24 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมทร.สุวรรณภูมิ สืบทอดตามพระราชปณิธาน “การเลี้ยงปลาแรดเพื่อการอนุรักษ์”

มทร.สุวรรณภูมิ สืบทอดตามพระราชปณิธาน “การเลี้ยงปลาแรดเพื่อการอนุรักษ์”

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ประมุข อุณหเลขกะ (อุน-นะ-หะ-เล-ขะ-กะ) อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร “โครงการประมงอยุธยา-บาร์เดน-เวอร์เทมเบอร์ก” (Ayutthaya-Baden-Wurtemberg Fish CultureProject) เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๒๙ ณ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเกษตรพระนครศรีอยุธยา(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ในปัจจุบัน)

 

 

 

 



โครงการประมง อยุธยา-บาร์เดน-เวอร์เท็มเบอร์ก เป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-เยอรมัน ที่ดำเนินการผ่านสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การนำความรู้และเทคโนโลยีมาแนะนำในการเลี้ยงปลาของเกษตรกรไทย และหาทางผลิตอาหารโปรตีนจากปลาที่มีราคาถูก เพื่อเพิ่มคุณภาพทางโภชนาการแก่ประชาชนที่มีรายได้น้อย และไม่สามารถบริโภคโปรตีนจากสัตว์ที่มีราคาแพงเป็นประจำได้ จึงได้คัดเลือกปลาแรด (Osphronemus goramy) พบว่า ปลาแรดมีคุณสมบัติเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ เป็นปลาน้ำจืดที่มีรสชาติดี และไม่มีก้างมาก เลี้ยงได้ในน้ำจืดแม้บางขณะจะขาดออกซิเจน ปลาแรดก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้เพราะมีอวัยวะพิเศษอยู่เหนือเหงือกซึ่งสามารถใช้ออกซิเจนจากอากาศโดยตรงได้ และจากการศึกษาวิจัยทำให้โครงการฯ สามารเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้ตลอดทั้งปี (ในสภาพธรรมชาติปลาแรดจะออกไข่เพียงฤดูเดียวในหนึ่งปี) ด้วยเทคนิคการเลี้ยงปลาแรดแบบหนาแน่น (intensive)

 

 

 

 

 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรพงษ์  สุขเกื้อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (มทร.สุวรรณภูมิ) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง ได้สืบทอดตามพระราชปณิธาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยการดำเนินโครงการการเลี้ยงปลาแรดเพื่อการอนุรักษ์ สนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) และสนับสนุนการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์ปลาแรดให้กับชุมชน โดยมีการฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้บริการวิชาการและส่งเสริมชุมชนในการเลี้ยงปลาแรดเพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ให้มีมากขึ้น

 

 

 

17 มกราคม 2565

ผู้ชม 475 ครั้ง

Engine by shopup.com