26 เมษายน 2568

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.ธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “คู่มือรับมือแผ่นดินไหว : ฉบับประชาชน” รวบรวมผู้เชี่ยวชาญเตรียมรับมือภัยพิบัติล่วงหน้าของประเทศไทย

ม.ธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ “คู่มือรับมือแผ่นดินไหว : ฉบับประชาชน” รวบรวมผู้เชี่ยวชาญเตรียมรับมือภัยพิบัติล่วงหน้าของประเทศไทย

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

 

บุคคลในภาพ (จากซ้าย)

1.       ดร.ศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ ผู้ดำเนินรายการ

2.       รศ. ดร.นิธิดา แสงสิงแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวารสารศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ.

3.       ผศ. พญ.นิพัทธา วินะยานุวัติคุณ ภาควิชาสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มธ.

4.       อาจารย์ศุภณัฐ พัฒนพันธุ์พงศ์ อาจารย์ประจำสาขาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มธ.

5.       อาจารย์วัชระ อมศิริ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ.

6.       ผศ. พญ.กริชา ไม้เรียง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการพิเศษ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

7.       รศ.ประไพพิศ มุทิตาเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

กรุงเทพฯ– มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย รศ.ประไพพิศ มุทิตาเจริญ (ที่ 7 จากซ้าย) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมจัดงานเสวนาวิชาการ “คู่มือรับมือแผ่นดินไหว : ฉบับประชาชนเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนรับมือกับแผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมสร้างความตระหนักรู้ในสังคมไทย และยกระดับความสามารถของประชาชนในการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนในยามวิกฤต ผ่านการถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม- วิศวกรรมโยธา ซึ่งมีประสบการณ์ลงพื้นที่จริง แชร์วิธีการตรวจสอบรอยร้าวและความเสียหายเบื้องต้นของอาคารที่อยู่อาศัย พร้อมสาธิตเทคฯ AI ที่ช่วยในการประเมินสภาพอาคารผ่านการประมวลผลภาพถ่าย เพื่อให้ประชาชนและวิศวกรรมโยธาสามารถเข้าถึงเครื่องมือประเมินความปลอดภัยได้ง่ายขึ้นในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ยังดึงผู้เชี่ยวชาญในวงการแพทย์ จิตวิทยาและการสื่อสารที่มานำเสนอแนวทางในการปฏิบัติสำหรับประชาชนต่อสถานการณ์แผ่นดินไหวทั้งด้านความปลอดภัย สภาพจิตใจ และการรู้เท่าทันข่าวสาร โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

 

16 เมษายน 2568

ผู้ชม 47 ครั้ง

Engine by shopup.com