29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความก.แรงงาน เพิ่มทักษะออนไลน์ ชูวิสาหกิจชุมชน

ก.แรงงาน เพิ่มทักษะออนไลน์ ชูวิสาหกิจชุมชน

หมวดหมู่: แรงงาน

 

 

 

 

 


กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ฝึกทักษะออนไลน์ให้แก่แรงงาน และผู้ประกอบกิจการ พร้อมขยายผลสู่ชุมชน เป้าหมาย 900 คน ใน 28 จังหวัด

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมทักษะแรงงานวิสาหกิจชุมชน สมาชิกกลุ่ม OTOP กลุ่มอาชีพต่างๆ ให้ได้รับความรู้ ทักษะฝีมือ สร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจฐานรากในระดับชุมชนของประเทศ ซึ่งมุ่งเน้น ผลักดันให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจแนวใหม่ และประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นวัตกรรมแปลกใหม่ และพัฒนาปรับรูปแบบการทำธุรกิจรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตต่อไป

 

 


 

 

 

 


นายธวัช กล่าวต่อไปว่า ปี 2564 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ดำเนินโครงการพัฒนาวิสาหกิจสู่ความเป็นมืออาชีพ เป้าหมาย 900 คน โดยจัดฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สอดคล้องตามความต้องการของแรงงานในพื้นที่ ระยะเวลาการฝึก 18-30 ชั่วโมง อาทิ หลักสูตร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการขายของออนไลน์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบกิจการชุมชม การจัดการการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดออนไลน์ ซึ่งฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แรงงานในวิสาหกิจรายย่อยที่เป็นวิสาหกิจชุมชน สมาชิกกลุ่ม OTOP กลุ่มอาชีพต่างๆ แรงงานทั่วไปที่ต้องการปรับปรุงธุรกิจและพัฒนาศักยภาพ และรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ดำเนินการโดยหน่วยงานในสังกัดของ กพร. ได้แก่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) 25 แห่ง (สมุทรปราการ สุพรรณบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง สุราษฎร์ธานี สงขลา กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ระยอง อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) 3 แห่ง (น่าน แพร่ และพะเยา) ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาและยกระดับสมรรถนะของแรงงานให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ ลดการสูญเสีย เพิ่มมูลค่าวงจรการผลิต ผลักดันให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจแนวใหม่ สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว อาทิ โทรศัพท์สมาร์ตโฟน และเสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต อนึ่ง โครงการนี้จึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญของประเทศ

 

 

 

 

 



นางอารีย์ เพ็ชรรัตน์ (บิ) อายุ 49 ปี ผู้ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายถั่วลิสงแปรรูปในนามบ้านถั่วลิสง ซึ่งอยู่ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ.น่าน เคยเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการชุมชม กับ สนพ.น่าน เล่าว่า นอกจากตนจะเข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวแล้ว ยังสนับสนุนให้ลูกน้องได้อบรมด้วย ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการนำผลผลิตเข้าสู่ระบบพาณิชย์ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการสูญเสีย เพิ่มรายได้ และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลายขึ้น แม้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันจะค่อนข้างฝืดเคือง แต่ตนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และยังสามารถดูแลครอบครัวและลูกน้องได้อย่างสบายๆ

 

 

 

 

 



การพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด ทักษะการทำงานคือช่องทางและโอกาสในการสร้างงานและรายได้ การเพิ่มศักยภาพของแรงงานสามารถนำพาให้อาชีพนั้นๆ ยังคงประคองและอยู่รอดต่อไป ทั้งนี้ ท่านใดที่สนใจจะฝึกอบรมในหลักสูตรข้างต้น หรือหลักสูตรอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th หัวข้อ หลักสูตรฝึกอบรม หรือสอบถามได้ที่ สพร.สนพ.ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 อธิบดี กพร.กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

23 สิงหาคม 2564

ผู้ชม 445 ครั้ง

Engine by shopup.com