14 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความสูด "กลิ่น" สื่อ "เรื่องราว" ตามแนวทางของนักสร้างสรรค์กลิ่น

สูด "กลิ่น" สื่อ "เรื่องราว" ตามแนวทางของนักสร้างสรรค์กลิ่น

หมวดหมู่: การศึกษา

เรียบเรียงโดย: ผศ.วรวุฒิ อ่อนน่วม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสร้างสรรค์คอนเทนต์ดิจิทัล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

 

 

 

ในโลกของการสร้างสรรค์กลิ่น กลิ่น คือ อนุภาคทางเคมี (Chemical particle) ที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ ประกอบด้วยโมเลกุลสารต่าง ๆ มากมาย เป็นสิ่งที่เกิดโดยโมเลกุลตามธรรมชาติและเกิดจากการพัฒนาของนักเคมี คำถามสำคัญคือ “กลิ่น มีความหมายหรือไม่” ดูจะเป็นคำถามที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะจากข้อมูลข้างต้นที่ได้กล่าวถึงกลิ่นและการรับรู้ของระบบสมองแล้วนั้น ตอบได้ชัดเจนว่า กลิ่น มีผลต่อความรู้สึกและสามารถแทรกแซงความคิดได้ ทั้งที่เป็นกลิ่นที่มาจากโมเลกุลตามธรรมชาติและกลิ่นที่มาจากการสร้างสรรค์หรือพัฒนาโดยมนุษย์

ในมุมมองเรื่องการสร้างสรรค์โดยมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีก เพราะภายใต้กระบวนการผลิตน้ำหอมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “กลิ่น” ถูกนำมาจัดสรรผ่านกระบวนการต่าง ๆ กลายเป็นน้ำหอม เพื่อใช้ประโยชน์เรื่อยมา จนเข้าสู่วิวัฒนาการด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี นักเคมีสามารถแยกโมเลกุลทางเคมีที่ให้กลิ่นตามธรรมชาติทั้งจากพืช จากสัตว์หรือ จากสิ่งไม่มีชีวิตต่าง ๆ บนโลกใบนี้ แล้วพัฒนาโมเลกุลเคมีใหม่ๆ นับหมื่นนับแสน กลายเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ของนักปรุงกลิ่น นักปรุงน้ำหอมทั่วโลก เกิดเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่อย่างในปัจจุบัน นั่นเท่ากับว่าตัวแปรสำคัญของเรื่องกลิ่นคือ “มนุษย์” ในฐานะผู้สร้างสรรค์

หากต้องตอบคำถามว่า “กลิ่นมีความหมายหรือไม่” อาจตอบอย่างสร้างสรรค์ได้ว่า “กลิ่นมีความหมายเมื่อถูกสร้างสรรค์” เพราะกลิ่นอาจไม่มีความหมายในตัวเอง แต่หากได้รับการสร้างสรรค์ หรือ เข้ารหัสทางความหมายแล้วจะสามารถสื่อความหมายได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเสมอ เพราะกลิ่นจะเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบประสาทและสมองตลอดเวลา เกิดการรับรู้เป็นภาพจินตนาการในอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ทั้งอาจจะเป็นเหตุการณ์ ประสบการณ์ หรือความทรงจำ หรือการเกิดจินตนาการไปกับความรู้สึกนึกคิดที่เรียงร้อยกับบริบท ณ ขณะได้กลิ่นก็ตาม การสร้างสรรค์กลิ่นจึงถือเป็นการมุ่งสื่อสารความหมาย หรือ ความรู้สึกไปสู่ผู้รับในทางใดทางหนึ่งเสมอนั่นเอง

Fragrance Wheel หรือ วงล้อกลิ่น เป็นแผนภาพวงกลมที่แสดงความสัมพันธ์ที่อนุมานได้ระหว่างกลุ่มกลิ่นตามความคล้ายคลึงและความแตกต่างของกลิ่น ซึ่งสร้างขึ้นโดย Michael Edwards นักอนุกรมวิธานด้านน้ำหอมในปี 1992 ประกอบด้วยกลุ่มกลิ่นหลัก ได้แก่ Fresh, Floral, Oriental หรือAmber และ Woody โดยจะมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยด้วยการจำแนกตระกูลของกลิ่นที่มาจากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน

Fragrance Wheel นำมาใช้ในการแบ่งหมวดหมู่ของวัตถุดิบที่ให้ความรู้สึกของกลิ่น หรือ โทนที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่าเมื่อโทนกลิ่นแตกต่างกัน การรับรู้ความรู้สึกที่เกิดจากกลิ่นแต่ละตระกูลย่อมมีความแตกต่างกัน และส่งผลต่อความหมายที่สื่อออกไปย่อมแตกต่างอีกเช่นกัน ดังนั้น นักสร้างสรรค์กลิ่น หรือ นักปรุงน้ำหอม มักใช้หลักการจากวงล้อนี้ในการผสมกลิ่น หรือเพื่อใช้ในการอธิบายความรู้สึกของกลิ่นในน้ำหอมที่ได้รับการผสมแล้ว

 

 

ผู้เขียนเองมีประสบการณ์ในการสร้างสรรค์กลิ่นและได้ทำงานในฐานะนักปรุงกลิ่น (Scent Designer) พบว่า แม้การปรุงกลิ่นจะเป็นเรื่องของงานเคมี แต่กลิ่นนั้นไร้ตัวตน หากไม่มีการกำหนดขอบเขตเรื่องราว ความหมาย หรือ แนวคิดตั้งต้นไว้ก่อน การปรุงจะไร้ทิศทาง ปราศจากแก่นความหมาย และเป็นเรื่องยากต่อการเข้าใจ หรือใช้การอธิบายในภายหลังได้ยากยิ่งขึ้น

          ในด้านนิเทศศาสตร์มองว่าผลงานทางศิลปะส่วนใหญ่นั้นมักมีรายละเอียดของการสื่อความหมาย หรือ ความหมายเชิงสัญญะซุกซ่อนอยู่เสมอ ดังนั้นในการสร้างสรรค์กลิ่นน้ำหอมนั้น ผู้ปรุงกลิ่นมักจะวางแผนเพื่อเข้ารหัสทางความหมายในกลิ่นเช่นกัน ตั้งแต่โทนของกลิ่นที่จะนำเสนอ เช่น กลิ่นโทนสดชื่นสะท้อนความสะอาดสดใส เป็นมิตรและพลังเชิงบวก กลิ่นโทนดอกไม้สะท้อนตัวตนของความเป็นหญิง กลิ่นโทนเครื่องเทศและอำพันสะท้อนความเร่าร้อน อบอุ่นและลุ่มลึก กลิ่นโทนไม้สะท้อนความมั่นคง หรือ ความเป็นชาย เป็นต้น

แท้จริงแล้วนั้น กลิ่นของน้ำหอมเต็มไปด้วยการเข้ารหัสทางความหมายเพื่อนำเสนอประสบการณ์ในการรับรู้กลิ่นให้แก่ผู้ใช้เสมอ เรียกได้ว่า ไม่มีกลิ่นใด หรือ น้ำหอมกลิ่นใด ไม่ทำหน้าที่สื่อสารความหมาย เพราะทุกกลิ่นเมื่อผ่านการรับรู้เข้าสู่ระบบสมอง กลไกของสมองก็จะทำหน้าที่เชื่อมโยง อ้างอิง และตีความเสมอ การปรุงน้ำหอมจึงเป็นเหมือนสร้างความหมายผ่านกลิ่นให้กับมนุษย์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อกลิ่นที่ได้รับการสร้างสรรค์ถูกกระจาย ลอยฟุ้งออกไปในอากาศ จะเกิดความรู้สึก ความหมาย หรือบริบทประสบการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเสมอ เราจึงใช้กลไกเชิงความหมายของสิ่งนี้ต่อยอดสร้างมูลค่าให้กับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ได้อีกมากมาย

04 พฤศจิกายน 2567

ผู้ชม 63 ครั้ง

Engine by shopup.com