26 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความประธาน EEC-HDC เผยขาดกำลังคนด้านปริมาณกว่า 4.7 แสนคน ชี้“ ทักษะ”มีความสำคัญมากกว่าใบปริญญา

ประธาน EEC-HDC เผยขาดกำลังคนด้านปริมาณกว่า 4.7 แสนคน ชี้“ ทักษะ”มีความสำคัญมากกว่าใบปริญญา

หมวดหมู่: การศึกษา

 

   

อีซีซี ใช้หลักการ‘ Demand Driven’ขับเคลื่อนผลิตกำลังคน ให้ตรงเป้าอุตสาหกรรม เน้นปรับอาชีวะ 4.0  การผลิตกำลังคนตาม ‘หลักการ Demand Driven’ ที่ทาง ECC HDC เชื่อว่าเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของภาคผู้ใช้บุคลากรหรือภาคอุตสาหกรรม

  

 

 "เราศึกษาและสำรวจความต้องการตามอุตสาหกรรมเป้าหมายก่อน เพื่อคาดการณ์กำลังคนที่ต้องการในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนในแต่ละด้าน จากนั้นดำเนินการจัดปรับการศึกษาให้เป็นแบบ Demand Driven ที่ต้องมีอุตสาหกรรมมารองรับ ร่วมจัดการศึกษา และให้ทุนผู้เรียน โดยทางอุตสาหกรรมจะได้ Incentive จากภาครัฐในกรณีที่มีการสนับสนุนการศึกษา ซึ่ง อีอีซี โมเดล (EEC Model) นั้น เราพัฒนามาจาก สัตหีบโมเดลขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการรวม เพื่อกระจายความร่วมมือไปยังสถานศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา โดยมีคณะประสานงานในทุกระดับร่วมขับเคลื่อน "ดร.อภิชาต ทองอยู่ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)ในฐานะประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC-HDC)  กล่าวในระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)  ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษา และสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อจัดทำร่างนโยบายด้านการศึกษาและผลักดันเข้าสู่การปฏิบัติ จึงได้จัดทำร่างแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษาตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ พ.ศ.2563-2570 พร้อมดูงานการจัด “EEC MODEL EDUCATION SYSTEM” เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

 ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC-HDC)  กล่าวยอมรับว่า ในพื้นที่อีอีซี ขาดกำลังคน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในด้านปริมาณ เราต้องการบุคลากรกว่า 4.7 แสนคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยต้องเร่งการผลิต พร้อมกับลดความสูญเสียจากรูปแบบการเรียนการสอนเดิม ๆ ที่ไม่ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมลงให้ได้ แล้วต้องยกระดับมาตรฐานการพัฒนาคนอย่างรวดเร็ว ซึ่งกรณีหลังนี่ต้องใช้มาตรฐานต่าง ๆ ในแต่ละสาขาการผลิตมาช่วยกำหนดให้เหมาะและทันต่อความเปลี่ยนแปลง รวมถึงให้สถาบันและผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเสริม เป็นการทำงานคู่กับหน่วยงานที่พัฒนามาตรฐานการศึกษาในไทย และยังต้องเร่งยกระดับบุคลากรสาขาต่างๆ ให้สูงขึ้นได้มาตรฐานสากลในทุกสาขาวิชาชีพด้วย

 

ทั้งนี้ ดร.อภิชาติ ระบุว่า การรื้อสร้างการศึกษาในภาคปฏิบัติเพื่อตอบสนองการผลิตบุคลากรในพื้นที่ EEC ต้องระดมความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ทุกระดับ ที่จะมาร่วมสร้างทิศทางการศึกษาใหม่ โดยเชื่อมการศึกษาเข้ากับระบบการผลิตยุคใหม่ สร้างหลักประกันการมีงานทำให้แก่นักศึกษาทุกระดับ และวางพื้นฐานความรู้ตั้งแต่ในโรงเรียนที่เชื่อมต่อถึงการผลิตบุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเดินหน้าสร้างอนาคตที่ดี มีประสิทธิภาพ แม่นตรงตาม ‘ความต้องการ’ จริง หรือตาม หลักการ Demand Driven โดยเฉพาะการผลิตกำลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ประเทศต้องการที่ต้องดำเนินการแบบเชิงรุก ตรงจุด และเร่งด่วนที่สุด ไม่ใช่แค่ความต้องการกำลังคนเพื่อป้อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายเท่านั้น แต่ความท้าทายที่เกิดขึ้น และเป็นตัวแปรให้ภาคการศึกษาผู้ผลิตกำลังคนต้องปรับตัวมาจากปัจจัยภายนอก อย่าง ความเชื่อที่ค่อยๆเปลี่ยนไปว่า Skill หรือ ทักษะ ทวีความสำคัญมากกว่าใบปริญญา หรือการยอมรับว่าตอนนี้เราเข้าสู่โลกแห่ง Disruption Technology เต็มตัวแล้ว ใครหรือองค์กรใดที่ไม่ปรับตัว มีโอกาสสูงมากที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง

 

 สำหรับ "EEC MODEL EDUCATION SYSTEM" มีการปรับใน 3 ระบบ คือ 1.ปรับโครงสร้างพื้นฐานการศึกษาและพัฒนาบุคลากรในอีอีซี ให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป รวมถึงทำหลักสูตรเป็นแบบโมดูล เรียนระบบเครดิตแบงก์สะสมได้ นักศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนต่อเนื่อง 2.การเชื่อมประสานระหว่างสถานศึกษากับอุตสาหกรรม โดยมีโรงเรียนในอีอีซี เข้าร่วม 843 โรงเรียน 12 วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) และ 9 มหาวิทยาลัย  และ  3.ปรับคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียนให้ได้ตามความต้องการที่แท้จริงของแต่ละอุตสาหกรรม โดยแบ่งความร่วมมือเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือสถานศึกษาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม โดยระบุสาขาและจำนวนคน จากนั้นมาออกแบบหลักสูตรและคัดเลือกเด็กร่วมกัน โดยออกค่าใช้จ่ายให้เด็ก 100 % เรียนจบรับเข้าทำงานทันที และแบบที่สองมีสถานที่ฝึกงาน แต่ไม่รับประกันการรับเข้าทำงาน แต่มีแผนที่จะเจรจาให้สถานประกอบการรับนักศึกษาครึ่งหนึ่ง หรือ 50% จากจำนวนผู้เข้าไปฝึกงาน เข้าทำงานเมื่อจบการศึกษา

 

 ด้านนายศิวะ หงษ์นภา ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC-HDC) ได้พูดถึงการจัดการศึกษาสำหรับอาชีวะ ว่า ควรจะจัดการศึกษา แบบอาชีวะ 2.0 และ อาชีวะ 4.0 โดย โดยอาชีวะ 2.0 หรือหลักสูตรแบบเดิม ซึ่งยังมีความจำเป็นอยู่  โดยยกให้ วิทยาลัยการอาชีพ และ วิทยาลัยสารพัดช่าง เป็นผู้สอน ส่วนอาชีวะ 4.0 ต้องยกระดับหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและเทคโนโลยีในปัจจุบัน  เช่น  วิทยาลัยเทคนิค ต้องไม่สอน ช่างก่อสร้าง ให้ต้องเข้าไม้ โบกปูนด้วยตัวเอง แต่ต้องสอนช่างก่อสร้างให้รู้จักนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการก่อสร้างเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และต้องนำเข้าแรงงานก่อสร้างจากประเทศเพื่อนบ้าน ช่างเชื่อมก็ต้องไม่ใช่การฝึกเชื่อมแบบเดิม แต่เป็นการเชื่อมขั้นสูงและการเชื่อมโดยใช้หุ่นยนต์ ช่างกลโรงงาน ต้องไม่ใช่ช่างกลช่างกลึงแบบเดิม แต่ต้องเป็นช่างกลที่ทำงานกับหุ่นยนต์ได้ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเปลี่ยนเป็นช่างที่ดูแลเน็ตเวิร์กเพื่อการใช้งานระบบหุ่นยนต์

 

 วิทยาลัยอาชีวศึกษา ต้องเปลี่ยนจากการสอนวิชาการตลาดแบบปกติ เป็นการตลาดออนไลน์ เป็นนักวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าด้วย AI (Customer Behavior) เปลี่ยนจากเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจเป็นนักเขียนซอฟต์แวร์ เปลี่ยนจากช่างศิลป์ เป็นคนทำแอนิเมชัน หรือคนสร้าง character

 

"ผู้ประกอบการหลายคนบอกต้องการเด็ก จบ ปวช.ก็พอ ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี เรียนด้านแอนิเมชั่นและสามารถฝึกอีกนิดหน่อยเข้าทำงานได้เลย " เขากล่าว

 

นอกจากนี้ วิทยาลัยเกษตรกรรม เปลี่ยนจากการใช้จอบใช้เสียม มาเป็น Smart Farmer ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมประกอบการตัดสินใจในการทำเกษตรกรรม ใช้โดรนในการทำเกษตรกรรม ใช้รถบังคับและหุ่นยนต์ในการทำเกษตรกรรม สามารถดึงภาพจากดาวเทียมมาวิเคราะห์ สภาพดิน น้ำ ฝน เพื่อวางแผนในการปลูกพืช

 

ทั้งนี้ การจัดการศึกษาไม่จำเป็นว่าต้องเป็น 3 ปี 5 ปี จะกี่ปีก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่า ต้องการทักษะแค่ไหนบ้างและให้รายได้กับคนทำงานในระดับนั้นได้เท่าไร

 

 

นายศิวะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เรียนอยากทำงานระดับไหน ก็ให้เขาเลือกตามที่ผู้ประกอบการกับตัวเขาอยากได้ เมื่อบวกกับแนวคิด Credit Bank ของ EEC HDC (EEC Human Development Center) ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนจนจบ 3 ปี 5 ปี หรือปริญญา ถึงจะทำงานได้ แต่เรียนถึงระดับที่ผู้ประกอบการอยากได้ ถ้านักเรียนพอใจในระดับที่ผู้ประกอบการกำหนดไว้ก็ออกไปทำงานก่อนได้ แล้วเก็บหน่วยกิตที่เรียนได้เอาไว้ เมื่อรู้สึกว่าต้องการความรู้เพิ่ม ก็มาเรียนเพิ่ม ได้ดีกรีอะไร เมื่อไร…ก็เมื่อนั้น

 

ถ้าทำแบบนี้ได้ก็จะหลุดกับดักวุฒิการศึกษา (เพราะ Certificate ที่อิงกับ Skill จะสำคัญกว่า Degree ปวช. ปวส. หรือแม้แต่ปริญญา)หลุดกับดักเรียนแล้วไม่มีงานทำหรือทำงานไม่ตรงวุฒิที่เรียนมา และหลุดกับดักที่นักเรียนอาชีวะส่วนใหญ่ได้รายได้น้อยกว่าปริญญาตรีด้วยเพราะในโลก 4.0 หลายอาชีพไม่ต้องการปริญญา และที่สำคัญ หลุดกับดัก Career Path ตัน เพราะการศึกษาแบบ Credit Bank จะทำให้ผู้เรียนอาชีวศึกษาเติบโตได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

 

ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องคนพิการกับการมีงานทำ นายณรงค์ รัตนโสภา รองผอ.วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา   เสนอให้สภาการศึกษาบรรจุนโยบายการจัดการศึกษาสำหับกรมีงานทำสำหรับคนพิการด้วย โดยเฉพาะคนพิการที่สามารถที่จะทำงานในสถานประกอบการได้

 

"มหาไถ่ผลิตคนไม่เพียงพอต่อความต้องการของสถานประกอบการ ทั้งนี้เนื่องจาก การเรียนการสอน คนพิการต้องใช้ครู และเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอน ซึ่งต้องลงทุนสูง" เขากล่าวและบอกว่า อยากให้มีการดึงผู้พิการที่ยังไม่ได้ออกมาสู่สังคม 4-5 แสน เข้ามาสู่การฝึกอาชีพเพื่อการมีงานทำในอนาคต  และขอให้มีกระบวนการดูแล ทั้งในเรื่องการจัดหางาน

 

ซึ่งการขาดแคลนแรงงานคนพิการสอดคล้องกับ เจ้าหน้าที่ของบริษัทไทรอัมพ์ ที่ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ว่า บริษัทมีความต้องการแรงงานผู้พิการ ที่จะสามารถทำงานบางอย่างในโรงงานได้ เช่น เมื่อประกาศรับสมัครคนขับรถโฟลค์คลิป ก็มีคนพิการมาสมัคร ซึ่งเขาสามารถทำได้  และตนคิดว่า ยังมีงานอีกหลายชนิดที่ผู้ประกอบการต้องการแรงงานคนพิการ แต่ตลาดแรงงานด้านนี้ยังไม่สามารถป้อนให้กับโรงงานได้

 

ทั้งนี้ ตามกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการเข้าทำงาน  ในอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุก 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน

 

#สมัครด่วน

#การศึกษา

#EEC

#EEC-HDC

09 มีนาคม 2563

ผู้ชม 1632 ครั้ง

Engine by shopup.com