกษาวิจัยและเริ่มวิเคราะห์แนวทางการปรับและพัฒนามาตรฐานอาชีพแล้ว เฉกเช่นสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพนำร่องทั้ง 8 สาขาอาชีพ คือ อาชีพช่างซ่อมอากาศยาน สาขาอาชีพด้าน   โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน สาขาอาชีพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาชาวิชาชีพหุ่นยนตร์และระบบอัตโนมัติ สาขาอาชีพ ICT และดิจิทัลคอนเท้นต์ สาขาอาชีพอาหารและเกษตร สาขาอาชีพปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และสาขาอาชีพแม่พิมพ์ โดยการมีส่วนร่วมจากผู้ประกอบการ สมาคม หน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ” พลอากาศเอกประจิน กล่าว



นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 6 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพ การรับรองสมรรถนะของบุคคล เสริมสร้างกำลังคน รวมถึงการสร้างการยอมรับระบบคุณวุฒิวิชาชีพมุ่งสู่สากล มุ่งหวังในเรื่องการพัฒนากำลังคนอย่างมีระบบและมีสมรรถนะที่ดีในการประกอบอาชีพ อีกทั้ง การรองรับนโยบายในการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ซึ่งมีการปรับจาก 9 ระดับเป็น 8 ระดับ และกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ ที่ปรับจาก 7 ระดับ เป็น 8 ระดับ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนและใช้เป็นกรอบในการกำหนดระดับของสมรรถนะที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะความสามารถ และคุณสมบัติที่สอดคล้องและเทียบเคียงสู่กรอบคุณวุฒิแห่งชาติด้วย

ที่ผ่านมา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายให้สอดรับกับการก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ของรัฐบาล การพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ สู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การมุ่งสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการปรับหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานอาชีพที่จัดทำแล้วเสร็จ และนำนักเรียน นักศึกษา เข้าสู่ระบบการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพก่อนจบการศึกษา และนำร่องในสถาบันการศึกษา 19 แห่ง ทั้งระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา



นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า นับเป็นเวลากว่า 6 ปี ที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพในประเทศไทย...เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาคนให้เป็นมืออาชีพ...และยกระดับอาชีพในประเทศไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล โดย สคช. ได้ดำเนินงานสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มุ่งเน้นจัดทำมาตรฐานอาชีพให้แก่บุคลากรในกลุ่มสาขาอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานทั้งในและต่างประเทศ ใน 7 กลุ่มอุตสาหกรรม และมีเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรไทยให้มีศักยภาพ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดงานในอนาคต รวมทั้ง การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economics Corridor หรือ  EEC ในสาขาวิชาชีพ ดังนี้  โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน  /  โลจิสติกส์บริการ  / หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ  / ดิจิทัล / อาหารและเกษตร / ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์และพลังงานทดแทน / แม่พิมพ์และผลิตภัณฑ์ยางพารา

นอกจากนี้ สคช. ยังส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New & First S Curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพสูง เพิ่มเติมจาก 7 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กล่าวไป อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ การท่องเที่ยวอัจฉริยะ การแปรรูปอาหาร  และการแพทย์ครบวงจร เป็นต้น  และเดินหน้าเพื่อส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพให้ครบ 500 อาชีพใน 72  สาขาวิชาชีพ โดยร่วมมือกับภาคีร่วมและผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพ รวมถึง ตั้งเป้าหมายในการ “พลิกโฉม ตอบโจทย์คนไทยมืออาชีพ” ด้วยการเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น การเรียนรู้โดยผ่านระบบ  E - Training  การใช้ Mobile Application เพื่อสืบค้นเกี่ยวกับมาตรฐานอาชีพ  การจัดทำ QR CODE ในทุกๆ อาชีพ เพื่อสร้างความสะดวก รวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล



นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพแล้วเสร็จ จำนวน 46 สาขาวิชาชีพ 1,128 คุณวุฒิวิชาชีพ และเป็นสาขาวิชาชีพที่สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยอาศัยมิติเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ  มิติความเสมอภาคทางสังคม  มิติการพัฒนาคนให้เข้าถึง 4.0 และมิติด้านสิ่งแวดล้อม  เน้นการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ การลงนาม  MOU ร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร สถาบันอาหาร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการร่วมพัฒนาคนให้เข้าสู่ 4.0 โดยการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพ และยังได้จัดทำมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล หรือ Digital literacy ให้แก่บุคลากรภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)



และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) เพื่อนำมาตรฐานของ สคช. ไปปรับให้เหมาะสม  เพื่อเป็นการตอบโจทย์ Thailand 4.0 โดยเริ่มจากราชการไปสู่ทุกภาคส่วนอย่างรวดเร็ว

 

 

 

25 พฤษภาคม 2561

ผู้ชม 531 ครั้ง

Engine by shopup.com