24 เมษายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความก.แรงงาน ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ต่อใบอนุญาตทำงานบนสมาร์ทโฟน ปี ๖๒ ใช้ทั่วประเทศ

ก.แรงงาน ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ต่อใบอนุญาตทำงานบนสมาร์ทโฟน ปี ๖๒ ใช้ทั่วประเทศ

หมวดหมู่: แรงงาน

วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงนายจ้าง/สถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ณ ห้องจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น ๕ อาคารกระทรวงแรงงาน โดยกล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๙) โดยวางแผนประเทศระยะยาว ภายใต้นโยบาย ไทยแลนด์ ๔.๐ ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่เป้าหมาย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการยกระดับการให้บริการภาครัฐให้เกิดความเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ลดการใช้เอกสารซ้ำซ้อน มุ่งสู่การเป็น Smart Thailand ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้บริการแบบที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทั่วโลก ทุกเวลา

 



กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจรับผิดชอบการทำงานของแรงงาน ได้เตรียมแรงงานในอนาคตเพื่อรองรับและสอดคล้องกับความต้องการใช้แรงงาน และแนวทางของการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจุบันกำลังแรงงานมีความสำคัญต่อการพัฒนา และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะกำลังแรงงานที่เป็นคนต่างด้าว ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม เช่น คนต่างด้าวที่มีทักษะฝีมือ มีความเชี่ยวชาญ เป็นผู้ชำนาญการ นักลงทุน และคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายพิเศษเฉพาะ เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุสาหกรรม เป็นต้น ในส่วนการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันบริหารจัดการภายใต้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งพระราชกำหนดฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการขออนุญาตทำงานให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน ซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตทำงานจึงต้องประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข้อกฎหมาย และแนวทางปฏิบัติให้นายจ้าง ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อทำได้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาลในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาให้บริการและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยึดผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งปัจจุบันกรมการจัดหางานได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กำหนดกระบวนการยื่นคำขออนุญาตทำงาน และออกใบอนุญาตทำงานผ่านระบบ Single Window for Visa and Work Permit สำหรับคนต่างด้าวที่ทำงานในสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการยื่นขออนุญาตทำงาน ลดขั้นตอน ลดเวลาการยื่นเอกสาร ลดเจ้าหน้าที่ ลดเอกสาร มีการพิจารณาที่เป็นมาตรฐานและโปร่งใส สำหรับใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวนั้น จะไม่เป็นเล่มเอกสารหรือบัตรแข็งอีกต่อไป แต่จะเป็นใบอนุญาตทำงานแบบดิจิตอล (Digital Work Permit) บนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ซึ่งสะดวกต่อการพกพา สามารถตรวจสอบได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ยากต่อการปลอมแปลง และไม่มีการสูญหาย โดยมีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ รองรับ BOI และตอบโจทย์ ไทยแลนด์ ๔.๐ มีขั้นตอนการทำงานคือ เมื่อคนต่างด้าวที่ยื่นคำขออนุญาตทำงานผ่านระบบ Single Window กรมการจัดหางานและ BOI จะพิจารณาอนุญาตในระบบและแจ้งผลการพิจารณาทาง E-mail เมื่อคนต่างด้าวได้รับการอนุญาตแล้วจะต้องมาแสดงตนเพื่อชำระค่าธรรมเนียม และถ่ายรูปลงลายมือชื่อ Digital เพื่อจะได้ Username และ Password เพื่อลงทะเบียนใน Application ชื่อ Thailand Digital Work Permit ใช้ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ซึ่งเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะปรากฏ Digital Work Permit บนโทรศัพท์มือถือของคนต่างด้าว

ทั้งนี้ ศูนย์ให้บริการการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร และการอนุญาตทำงานให้กับแรงงานในกลุ่ม BOI มี ๓ แห่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร (จามจุรีสแควร์) จังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต และได้มีแผนขยายการให้บริการระบบ Single Window ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)  ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา สนองนโยบายรัฐบาลมีนโยบายในการเร่งพัฒนาความพร้อมในทุกด้าน เพื่อรองรับการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งด้านสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการอำนวยความสะดวกในรูปแบบ One Stop Service เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจให้มีความสะดวก รวดเร็ว และจะขยายการบริการครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศภายในปี ๒๕๖๒ สามารถให้บริการแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒๒,๗๕๓ แห่ง แรงงานรวม ๘๓,๐๐๐ คน เป็นผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการประมาณ ๔๕,๐๐๐ คน และกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ ๓ สัญชาติ ประมาณ ๓๘,๐๐๐ คน

21 พฤศจิกายน 2561

ผู้ชม 393 ครั้ง

Engine by shopup.com