24 กันยายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำอิง พะเยา ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำอิง พะเยา ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

ลุ่มน้ำอิงเป็นหนึ่งในลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 7,388 ตารางกิโลเมตร ในจังหวัดพะเยาและเชียงราย การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำนี้เผชิญกับปัญหาหลายประการ ทั้งการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง น้ำท่วมในฤดูฝน และคุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำจากแหล่งน้ำในลุ่มน้ำอิง 

 

ปัญหาและความท้าทาย ปัญหาหลักในลุ่มน้ำอิงประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง, ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน, และปัญหาคุณภาพน้ำ การบริหารจัดการที่ผ่านมายังขาดความเป็นระบบ ทำให้เกิดปัญหาแบบแยกส่วนและเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรในหลายอำเภอของจังหวัดพะเยาและเชียงราย ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่อาจคาดเดาได้ทำให้สถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรง

 

 

 




การบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำอิงจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการและบริบทของลุ่มน้ำ การแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำต้องเกิดจากการบูรณาการ และการใช้หลักวิชาการที่มองที่ต้นเหตุของการบริหารจัดการลุ่มน้ำที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ตอบสนองต่อบริบทของลุ่มน้ำอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การดำเนินงานของคณะทำงานวิจัยเชิงบูรณาการมหาวิทยาลัยพะเยาในด้านการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา ลุ่มน้ำอิง ได้ดำเนินการวิจัยในมิติต่างๆของลุ่มน้ำได้แก่ การวิเคราะห์และพยากรณ์ปริมาณน้ำท่า ความต้องการการใช้น้ำของพื้นที่ต้นน้ำกว๊านพะเยา การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ การพัฒนาระบบและศูนย์ข้อมูลเตือนภัยและรับมือภัยพิบัติโดยเทคโนโลยีด้านจุลอุตุนิยิมวิทยา การศึกษาคุณภาพน้ำกว๊านพะเยาและแหล่งน้ำเสียพร้อมระบบการรายงานคุณภาพน้ำ เทคโนโลยีการพัฒนาอาชีพประมงและการท่องเที่ยวจากการบริหารจัดการน้ำสมัยใหม่ การกำหนดมาตรการและนโยบายด้วยการวิเคราะห์กฎหมายและนโยบายที่เหมาะสมในการบริหารทรัพยากรน้ำภาคการเกษตรลุ่มน้ำอิง นอกจากนี้ การบริหารจัดการน้ำใต้ดินโดยระบบการเติมน้ำใต้ดิน ได้ถูกนำมาใช้ยกระดับศักยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่มากขึ้น ได้แก่


1) เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ระบบดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ (UAV, Drone) เข้ามาสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาแหล่งน้ำ


2) เทคโนโลยีทางด้านอุทกธรณีวิทยาสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดิน การเติมน้ำใต้ดินเพื่อฟื้นฟูและยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้นจากการหมุนเวียนใช้ซ้ำ (Reuse) นำน้ำที่ไหลทิ้งบนผิวดินให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) โดยดำเนินการร่วมกับการสำรวจธรณีฟิสิกส์เพื่อประกอบการประเมินศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อความคุ้มทุนของโครงการ


3) การพัฒนา Application ด้านการเก็บข้อมูลแหล่งน้ำ การซ่อมแซม และการพัฒนาแหล่งเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล


4) การใช้เทคโนโลยีด้านการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในการฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่าต้นน้ำโดยใช้กระบวนการสร้างฝาย เทคโนโลยีการเกษตรและประมงที่เหมาะสมกับปริมาณและคุณภาพน้ำในพื้นที่

 

 

 

 



โดยทุกกระบวนการของโครงการมีการดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของจังหวัดพะเยาเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดเป็นมาตรการและนโยบายที่เกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคม เศรฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

 

โดย รศ.ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

 

24 กันยายน 2567

ผู้ชม 22 ครั้ง

Engine by shopup.com