24 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.นครพนม จัดเวทีเสวนา “ดีลไม่ดื่ม ไม่ลืมสอบ” รณรงค์งดการดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสอบของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

ม.นครพนม จัดเวทีเสวนา “ดีลไม่ดื่ม ไม่ลืมสอบ” รณรงค์งดการดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสอบของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

 

 

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จัดกิจกรรมรณรงค์งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสอบของนักศึกษา ภายใต้แนวคิด “ดีลไม่ดื่ม ไม่ลืมสอบ” เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาแกนนำในการเฝ้าระวังปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสอบของนักศึกษา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ อินทนนท์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน ณ ลานกิจกรรมตลาดตุ้มโฮม ถนนคนเดิน อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

 

กิจกรรมภายในงานมีเวทีเสวนา เรื่อง แอลกอฮอล์ : ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่น ภายใต้โครงการรณรงค์งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสอบของนักศึกษา ตามแนวคิด “ดีลไม่ดื่ม ไม่ลืมสอบ” โดยมีแพทย์หญิงดุจอรุณ ลิ่มสวัสดิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากโรงพยาบาลนครพนม อาจารย์กาญจน ศาลปรีชา อาจารย์ที่ปรึกษาสโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นายณัฐพงษ์ นะคะจัด ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยนครพนมและประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครพนม นายอนันต์ สมบัติหล้า นายกสโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และนายอนันทชาติ มะกุล อดีตรองนายกสโมสรคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมเวทีเสวนา มีนายชัยวิชิต โกพลรัตน์ นักพัฒนาสังคม สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม และอาจารย์จุฑาลักษณ์ แสนโท อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดำเนินรายการ

 

 

 

 

 

 

นางสาวพัชริกา สุทธิผาย สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์เยาวชนที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยิ่งไปกว่านั้นจากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2564 พบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดกับเด็กและเยาวชน โดยอายุเฉลี่ยของผู้ที่ดื่มครั้งแรกเฉลี่ยอยู่ที่อายุ 20.3 ปี ผู้ชายจะดื่มไวกว่าผู้หญิงเล็กน้อย โดยผู้ชายจะดื่มครั้งแรกเฉลี่ยอยู่ที่อายุ 19.3 ปี และผู้หญิง 23.7 ปี ที่น่ากังวลคือพบเยาวชนไทยเริ่มดื่มครั้งแรกตั้งแต่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ สูงถึงร้อยละ 12.2 ขณะที่จังหวัดนครพนมซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขงตอนกลาง พบปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยปัญหายาเสพติดจะมาพร้อมกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจากข้อมูลส่วนหนึ่งของศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดนครพนม และการรายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดนครพนม ปี 2565 พบว่าสถานการณ์เยาวชนจังหวัดนครพนมมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กล่าวคือ เยาวชนดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น มีการมั่วสุมและสร้างความรำคาญให้กับชาวบ้าน ติดเกมส์ และเล่นการพนันต่าง ๆ ตลอดจนการมีพฤติกรรมทางเพศ โดยจำนวน 185 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.26 และเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายจิตใจ และทางเพศ จำนวน 7 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของจำนวนเยาวชนทั้งหมดในจังหวัดนครพนม

 

 

 

 

 

 

ด้านอาจารย์จุฑาลักษณ์ แสนโท อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า จากข้อมูลศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ปี 2564 ได้ระบุถึงผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อเยาวชนว่าผลกระทบของการดื่มสุรา 2 ด้านหลัก คือ ผลกระทบทางสุขภาพ และผลกระทบทางสังคม ในด้านสุขภาพการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคมะเร็ง โรคทางเดินอาหารและโรคตับ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ส่วนทางด้านสังคมนั้น การดื่มสุราก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างหลายลักษณะ ทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น ปัญหาการใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท อาชญากรรมต่าง ๆ และปัญหาสังคมระยะยาวหรือเรื้อรัง เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้หญิงและเด็ก ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว การสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน และปัญหาความยากจน เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ผลกระทบจากการดื่มสุราต่อสังคมในภาพรวมสามารถวัดได้ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ผ่านการประเมิน “ต้นทุนทางสังคมของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ซึ่งเป็นการประเมินความสูญเสียที่รัฐหรือสังคมต้องแบกรับจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ตลอดจนความสูญเสียจากการเสียชีวิตของผู้ดื่มก่อนวัยอันควร ซึ่งการจัดโครงการดังกล่าวได้เล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้กับนักศึกษา และเสริมสร้างศักยภาพแกนนำนักศึกษาเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ อินทนนท์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่า ผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อกลุ่มวัยรุ่นเป็นจำนวนมาก โดยการจัดกิจกรรมของโครงการที่มีเวทีเสวนาร่วมด้วยเป็นอีกกิจกรรมที่ส่งเสริมสร้างความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา ได้ตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งก็มีความสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนครพนม โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา รวมถึงการสร้างแกนนำนักศึกษาให้เฝ้าระวังปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสอบ และเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย

 

โดยกิจกรรมดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

09 ตุลาคม 2566

ผู้ชม 248 ครั้ง

Engine by shopup.com