ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมป่าไม้ ร่วมกับองค์กร The Mushroom Initiative (TMI) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เชิญ ดร.ชัชวาล วงค์ชัย ผู้ช่วยอธิการบดี ตัวแทนมหาวิทยาลัยพะเยาให้เกียรติเป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อ "ผลกระทบจากการเผ่าป่า ที่ส่งผลต่อระบบนิเวศป่าและการเก็บเห็ดเผาะ" นอกจากนั้น ได้มีการบรรยายเรื่อง “การส่งเสริมเพื่อเรียนรู้เทคนิคการใช้ไมคอร์ไรซาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าไม้พื้นถิ่น โดยวิทยากรรับเชิญ ผศ.ดร.จิตรตรา เพียภูเขียว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการบรรยายเรื่อง “การส่งเสริมเพื่อเรียนรู้เทคนิคการฟื้นฟูสภาพ ป่าไม้โดยใช้กล้าไม้ท้องถิ่น” โดยวิทยากรรับเชิญ ผศ.ดร.พสุธา สุนทรห้าว จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ไม้วงศ์ ยาง เช่น รัง ยางนา ยางแดง เหียง ตองตึง ตะเคียนทอง พะยูง และมะขามป้อม เป็นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจ ที่นำมาใช้ในการทำกล้าไม้เพาะเห็ดเผาะได้เป็นอย่างดี
โดยการอบรมให้ความรู้ครั้งนี้ นายมนตรี ปียาพันธ์ หัวหน้าโครงการ ได้รายงานถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เนื่องมาจากพระราชดำริ กรมป่าไม้ The Mushroom Intiative (TMI) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ได้นำตัวอย่างของเห็ดเผาะที่เป็นเซลล์พร้อมนำไปเพาะ ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาและทำความเข้าใจกระบวนการการเพาะเห็นเผาะเบื้องต้น ณ ศาลาประชาคม ตำบลบ้านปีน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
“เห็ดเผาะ” หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “เห็ดถอบ” เป็นเห็ดพื้นบ้านที่จะขึ้นเองตามธรรมชาติในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน และจะมีผลผลิตออกมาให้กินในช่วงต้นฤดูฝนแบบนี้ (ราวเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน )หน้าตาของเห็ดเผาะจะเป็นลูกกลมๆ ถ้ายังอ่อนอยู่ข้างในจะมีสีขาวนวล เปลือกนอกกรอบ ถ้าแก่แล้วเปลือกนอกจะเป็นสีน้ำตาลถึงดำ ส่วนเนื้อด้านในก็จะเป็นสีดำไปด้วย ส่วนถ้าใครจะไปหาซื้อที่ตลาดมาทำกิน จะต้องเลือกแบบที่ยังอ่อนอยู่ สรรพคุณของเห็ดเผาะนั้นก็มีหลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการช้ำใน ลดอาการบวมหรืออักเสบ แก้ร้อนใน เป็นต้น
30 มีนาคม 2564
ผู้ชม 838 ครั้ง