การนำเสนอผลงานหรือการจัดแสดงผลงานทางศิลปะไม่ว่าจะเป็นการจัดนิทรรศการภาพวาดจิตกรรม สถาปัตยกรรมต่าง ๆ บางครั้งเจ้าของผลงานจะต้องอยู่บรรยายผลงานของตนเองเพื่ออธิบายรายละเอียดของงาน หรือความหมายเพื่อสื่อให้ผู้ชมเข้าใจในผลงานในเวลาจัดแสดง ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานกับผลงานศิลปะเพื่อให้เป็นการนำเสนอผลงานในรูปแบบใหม่ที่มีความแปลกใหม่และมีความน่าสนใจมากขึ้น AR Motion Graphic คือ การผสมผสานกันระหว่างผลงานด้านกราฟิกที่ใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพ แทนข้อความเพื่อย่อและกระชับเวลาในการนำเสนอผลงานในเวลาสั้น ๆ และเพิ่มความน่าสนใจให้กับผลงาน
โดยการนำมาผสมผสานเข้ากับ AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงโดยผ่านอุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ทำให้สามารถมองเห็นได้ โดยงานที่จะทำการแสดงผลเป็นภาพสองมิติ และสามมิติที่แสดงอยู่เหนือจุดมาร์เกอร์โดยแสดงผลผ่านหน้าจอโทรศัพท์ โดยภาพเสมือนจริงที่ปากฎจะอยู่ในลักษณะเป็นภาพสองมิติ และภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบบนเรื่องราว โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงผสานโลกจริง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุดนี้ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับองค์ประกอบทางศิลปะโดยใช้ AR Motion Graphic เพื่อให้ผลงานมีความแปลกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีผสานโลกเสมือนในรูปแบบ AR Motion Graphic ดร.สรชัย ชวรางกูร รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า ในการจัดนิทรรศการหากคณะจะจัดนิทรรศการ ที่ไม่ใช่นิทรรศการที่ตั้งนิ่ง ๆ เราควรจะใช้นิทรรศการที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนดูได้ ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ น.ส.วิภาพร อาษา และ น.ส.รุ่งรัตน์ ถนอมวงษ์ นักศึกษาสาขาวิชา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยมี อาจารย์วราภรณ์ มั่นทุ่ง และอาจารย์อธิษฐ์ คู่เจริญถาวร เป็นที่ปรึกษา ในช่วงนั้นเป็นช่วงถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชการที่ 9 พอดี จึงมีแนวคิดทำอะไรเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เป็นรูปแบบของนิทรรศการ และได้ผลงานจากการพัฒนาเทคนิคการนำเสนอผลงานศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในรูปแบบ Animation 3 มิติ เรื่อง โครงการในพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 โดยนำศักยภาพของนักศึกษาที่มีความสามารถในการวาดภาพ และนำเทคโนโลยีสามมิติ เข้ามาช่วย ซึ่งผลงานชิ้นนี้จะมีความโดดเด่นตรงที่การใช้งานจริงไม่ใช่การนำไปฝังไว้บนยูทูป แต่จะต้องไปอยู่ที่น่างานนั้นจริง ๆ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นการจัดนิทรรศการรูปแบบใหม่ ที่สาขาคิดในตอนนั้น ซึ่งผลปรากฏว่าเกินความคาดหมาย เนื่องจากตอนนั้นโปรเจคนี้เป็นโปรเจคท้าย ๆ ที่นำเสนอแต่พอผลงานออกมา พอไปลองจัดนิทรรศการจริงกลับกลายเป็นว่า คนสนใจ คนเห็นว่าสิ่งที่ทำมันมีประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องน่าภูมิใจ เพราะว่างานหลาย ๆ ชิ้น เมื่อเสร็จแล้ว ทางสาขาต้องการให้มันเผยแพร่ออกไป มากกว่าเก็บไว้ในตู้โชว์ หรือเก็บไว้ที่อาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งสิ่งที่หลักสูตรพยายามมาตลอด คือ ทำแล้วต้องได้เผยแพร่ ต้องมีเวทีในการจัดแสดง
ล่าสุดองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.)ได้ขอความอนุเคราะห์ขอผลงานการพัฒนาเทคนิคการนำเสนอผลงานศิลปะโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในรูปแบบ Animation 3 มิติ เรื่อง โครงการในพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ได้รับความสนใจและความชื่นชมจากผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างมาก
เป็นอีกหนึ่งผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมหาวิทยาลัยด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีคุณภาพมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านเทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศไทย โดยมีนโยบายที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษา ให้สามารถเป็นผู้พัฒนาตนเอง พัฒนาทีมงาน และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสู่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
15 กรกฎาคม 2562
ผู้ชม 1347 ครั้ง