16 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความนักวิชาการเกษตร ม.นครพนม แนะเกษตรกร “เพาะต้นอ่อนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ลดต้นทุน ลดปริมาณการใช้น้ำหน้าแล้ง

นักวิชาการเกษตร ม.นครพนม แนะเกษตรกร “เพาะต้นอ่อนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ลดต้นทุน ลดปริมาณการใช้น้ำหน้าแล้ง

 
 
“อาหารสัตว์ โปรตีน 14 เปอร์เซ็นต์ ราคาขายในท้องตลาด 6-8 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ ต้องบอกเลยว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต้องแบกรับต้นทุนไว้สูงมาก ชาวบ้านจึงจะนิยมปลูกหญ้า ปลูกต้นอ่อนของพืช ไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ แต่ว่าปีนี้ภัยแล้งมาเร็วกว่าทุกปี แปลงพืชก็ต้องใช้น้ำมาก แต่ถ้าชาวบ้านมาลองใช้วิธีการเพาะต้นอ่อนข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์ จะเป็นอีกวิธีการรับมือสู้กับภัยแล้งและพิษเศรษฐกิจได้อีกวิธีหนึ่ง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถนอม ทาทอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนมให้ข้อมูล พร้อมทั้งได้แนะนำวิธีการเพาะต้นอ่อนข้าวโพด ด้วย Fodder System พืชโปรตีนสูง เหมาะสำหรับทำเป็นอาหารสัตว์ จำพวก โค กระบือ รับมือภัยแล้งที่กำลังจะขยายพื้นที่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ
 
 
 
 


ผศ.ถนอม ทาทอง เปิดเผยว่า ในสภาพปัจจุบันเกษตรกรเจอกับปัญหาภัยแล้ง จังหวัดนครพนม เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์น้ำโขงขณะนี้ก็อยู่ในขั้นวิกฤต ระดับน้ำโขงเหลือเพียงไม่ถึงเมตร นอกจากจะกระทบกับการผลิตน้ำประปาในบางพื้นที่ ยังส่งผลกระทบไปถึงเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ ที่ขาดแคลนหญ้าในการให้เลี้ยง จึงได้ทำการทดลองการเพาะต้นอ่อนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนการใช้หญ้าสด ช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร
 
 
 
 
 

โดยวิธีการเพาะต้นอ่อน คือ นำเมล็ดข้าวโพดแช่น้ำก่อน 1 คืน จากนั้นนำไปใส่กระบะเพาะปลูกโดยไม่มีดิน ขนาด 30*60 cm. จำนวน 7 กระบะ เพื่อหมุนเวียนในการเพาะต้นอ่อน ใช้ที่รดน้ำหรือป๊อกกี้ฉีดรดไปเรื่อย ๆ จนครบ 7 วัน สามารถนำไปเป็นอาหารของโค กระบือ ได้ โดยเปอร์เซ็นต์ของโปรตีนที่เกิดขึ้นจากต้นอ่อนข้าวโพดอยู่ที่ประมาณ 14 % ซึ่งเป็นพลังงานที่พอเหมาะต่อโคและกระบือ แต่จะต้องให้อาหารร่วมกับฟางข้าว เพราะต้นอ่อนของข้าวโพดจะทำให้เกิดท้องอืด อาจจะใช้ 1:4 หรือ 1:5 กับปริมาณของฟางข้าว
 
 
 
 


“ในสภาพปัจจุบันสมมุติว่าเราปลูกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงสัตว์เราจะใช้เวลาทั้งหมด 60 วัน เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์โปรตีนเท่ากัน แต่นี่เราใช้เวลาแค่ 7 วัน ก็ได้เปอร์เซ็นต์โปรตีนเท่ากันแล้ว นั่นหมายความว่ามันสามารถลดต้นทุนแรงงาน ลดปริมาณน้ำที่ใช้ลง ต้นอ่อนข้าวโพดที่เกิดมาเมล็ดของข้าวโพดยังมีแป้งอยู่ ซึ่งจะให้พลังงานกับสัตว์เลี้ยงสูง ใช้ได้ทั้งการขุนวัวที่ไม่ต้องการไขมันแทรก ใช้ขุนควาย ขุนหมู ไก่ ใช้ได้หมด แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ ถ้าเลี้ยงสัตว์ที่เป็นโค กระบือ ต้องใช้ร่วมกับฟางข้าว เพราะต้นอ่อนของข้าวโพด จะทำให้เกิดท้องอืด อาจจะใช้ 1:4 หรือ 1:5 ก็ได้” ผศ.ถนอม กล่าว
 
 
 
 


ส่วนต้นทุน เมล็ดข้าวโพด 1 กิโลกรัม (ราคา 8 บาท) สามารถเพาะเป็นต้นอ่อนได้ถึง 5-6 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่เกิดขึ้นจากต้นอ่อนของข้าวโพด และพลังงานที่พอเหมาะต่อสัตว์เลี้ยงประมาณ 14 % ใช้น้ำในการฉีดพ่นต่อวันไม่ถึงลิตร และเมื่อเทียบกับการปลูกลงแปลงดิน อย่างน้อยต้องใช้พื้นที่ 1-2 ไร่ การใช้น้ำเพื่อรดต้นอ่อนข้าวโพด แน่นอนว่าต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากกว่า การเพาะต้นอ่อนข้าวโพดลงกระบะเพาะปลูกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ ในสภาวะแล้งแบบนี้ ที่จะช่วยลดต้นทุนเงินในกระเป๋าของพี่น้องเกษตรกรได้เป็นอย่างดี แถมยังสอดรับกับนโยบายของปศุสัตว์ ที่ต้องการให้เกษตรกรได้ปลูกข้าวโพดและเก็บเมล็ดไว้ เพื่อเพาะเป็นต้นอ่อนในการเลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง
 
 
 
 


“แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค และผู้เลี้ยงกระบือ หากนำวิธีการนี้ไปใช้ประโยชน์ ก็สามารถนำไปผสมกับอาหารอย่างอื่นได้ เช่น ผสมอาหาร GMR ทดแทนหญ้าสด ทดแทนข้าวโพด ได้ทุกอย่างเลย เหมาะอย่างมากสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงวัว แต่ไม่มีพื้นที่ ซึ่งยกตัวอย่างในต่างประเทศ ก็ใช้วิธีการนี้ แต่เปลี่ยนเป็นกับข้าวบาเล่ย์ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ และรับมือกับภัยแล้งได้ตลอดปี” ผศ.ถนอม กล่าวทิ้งท้าย
 
 
 
 

08 กุมภาพันธ์ 2563

ผู้ชม 1253 ครั้ง

Engine by shopup.com