29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความประกันสังคม ขยายกรอบวงเงินโครงการสินเชื่อฯ ช่วยเหลือสถานประกอบการ ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ให้สามารถดำเนินกิจการและรักษาสภาพการจ้างงาน

ประกันสังคม ขยายกรอบวงเงินโครงการสินเชื่อฯ ช่วยเหลือสถานประกอบการ ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ให้สามารถดำเนินกิจการและรักษาสภาพการจ้างงาน

หมวดหมู่: แรงงาน

 

 

 

 

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19 โดยให้สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการโครงการสินเชื่อ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานระยะที่ 2 (พ.ศ. 2563 – 2564) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์ดังกล่าว สามารถนำเงินกู้ที่ได้รับจาการขอสินเชื่อไปรักษาการจ้างงาน ของลูกจ้างในสถานประกอบการ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดเงื่อนไขให้สถานประกอบการรักษาจำนวนผู้ประกันตนให้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ประกันตน ณ วันที่ได้รับสินเชื่อตลอดอายุสินเชื่อ ขอสินเชื่อ นั้น ซึ่งจากการดำเนินโครงการฯ พบว่า มีสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้างเป็นจำนวนมาก ยังต้องการเงินกู้มากกว่า 15 ล้านบาท เพื่อรักษาการจ้างงานของลูกจ้างในสถานประกอบการของตนเองไว้ สำนักงานประกันสังคม และคณะกรรมการประกันสังคมฯ รับทราบปัญหาและเห็นความสำคัญที่ไม่ควร ให้ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคมต้องถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการประกันสังคมฯ จึงมีมติในการประชุมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้ขยายวงเงินสำหรับ สถานประกอบการจากเดิมไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ เป็นกำหนดตามจำนวนลูกจ้าง ในสถานประกอบการ หากจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ และจำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 201 คนขึ้นไป วงเงินไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อสถานประกอบการ โดยกำหนดวงเงินรวมที่ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 201 คน ขึ้นไป ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารได้รับจัดสรรปัจจุบันอยู่ระหว่างการแก้ไขบันทึกข้อตกลง(MOU) โดยคาดว่าจะเริ่มเพิ่มวงเงินได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า การให้สินเชื่อตามโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริม การจ้างงานฯ สำนักงานประกันสังคมมิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงในประเภทกิจการใดกิจการหนึ่ง ยังคงให้ สถานประกอบการทุกประเภทกิจการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน สามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เข้าร่วมโครงการสินเชื่อฯ กับสำนักงานประกันสังคม ปัจจุบันมีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรายละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งการพิจารณาให้สินเชื่อ เป็นไปตามระเบียบ และดุลยพินิจของแต่ละธนาคาร ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.75 ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และอัตราดอกเบี้ย สูงสุดไม่เกินร้อยละ 4.75 ต่อปี กรณีไม่หลักทรัพย์ค้ำประกัน|

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อ เพื่อการจ้างงาน สามารถขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นสถานประกอบการในระบบ e-service ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th/eservices/esv/index.jsp และเลือกหัวข้อ “ขอหนังสือรับรอง (โครงการสินเชื่อฯ)” หรือสแกน QR code ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อยื่นคำขอสินเชื่อที่ธนาคารทั้ง 5 แห่งข้างต้น ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานเป็นโครงการฯ ที่ดำเนินงานตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2559 ที่สามารถ นำเม็ดเงินไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุนประกันสังคมมาลงทุน ทางสังคม เพื่อประโยชน์ทางอ้อมแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนได้นอกจากจะช่วยเป็นทุนหมุนเวียน และเสริมสร้างสภาพคล่องในสถานประกอบการ รักษาสภาพการจ้างงานแล้ว ยังทำให้เกิดทุนหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ และพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย

31 สิงหาคม 2564

ผู้ชม 379 ครั้ง

Engine by shopup.com