21 กันยายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความนักวิจัย มทร.ธัญบุรี ทำสำเร็จ พัฒนา “ก้างปลาหมอคางดำ” เป็นสุดยอดอาหารเสริมบำรุงร่างกาย ลดการแพร่ระบาด

นักวิจัย มทร.ธัญบุรี ทำสำเร็จ พัฒนา “ก้างปลาหมอคางดำ” เป็นสุดยอดอาหารเสริมบำรุงร่างกาย ลดการแพร่ระบาด

หมวดหมู่: การศึกษา


อาจารย์และนักวิจัย คณะการแพทย์บูรณาการ มทร.ธัญบุรี โดยผศ.ดร.พท.ป.วัชระ ดำจุติ อ.ดร.สุริยา ชัยวงค์ และน.ส.ชลิตรา วงษ์นุ่ม คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากก้างปลาหมอคางดำ ผลงานใหม่ที่ผสานการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้วยการสกัดแคลเซียมจากก้างปลาหมอคางดำ ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งยังช่วยลดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำ และอยู่ระหว่างการจดอนุสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิต



ผศ.ดร.พท.ป.วัชระ ดำจุติ หนึ่งในผู้วิจัย จากคณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เผยว่าแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในกระบวนการสร้างและบำรุงรักษากระดูกและฟัน การขาดแคลเซียมอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของกระดูกในวัยเด็กและวัยรุ่น ดังนั้น การได้รับแคลเซียมที่เพียงพอจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัย ประกอบกับอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ในปัจจุบัน ปลาหมอคางดำซึ่งเป็นสายพันธุ์ต่างถิ่นได้แพร่ระบาดในประเทศไทยและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำอย่างรุนแรง โดยมีการแพร่กระจายที่มากกว่า 19 จังหวัดทั่วประเทศ ทางกรมประมงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงการตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อนำไปแปรรูป ซึ่งตนและทีมวิจัย จึงได้ร่วมกันหาแนวทางการแก้ปัญหา จนนำมาสู่การนำปลาหมอคางดำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร



น.ส.ชลิตรา วงษ์นุ่ม


ทีมนักวิจัย ได้อธิบายว่า หนึ่งในแนวคิดที่ได้รับการสนับสนุนคือการนำปลาหมอคางดำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากปลาชนิดนี้มีแคลเซียมและสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การใช้กระดูกปลาหมอคางดำสกัดแคลเซียมเป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพ และมีความบริสุทธิ์สูง โดยกระบวนการสกัดไม่ทำลายคุณค่าทางโภชนาการอื่น ๆ ของปลา และแคลเซียมที่ได้จากปลายังมีความโดดเด่นในเรื่องความสามารถในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจดีกว่าแคลเซียมที่ได้จากแหล่งอื่น ๆ ขณะเดียวกัน การนำก้างปลาหมอคางดำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ เป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างยั่งยืนและลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดจำนวนปลาหมอคางดำในระบบนิเวศซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน




“ในการดำเนินการพัฒนาวิธีการสกัดแคลเซียมคาร์บอเนตจากก้างปลาหมอคางดำเพื่อใช้ในการเตรียมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีกระบวนการสำคัญโดยสรุป เริ่มต้นที่การแยกก้างปลา การสกัดแยกแคลเซียมคาร์บอเนตจากก้างปลาด้วยกรรมวิธีทางเคมี การแยกตะกอนแคลเซียมและการทำแห้งผงแคลเซียมคาร์บอเนต จนกระทั่งได้แคลเซียมคาร์บอเนตจากก้างปลาหมอคางดำเพื่อใช้เตรียมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลวิจัยที่สำคัญส่วนหนึ่ง พบว่า ก้างปลาหมอคางดำให้ประมาณแคลเซียมสูงถึงประมาณ 14% w/w” อ.ดร.สุริยา ชัยวงค์ อธิบายเสริม


ปัจจุบัน ทีมวิจัยอยู่ระหว่างการดำเนินการจดอนุสิทธิบัตรกรรมวิธีการสกัดแคลเซียมจากก้างปลาหมอคางดำ เพื่อเตรียมการผลิตและจำหน่าย ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ แต่ยังมีส่วนร่วมในการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนอีกด้วย ผู้สนใจสามารถติดตามความต่อเนื่องและความสำเร็จของโครงการวิจัยดังกล่าวได้ที่ คณะการแพทย์บูรณาการ มทร.ธัญบุรี โทร.02 592 1989.

18 กันยายน 2567

ผู้ชม 42 ครั้ง

Engine by shopup.com