01 เมษายน 2568

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความ“พิพัฒน์“ เร่งเยียวยาเหยื่อสะพานพระราม 2 ถล่ม – ดูแลสิทธิแรงงาน บรรเทาความเสียหายพร้อมส่งอธิบดีกรมสวัสดิการฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบทันที

“พิพัฒน์“ เร่งเยียวยาเหยื่อสะพานพระราม 2 ถล่ม – ดูแลสิทธิแรงงาน บรรเทาความเสียหายพร้อมส่งอธิบดีกรมสวัสดิการฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบทันที

หมวดหมู่: แรงงาน

 

          กรุงเทพฯ, 15 มีนาคม 2568 – นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการเร่งด่วนให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เข้าดูแลสิทธิแรงงาน และ มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์สะพานก่อสร้างถล่มบริเวณพระราม 2 ซอย 17-25 ซึ่งส่งผลให้มีลูกจ้างบาดเจ็บ 30 ราย (เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 24 ราย) และเสียชีวิต 5 ราย (แรงงานไทย 3 ราย และแรงงานต่างชาติ 2 ราย)

 

 

          นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ผมเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขอแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวของผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บทุกท่าน โดยในวันนี้ เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมด้วยพนักงานตรวจความปลอดภัย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2, ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 11, สสปท., สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 และสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 ได้ลงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบความเสียหาย และเข้าพูดคุยกับนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกำชับให้นายจ้างดูแลลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม และดำเนินการตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานและมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในอนาคต

          อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานได้สั่งการให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานที่ก่อสร้างทั่วกรุงเทพฯ เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เครื่องจักรและวัสดุหนัก และได้สั่งการให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย (Safety Training) สำหรับแรงงานในภาคก่อสร้าง เพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงานไทย เนื่องจากมาตรฐานความปลอดภัยของแรงงานเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุด นายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำอีก

 

 

          เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุเบื้องต้นและหารือร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พบว่า มีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ได้แก่ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 8 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564 ซึ่งพนักงานตรวจความปลอดภัย จะมีหนังสือเชิญนายจ้างมาสอบข้อเท็จจริงในประเด็นกฎหมายข้างต้นในวันที่ 18 มีนาคม 2568 ทั้งนี้ หากพบว่านายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย นายจ้างจะมีความผิดตามมาตรา 53 กำหนดว่านายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          “กระทรวงแรงงานไม่ได้นิ่งนอนใจ เราจะช่วยเหลือลูกจ้างและนายจ้างอย่างเต็มที่ พร้อมตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานให้เข้มข้นขึ้น” อธิบดี กสร. กล่าวท้ายสุด

 

18 มีนาคม 2568

ผู้ชม 42 ครั้ง

Engine by shopup.com