16 เมษายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความอว. จับมือ มทร.ธัญบุรี ลุย ‘โอทอปสัญจร’ เสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย

อว. จับมือ มทร.ธัญบุรี ลุย ‘โอทอปสัญจร’ เสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จับมือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) พร้อมด้วย 3 จังหวัดดัง จัดกิจกรรม ‘โอทอปสัญจร’ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) มาพัฒนาผลิตภัณฑ์

 


นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวง อว. เป็นประธานเปิดกิจกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (โอทอปสัญจร) พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา โดยมี นายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.วิสิทธิ์ ล้อธรรมจักร รองอธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวรายงาน ณ โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์โฮเทล จ.ฉะเชิงเทรา

 

 


นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เปิดเผยว่า กระทรวง อว. ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมโอทอปสัญจร ร่วมกับ มทร.ธัญบุรี และทางจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับสินค้าโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ที่ถือเป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของกระทรวงฯ และเป็นงานสำคัญของรัฐบาลตามแผนงานบูรณาการการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยมีแนวทางสำคัญคือ ร่วมกับสถาบันการศึกษา โดย มทร.ธัญบุรี เพื่อนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับ วทน. ไปใช้ประโยชน์ ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรม และเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน สามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการยอมรับ สำหรับการทำการตลาดทั้งในประเทศและระดับสากลต่อไป เชื่อมั่นว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนี้จะสามารถยกระดับผู้ประกอบการโอทอปให้มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไปได้

 

 

 


ด้าน ดร.วิสิทธิ์ ล้อธรรมจักร รองอธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า กิจกรรมในงานมีการแนะนำผู้ประกอบการโอทอป ให้รู้จักและทราบถึงการบริการของกระทรวงฯ ผ่านแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ชี้ให้เห็นความสำคัญของมาตรฐานสินค้า และแนวทางการยกระดับโอทอปด้วย วทน. ในรูปแบบของการบรรยายและการเสวนา พร้อมให้คำปรึกษาจากอาจารย์ผู้เชียวชาญจาก มทร.ธัญบุรีมากว่า 70 ท่าน เพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาโอทอป ทั้งยังรับสมัครผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย วทน. มากกว่า 100 ราย ขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรียังจัดนิทรรศการตัวอย่างการใช้ วทน. พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและโอทอป การบริการด้านวิชาการ จากคณะต่างๆ เช่น จากวิทยาลัยแพทย์แผนไทย คณะศิลปศาสตร์ คณะคหกรรมศาสตร์ ผลงานจากโครงการการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) บนฐานทรัพยากรไผ่ จ.ปราจีนบุรี ผลงานโอทอป เด่นจาก จ.นครนายก และ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น และการให้บริการด้านสินเชื่อและการเงินจากธนาคารที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

 

 


“มทร.ธัญบุรี มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมโอทอปสัญจร เพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย ซึ่งแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการนั้นมีหลายด้าน ตั้งแต่การวิจัยตลาด การพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ กลไกลทางธุรกิจหรือแม้แต่การบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ซึ่งหากดำเนินการด้วยแนวทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จะเกิดการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น โดยทาง มทร.ธัญบุรี มีสถาบันวิจัยและพัฒนา ที่เป็นหน่วยงานสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานดังกล่าวทุกด้านที่มารองรับและสนับสนุนในเรื่องนี้ และได้นำคณาจารย์ นักวิจัยเข้ามาร่วมให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมด้วย และพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมและผู้ประกอบการไทยเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง” รองอธิการบดี มทร.ธัญบุรี อธิบาย

 

 

 


ขณะที่ นายประสงค์ คงเคารพธรรม กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสินค้าโอทอปของผู้ประกอบการเป็นประเด็นสำคัญที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิต และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเน้นการพัฒนาสินค้าโอทอปด้วยนวัตกรรม ผสมกับภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม พร้อมความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง และขอบคุณความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน จากกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มทร.ธัญบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งถือเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการที่จะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสำหรับใช้ในการพัฒนาสินค้าอย่างเต็มที่.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เรื่อง/อลงกรณ์ รัตตะเวทิน ; มทร.ธัญบุรี

08 พฤศจิกายน 2562

ผู้ชม 853 ครั้ง

Engine by shopup.com