มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาราชภัฏ “48 ปี ที่ยิ่งใหญ่และก้าวต่อไปที่มั่นคง” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันราชภัฏ และนับเป็นการครบรอบวันสถาปนาราชภัฏ 48 ปี พร้อมทำบุญพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พิธีถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 การแถลงผลงานแห่งความสำเร็จ กล่าวแสดงข้อคิดจากผู้แทนข้าราชการ พิธีมอบเกียรติบัตรแก่บุคลากรดีเด่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประกาศผลรางวัลผู้ร่วมกิจกรรมโครงการสื่อสารด้วยภาพถ่าย หัวข้อ : “หวนรำลึก...นึกถึง มรส.” กิจกรรม "49 ปี 49 บาท" พี่แบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง You share, Make my dreams ศิษย์เก่ากล่าวถึงความภูมิใจในนามศิษย์เก่าราชภัฏ พิธีมอบเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นด้านการขับเคลื่อนกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่ากับบุคลากรของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และระบบออนไลน์แพลตฟอร์ม Webex Meeting
ผศ.ดร. วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เติบโตจากวิทยาครูที่ร่วมผลิตครูสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และได้รับการกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดพระราชา แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 และได้มีการพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้าเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดของชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ และถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวต่อไปอีกว่า ตลอด 48 ปี ที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนองค์กรในทุกก้าวอย่างบรรจงและยิ่งใหญ่ พร้อมก้าวต่อไปที่มั่นคงในวันข่างหน้า ตามหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัย คือ การสร้างบัณฑิตราชภัฏให้เต็มเปี่ยมด้วยมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ผ่านคุณลักษณะของการเป็น “วิศวกรสังคม” คือ การเป็นนักคิดที่สามารถคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงเหตุและผลของปัญหาได้ การเป็นนักสื่อสารที่สามารถสื่อสารถ่ายทอดองค์ความรู้ตามศาสตร์สู่ประชาชนในชุมชนอย่างเข้าใจ การเป็นนักประสานที่ชสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้โดยปราศจากข้อขัดแย้ง และ การเป็นนักนวัตกรที่มีทักษะด้านการสร้างนวัตกรรมตามองค์ความรู้ ประยุกต์ ประดิษฐ์ความคิดสร้างสรรค์ กล้าเสี่ยงอย่างชาญฉลาด สามารถรับมือกับอุปสรรคระหว่างการพัฒนานวัตกรรมได้ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้จริง
นอกจากนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.สบาย ไสรินทร์ อดีตรองอธิการบดีสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกล่าวแสดงข้อคิดในนามข้าราชการเกษียณว่า ขอให้ทุกคนรักมหาวิทยาลัย ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและจงภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมสร้างองคาพยพแห่งนี้ให้มีความเข้มแข็ง ดูแลคนรุ่นก่อร่างสร้างมหาวิทยาลัย และสร้างบัณฑิตที่เป็นความต้องการของสังคมต่อไป
15 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้ชม 513 ครั้ง