28 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความอาจารย์สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มทร.ธัญบุรี พัฒนาเส้นใยกล้วยในงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ

อาจารย์สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มทร.ธัญบุรี พัฒนาเส้นใยกล้วยในงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จัดงาน “นวัตกรรมสร้างสรรค์” RT62 บนเส้นทางการศึกษาผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ สู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม ภายในงานมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรม งานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ในโครงการ IRD Open House and Innovative Market  38  ผลงาน  ซึ่ง 1 ใน 38 ผลงานคือ นวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยกล้วยในงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ

 

ผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกล้วย สิ่งทอ Eco-friendly เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋าถือ หมวก และรองเท้า เป็นต้น ลดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตกล้วย สร้างมูลค่าด้านการพัฒนาเส้นใยในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ลดการนำเส้นใยธรรมชาติจากต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มทางเลือกใช้ผ้าจากเส้นใยธรรมชาติให้กับผู้ประกอบการด้านเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ สามารถเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายและภาคเกษตรกรต่อไป   

 

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ชลสาคร อาจารย์ประจำสาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี พัฒนาเส้นใยกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ  กล่าวว่า จังหวัดปทุมธานี มีการผลิตและจัดจำหน่ายกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้ามากกว่า 3,000 ไร่ และมีต้นกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วตัดทิ้ง 30,000 ตันต่อปี ในกลุ่มคลัสเตอร์ธุรกิจกล้วยครบวงจรคลองเจ็ดและบริษัท วัน บานา น่า จำกัด  ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเข้ามาเชื่อมโยงเครือข่ายงานวิจัยกับมทร.ธัญบุรี มีการนำใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่เป็นปุ๋ยบนดิน

 

 

 

 

 

“วันนี้เรานำเสนอเส้นใยกล้วยมาพัฒนาเป็นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย โดยการนำกาบกล้วยที่เหลือจากเกษตรกรที่เหลือใช้จังหวัดปทุมธานี  โดยการนำเส้นใยกล้วยมาแยกสกัดให้ได้เส้นใย เสร็จแล้วปั่นเป็นเส้นด้ายอย่างที่เห็นและทอเป็นผืนผ้า ซึ่งกลุ่มที่มารับช่วงต่อจากงานวิจัยที่ได้รับทุนจาก สกว.ในปี 61  ที่ผ่านมา โดยการวิจัยจะมีไตรภาคี มีทีมวิจัย ทีมอาจารย์และตัวนักศึกษา ร่วมกับบริษัทสิ่งทอไทย บริษัทเอกชนฯ ซึ่งการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งในส่วนของกาบ และก้านใบจากกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า มาแยกสกัดเส้นใย จากนั้นนำมาปั่นเป็นเส้นด้าย ทอเป็นผืนผ้าและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องต่างกายและเคหะสิ่งทอ ถือเป็นการลดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตกล้วย สร้างมูลค่าด้านการพัฒนาเส้นใยในอุตสาหกรรมสิ่งทอลดการนำเส้นใยธรรมชาติจากต่างประเทศ             

                                                                                                                         

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร  กล่าวเพิ่มเติมว่า การให้นักศึกษามาช่วยงานในทีมวิจัย ได้เรียนรู้ไปพร้อมกันเรียกว่า เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ให้เขามาเรียนรู้ตั้งแต่ขบวนการแยกเส้นใยเป็นเส้นด้ายหรือการทอเป็นผืนผ้า การนำผืนผ้าสู่ชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีในเรื่องขององค์ความรู้จากเส้นใยกล้วยให้เป็นผืนผ้า ซึ่งมีนักศึกษาสนใจเข้ามาเรียนรู้ เรามองว่าชุมชนได้รับประโยชน์ จังหวัดได้รับประโยชน์  ขณะเดียวกันเกษตรกรที่ปลูกกล้วย เดิมทิ้งต้นกล้วยไปเป็นปุ๋ย แต่ตอนนี้ เขาสามารถเพิ่มมูลค่าต้นกล้วย เพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของจังหวัดปทุมธานี

 

ในเชิงพาณิชย์ เราได้ถ่ายทอดให้แก่กลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เพราะเขาอยากจะมีอาชีพ สร้างเอกลักษณ์ให้กับชุมชนของเขา อยากทำเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป อยากหารายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านหรือกลุ่มผู้สูงอายุ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการนำไปทอและกรมพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานี  มีงบประมาณมาให้บางส่วน จึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลิตผ้ากัน ซึ่งผืนผ้าที่ผลิตขึ้นมาเป็นรูปธรรมแล้ว  โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี คาดว่า อยากให้เป็นผ้าขาวม้าประจำจังหวัดปทุมธานี   เพราะ  ผ้าขาวม้าใช้งานได้สารพัดประโยชน์  อนาคตอยากทำเป็นผ้าและเครื่องแต่งกาย ทำเป็นสไบ ผ้าทอมือ ผ้าขาวม้า ผ้าลายขัด ผ้ายกดอก เป็นต้น  งานวิจัยที่ได้รับงบประมาณจาก สกว. ร่วมกับมหาวิทยาลัย  เรามองว่า .มทร.ธัญบุรี เราอยู่ในจังหวัดปทุมธานี  เราก็ช่วยกันคิดค้น สร้างองค์ความรู้สู่ชุมชนกลายเป็นอาชีพและรายได้”

 

 

นางสาวศิริกุล แซ่ลิ่ม (เตย) นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มทร. ธัญบุรี  กล่าวว่า “ ดิฉันได้เริ่มศึกษาตั้งแต่กระบวนการแยกเส้นใย แยกกาก ปั่นด้าย เข้าโรงงานสอนชาวบ้าน  โดยเริ่มต้นพร้อมอาจารย์ หาข้อมูลไปด้วยกัน ศึกษาไปด้วยกัน จนสามารถออกมาสอนสู่ชุมชนได้  สามารถออกมาเป็นชุดที่มาจากชาวบ้าน  ซึ่งชุดเซตแรกชิ้นงานจะไม่ค่อยนิ่มเท่ากับปั่นจากโรงงาน  ขณะนี้กำลังส่งไปทอด้วยเครื่องอุตสาหกรรมและมีทอมือด้วยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ การได้มาร่วมงานกับทีมวิจัยของอาจารย์เราได้เห็นทั้งกระบวน ได้เห็นเทคนิคต่าง ๆ  สามารถต่อยอดงานวิจัยเป็นธุรกิจได้   ช่วยเหลือชุมชนได้  และกำจัดขยะทางการเกษตรได้มากขึ้นก็จะมีประโยชน์กับทุกฝ่าย  ชุมชนสามารถมีเงินเพิ่มขึ้น เราก็สามารถใช้ความรู้ที่เรามีให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ”

 

 

 

 คุณบุญนภา บัวหลวง ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ผ้าทอจากเส้นใยกล้วย กล่าวว่า  ทางกลุ่มแม่บ้านแสงตะวันได้องค์ความรู้จาก มทร.ธัญบุรี   อาจารย์ได้นำความรู้เรื่องเส้นใยกล้วย การนำกล้วยในชุมชนมาแปรรูปทำเป็นผืนผ้า ซึ่งขณะนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มาสนับสนุนในเรื่องของงาน นำกี่มาให้เราได้ฝึกที่ศูนย์ฝึกอาชีพที่วัดไก่เตี้ย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  ต่อไปชุมชนของเราจะต้องทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย เพราะ ต้องการนำรายได้เข้าสู่ชุมชน  ทั้งนี้ ทาง มทร.ธัญบุรี ได้นำองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัย ได้วิจัยไปมอบให้แก่ชุมชน  ส่วนชุมชนสามารถต่อยอดทำเป็นอาชีพได้จริง

 

 

 

การพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอที่มีความร่วมมือไตรภาคี คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม คือ มทร.ธัญบุรี  บริษัท วัน บานาน่า จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า บริษัท ก้องเกียรติ เท็กซ์ไทม์ จำกัด ผู้ประกอบการผลิตเส้นด้ายและบริษัท กรีนเวย์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ประกอบการได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอจากเส้นใยกล้วย เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยให้เป็นรูปธรรมและต่อยอดในการทำธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.สาคร ชลสาคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ โทร.02-5493164

 

09 กรกฎาคม 2562

ผู้ชม 2803 ครั้ง

Engine by shopup.com