24 กันยายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก เรียนรู้กระบวนการผลิตพืชอินทรีย์ กับนักวิจัย มมส เพื่อผลผลิตที่ดี ได้มาตรฐาน Organic

กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก เรียนรู้กระบวนการผลิตพืชอินทรีย์ กับนักวิจัย มมส เพื่อผลผลิตที่ดี ได้มาตรฐาน Organic

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 



นักวิจัยภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงพื้นที่โครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน บริการวิชาการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตพืชตามการปฏิบัติการเกษตรผลิตพืชแบบอินทรีย์ โดยถ่ายทอดอบรม “กระบวนการผลิตพืชอินทรีย์และการใช้ไตรโคเดอร์มา” แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก กลุ่มผักดี พื้นที่ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน Organic

 

 




ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระยศ แข็งขัน หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า สำหรับการลงพื้นที่บริการวิชาการ โครงการการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบแปลงสาธิตการผลิตพืชตามการปฏิบัติการเกษตรผลิตพืชแบบอินทรีย์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน Organic สิ่งที่มาถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่วันนี้คือ อบรมถ่ายทอดความรู้ วิเคราะห์ถอดบทเรียน ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก กลุ่มผักดี พื้นที่ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ในเรื่อง “กระบวนการผลิตพืชอินทรีย์และการใช้ไตรโคเดอร์มา” เพื่อให้ทราบปัญหาของการผลิตพืชผักอินทรีย์ในปัจจุบันของเกษตรกรแต่ละราย เรียนรู้การแก้ปัญหา รู้วิธีการปฏิบัติให้ตรงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

 

 

 




โดยหลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาแล้วพบว่า ปัจจุบันเกษตรพบโรคที่เกิดจากเชื้อราในแปลงผักที่ปลูก โดยเฉพาะในฤดูฝนจะพบมาก คณะนักวิจัยจึงได้แนะนำวิธีการและฝึกปฏิบัติ การทำเชื้อราไตรโคเดอร์มาแบบเชื้อสด เพื่อการป้องกันและกำจัดโรคในแปลงเกษตร ซึ่งมีวิธีการทำเริ่มจากหุงข้าวจ้าวจนได้ข้าวสวย จากนั้นตักข้าวใส่ถุงร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว ปริมาณ 250 กรัม รีดอากาศออกจากถุงแล้วพับ รอจนข้าวอุ่น แล้วเติมเชื้อไตรโคเดอร์มา ปริมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว มัดปากถุงให้แน่น เขย่าให้เชื้อกระจายตัวทั่วทั้งถุง ใช้เข็มหมุดเจาะบริเวณใต้หนังยางบริเวณที่มัดถุง 20-30 รู เกลี่ยข้าวในถุงให้กระจายตัว แล้วยกถุงให้มีอากาศอยู่ภายใน เก็บในที่ไม่โดนแสงแดดไม่มีแมลงรบกวน บ่มทิ้งไว้ 3-4 วัน เขย่าให้เส้นใยของเชื้อกระจายตัว แล้วบ่มต่ออีกประมาณ 3-5 วัน จนเชื้อเจริญเป็นสีเขียวเข้ม จึงนำมาใช้ตามอัตราส่วนที่แนะนำ


วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาแบบเชื้อสด ไปใช้ มี 4 กรณี ได้แก่

1. กรณีใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ ใช้อัตราส่วนเชื้อสด 1-2 ช้อนแกง ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม

2. กรณีหว่านในแปลงปลูก ใช้เชื้อสด 50 กรัม ต่อ ตารางเมตร

3. กรณีใช้ผสมกับวัสดุปลูกใช้เชื้อสด 1 ส่วน ต่อวัสดุปลูก 50 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน

4. กรณีใช้ฉีดพ่น ใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร โดยการล้างสปอร์ในน้ำแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำไปใช้ในการฉีดพ่น

 

 

 

 

 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีระยศ แข็งขัน กล่าวเพิ่มเติมว่า ทีมนักวิจัยคณะเทคโนโลยี มมส ได้ร่วมสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับเกษตรกร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตามหลัก BCG เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต จนได้ผลผลิตมีคุณภาพ ซึ่งตอนนี้สินค้าได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) แล้ว นั่นหมายถึงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และจะยกระดับให้เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ที่คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และผลลัพธ์ที่ต้องการสูงสุดคือ อยากให้เกษตรกรพัฒนาเรื่องการทำมาหากิน โดยยกระดับมาตรฐานขึ้น ให้เกิดนิเวศใหม่สำหรับการผลิตทางการเกษตร เป็นนิเวศที่มีความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

24 กันยายน 2567

ผู้ชม 21 ครั้ง

Engine by shopup.com