24 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความสกศ. ลุยราชบุรี เจาะลึก"สภาวการณ์ทางการศึกษาเชิงพื้นที่" เร่งตอบสนองการจัดการศึกษาตรงจุดทุกมิติ

สกศ. ลุยราชบุรี เจาะลึก"สภาวการณ์ทางการศึกษาเชิงพื้นที่" เร่งตอบสนองการจัดการศึกษาตรงจุดทุกมิติ

หมวดหมู่: การศึกษา

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ดำเนินการจัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งการประชุมรับฟังความคิดเห็นสภาวการณ์ทางการศึกษาเชิงพื้นที่ดังกล่าว จัดมาแล้ว 2 ครั้งด้วยกัน โดยนำร่องที่จังหวัดระยอง ครั้งที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรี และครั้งที่ 3  ในระหว่างวันที่ 29 - 31 สิงหาคม 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กว่า 130 คน ณ โรงแรม ณ เวลา จังหวัดราชบุรี

 

การประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ มีการประชุมกลุ่มย่อย จำแนกตามจังหวัดเพื่อวิเคราะห์ความท้าทาย เป้าหมายและประเด็นร่วมสมัยทางการศึกษาที่สำคัญส่งผลกระทบต่อสภาวะการศึกษาไทย ปี 2565  ในแต่ละพื้นที่ โดยมีกลุ่มย่อยที่ 1 ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี  กลุ่มย่อยที่ 2 จังหวัดราชบุรี  กลุ่มย่อยที่ 3 จังหวัดสุพรรณบุรี และกลุ่มย่อยที่ 4 จังหวัดสมุทรสงคราม  โดยมี ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์   กรรมการสภาการศึกษา ดร.จุไรรัตน์ แสงบุญนำ อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ชวลิต โพธิ์นคร  อดีตผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนางสาวขนิษฐา ห้านิรัติศัย  อดีตผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

 

 

 

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา ประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสภาวการณ์ทางการศึกษาเชิงพื้นที่ กล่าวว่า สิ่งที่ค้นพบในการระดมความคิดเห็นต่อสภาวการณ์ในการจัดการศึกษาในเชิงพื้นที่ ได้แก่ สถานการณ์ในการจัดการศึกษาภายใต้วิกฤตโควิด-19 ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) ในการจัดการศึกษา  เราต้องฝ่าวิกฤติในการจัดการศึกษาทุกสังกัด ซึ่งเป็นทั้งวิกฤติและโอกาส

 

สิ่งที่ค้นพบคือ  คุณครูมีการบริหารจัดการในการเรียนการสอน ต้องใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ต้องมาสนับสนุนในการจัดการศึกษา  แม้ว่าจะเป็นภาวะถดถอยก็ตาม แต่ไม่ใช่ประเทศเราประเทศเดียวมันเกิดขึ้นทั่วโลก  ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ  โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ทำให้เห็นศักยภาพของคุณครู  ทำให้เรามองว่าการจัดการศึกษาภายใต้ ข้อจำกัดค่อนข้างมากให้เกิดความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร  ซึ่งครูต้องมีการบริหารจัดการในการเรียนการสอน  สามารถใช้เทคโนโลยี ใช้นวัตกรรมที่ต้องนำมาสนับสนุนในการจัดการศึกษา  แม้ว่าจะเป็นภาวะถดถอยแต่ทำให้เห็นศักยภาพของคุณครูอีกมิติหนึ่ง

 

 

 

ในเรื่องของหลักสูตรในการจัดการศึกษา ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในวันนี้  คือ  ข้อค้นพบของจังหวัดกาญจนบุรี  ราชบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสงคราม โดยเฉพาะจังหวัดราชบุรี มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก หน่วยงานทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสังกัดอาชีวะ  กศน. สพฐ. หรือเอกชน  อยากให้ระดับนโยบายจัดหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาหลักสูตรยังไม่ตอบโจทย์ โรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนมาก ยังไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน จึงต้องไปปรับหลักสูตรใหม่ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ให้ผู้ที่จบการศึกษาในทุกสังกัดสามารถเข้าสู่โลกของการมีงานทำ สามารถแก้ปัญหาเรื่องของการว่างงานได้

 

ทั้งนี้ เวทีนี้จะเป็นเวทีในการรับฟังและแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาต่อยอดรายงานสภาวะการศึกษาไทยให้สามารถตอบสนองการจัดการศึกษาในทุกพื้นที่ของประเทศ อันจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดทำนโยบายทางการศึกษาจาก One Size Fitted Education เป็น Tailor-Made Education ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สกศ. ได้จัดทำรายงานสภาวะการศึกษาเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศ

 

 

 

นางอำภา พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา กล่าววว่า เสียงสะท้อนของทุกท่านทาง สกศ .จะนำไปสู่การปฏิบัติ อาจจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้หมดทันที แต่ก็ได้ฟังเสียงสะท้อนหลายเรื่องจากพื้นที่อย่างแท้จริง ขอน้อมรับและจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการจัดการข้อมูล เชิงนโยบายนำเสนอผู้บริหารต่อไป อีกทั้ง ยังต้องการพัฒนาต่อยอดการจัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทยให้ครอบคลุมทั้งการวิเคราะห์ในระดับมหภาคในภาพรวม และระดับจุลภาคโดยคำนึงถึงความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปจัดทำรายงานสภาวการณ์การศึกษาเชิงพื้นที่ และข้อเสนอในการยกระดับการจัดการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนาต่อไป

 

 

  

  

อีกหนึ่งเสียงสะท้อนจากนายพัฒนา  โชติกันตะ   รองผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี   ว่า จากการที่ได้รับฟังความคิดเห็น  ซึ่งแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ในปี 2566-2570 นั้น จะนำแนวคิดจากผู้บริหารการศึกษา  ครูและบุคลากรทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาต่อไป ในการมาร่วมประชุมในครั้งนี้นับว่าได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก  ได้มองเห็นทิศทาง แนวทางนโยบายต่าง ๆ  ที่ได้รับจากการรับฟังจากความคิดเห็นของผู้มีความรู้ ผู้มีประสบการณ์ เป็นการเปิดโลก  เปิดแนวทางในการนำไปใช้กับโรงเรียนต่อไป

 

 

สำหรับ การลงพื้นที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นสภาวการณ์ทางการศึกษาเชิงพื้นที่ จัดโดยสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา   สกศ. จะรวบรวมข้อมูล ข้อค้นพบ และข้อเสนอแนะที่ได้รับเพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานต่อไป

 

 

01 กันยายน 2565

ผู้ชม 531 ครั้ง

Engine by shopup.com