22 ตุลาคม 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความอาชีวะโคราช โชว์ "น้ำพริกหมู (โคราช)" คว้ารางวัล 1 จังหวัด 1 เมนูอาหารถิ่น ปี 67 เสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น ดัน Soft Power สร้างกำลังคนด้านอาหาร

อาชีวะโคราช โชว์ "น้ำพริกหมู (โคราช)" คว้ารางวัล 1 จังหวัด 1 เมนูอาหารถิ่น ปี 67 เสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น ดัน Soft Power สร้างกำลังคนด้านอาหาร

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

ในปัจจุบันผู้เรียนอาชีวะเป็นกำลังคนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ อาชีวะมีหลากหลายมิติการศึกษาที่น่าจับตามอง ซึ่งมีความแตกต่างไม่น้อยจากที่ผ่านมา การขับเคลื่อนประเทศต้องอาศัยกำลังคนที่มีทักษะในสาขาวิชาชีพต่างๆ แต่ยังไม่เพียงพอความต้องการของภาคประกอบการ อาชีวะจึงไม่เคยหยุดในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้รับทักษะวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการ ส่งเสริมผู้เรียนให้ได้เรียนรู้จริงในทุกมิติ จะเห็นถึงผู้เรียนอาชีวะได้รับรางวัลมากมายจากหลากหลายเวที ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ การันตีได้ว่าผู้เรียนอาชีวะมีสมรรถนะไม่ด้อยกว่าใคร และการได้สนับสนุน ส่งเสริมผู้เรียนให้ได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ในเวทีการแข่งขันนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างความเข้มแข็งให้ผู้เรียนอาชีวะได้พัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง

 

 

และครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญที่นักเรียน นักศึกษาอาชีวะได้รับรางวัล การันตีความเก่งอย่างต่อเนื่อง โดยนายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แสดงความยินดีกับวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา คว้ารางวัล 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” นำเมนูน้ำพริกหมู (โคราช) ของครัวอาชีวะโคราช ได้รับการประกาศเป็นอาหารถิ่นประจำจังหวัดนครราชสีมา และได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจากประชาชน ในโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food รสชาติที่หายไป The Lost Taste) ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 1-9 ส.ค. 67 ที่ผ่านมา ซึ่งการนำเสนอเมนูของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ไม่เพียงนำความเป็นเอกลักษณ์ ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาในสาขาอาหารได้สร้างสรรค์เมนูที่มีรากฐานจากวัฒนธรรม วิถีชีวิตคนไทยและภูมิปัญญาในจังหวัด จึงเป็นอีกหนึ่งเวทีแสดงศักยภาพของผู้เรียนอาชีวะในการยกระดับอาหารไทยสู่การเป็น Soft Power อาหาร และเป็นบททดสอบนักเรียน นักศึกษาอาชีวะในเวทีต่างๆ จากการเรียนรู้แบบลงมือทำ ฝึกทักษะฝีมือที่เป็นเฉพาะทางให้มีสมรรถนะแล้ว ยังตอกย้ำความชัดเจนในด้านทักษะอาชีพ ยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จากความชื่นชอบและสนใจในการเรียนของนักเรียน นักศึกษาที่ส่งจะส่งต่อกำลังคนที่มีศักยภาพในด้านวิชาชีพในมิติต่างๆ ที่สำคัญเป็นการสร้างโอกาส และผลักดันกำลังคนอาชีวะสมรรถนะสูงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวต่อไป

 

 

นางสาวอริษา ด่านกระโทก นักศึกษา ปวช.3 แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ หนึ่งในทีมเล่าว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา หรือ อาชีวะโคราช ได้เข้าร่วมกิจกรรม 1 จังหวัด 1 เมนูอาหารถิ่น “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” ในปีนี้เป็นครั้งที่ 2 มีครูรุ้งนภา สนพะเนาว์ และเพื่อนแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ รวม 6 คน เป็นผู้ปรุงเมนู “น้ำพริกหมู (โคราช)” โดยมีแนวคิดถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น หรือวิถีชีวิตที่มีการสืบทอดต่อกันมาผ่านวัฒนธรรมและมีภูมิปัญญา สอดคล้องกับลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “น้ำพริก” จึงนับได้ว่าเป็นอาหารพื้นบ้านที่คู่กับสำรับไทยมาช้านาน ทุกครอบครัวมีน้ำพริกเป็นพื้นฐานเวลากินข้าว ตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบันในทุกภูมิภาค และถือเป็นอีกหนึ่งเมนูหลักอยู่ในสำรับอาหารไทยที่ขาดไม่ได้ น้ำพริกของคนโคราช คือ น้ำพริกหมู (โคราช) เป็นอาหารโบราณที่อยู่คู่กับคนโคราชมานาน และได้รับถ่ายทอดภูมิปัญญาด้วยวัฒนธรรมการกินในครอบครัว นิยมทานคู่กับผักสด ผักพื้นบ้านต่าง ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ผักติ้ว แต้ว ยอดมะกอก ผักลืมผัว  ผักแขยง ผักกุ่ม และผักเสี้ยมดอง แต่ไม่นิยมรับประทานกับผักต้ม และทำรับประทานกันในครอบครัว ไม่ค่อยมีจำหน่ายตามท้องตลาด ในเรื่องของรสชาตินั้นจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น 

 

ซึ่งการทำ “น้ำพริกหมู (โคราช)” มีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากนัก ส่วนประกอบต่างๆ จะมีเนื้อหมูสันนอกสับ 300 กรัม ตระไคร้ซอยบาง 15 กรัม ข่าหั่นบาง 10 กรัม หอมแดงปอกเปลือก 50 กรัม กระเทียมไทยปอกเปลือก 30 กรัม รากผักชีหั่นหยาบ 10 กรัม ใบมะกรูดฉีก ปริมาณ 4-5 ใบ พริกจินดาคั่วป่น 15 กรัม หัวกะทิ 150 กรัม น้ำปลาดี 40 กรัม น้ำตาลปี๊บ 25 กรัม น้ำมะขามเปียก 20 กรัม น้ำซุป/น้ำเปล่า 20 กรัม ต้นหอม ผักชีหั่นฝอยโรย ทานคู่กับผักสดซึ่งมีในท้องถิ่น เช่น ยอดมะกอก ผักแขยง ผักกุ่ม ผักติ้ว มะเขือเปราะ, มะเขือเต่าม่วง, มะเขือเต่าขาว, มะเขือเสวย ถั่วฝักยาว ใบบัวบก แตงกวา ผักเสี้ยนดอง และผักกาดขาว สำหรับขั้นตอนการปรุง นำตระไคร้ ข่า หอม กระเทียม รากผักชี ใบมะกรูด คั่วในกระทะให้หอม จากนั้นโขลกรวมกัน แล้วพักไว้ นำหมูมารวนให้พอสุก แล้วนำมาโขลกกับพริก ป่นให้เข้ากันแล้วพักไว้ พร้อมตั้งกระทะใส่หัวกะทิแท้ เคี่ยวให้แตกมันแล้วจึงใส่เครื่องเทศผัดให้หอม ใส่หมู และผัดผัดเข้ากัน เติมน้ำซุปพอคลุกคลิก จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล น้ำมะขามเปียกยกให้ได้รสตามใจชอบ แล้วโรยใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี รับประทานคู่กับผักสด ผักดอง ที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งการปรุงจะได้น้ำพริกในสัดส่วนนี้สำหรับ 3-5 คน แต่จะมีเคล็ดลับเด็ดคือ การปรุงให้ใช้หัวกะทิเคี่ยวให้แตกมันก่อน เมื่อผัดรวมกับหมูที่รวนไว้จะทำให้หมูนุ่มและหอมกะทิ ทำให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

 

 

 

สำหรับผู้ที่สนใจน้ำพริกหมู (โคราช) สามาติดต่อได้ที่ที่ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการค้าวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมาที่เดียวที่นี่ได้เลยค่ะ หรือ โทรศัพท์หมายเลข 044242678

 

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food รสชาติที่หายไป The Lost Taste) ประจำปี 2567 โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับ 76 จังหวัดและกรุงเทพฯ ดำเนิน ซึ่งแต่ละจังหวัด มีคณะกรรมการประจำจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทนที่เป็นประธาน เพื่อดำเนินการคัดเลือก และให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดร่วมโหวตเมนูที่ควรได้รับการคัดเลือกในจังหวัดตนเองพร้อมกันทั่วประเทศ.

 

 

 

29 กันยายน 2567

ผู้ชม 141 ครั้ง

Engine by shopup.com