30 เมษายน 2568

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความปธ.กมธ.แรงงาน เปิดสัมมนาแนวทางขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทย ปรับตัวอย่างไรหลังยุคโควิด -19

ปธ.กมธ.แรงงาน เปิดสัมมนาแนวทางขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทย ปรับตัวอย่างไรหลังยุคโควิด -19

หมวดหมู่: แรงงาน

 

 

 



พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เปิดการสัมมนา “แนวทางการขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทยเพื่อก้าวผ่านยุคโควิด - 19 : การปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยเพื่อความก้าวหน้า มั่นคงและยั่งยืน” ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผนของทุกภาคส่วนทั้งในระยะกลางและระยะยาว กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมแก่ตลาดแรงงานรับมือวิกฤติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

 

 

 



เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทยเพื่อก้าวผ่านยุคโควิด - 19 : การปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุกช่วงวัยเพื่อความก้าวหน้า มั่นคงและยั่งยืน” ณ อาคารรัฐสภา เกียกกาย โดยเป็นการสัมมนาผ่านทางระบบออนไลน์เพื่อรองรับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ผู้สนใจสามารถรับชมได้ทาง ระบบ Zoom หรือคลิ๊กได้ที่ https://www.facebook.com/labourcluster/videos/259979325304540/ 

 

 

 

 

 



โอกาสเดียวกันนี้มี นายจรินทร์ จักกะพาก รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน กล่าวรายงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน ร่วมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย โดยพลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในประเทศ แรงงานไทยในต่างประเทศ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ การให้สวัสดิการ การประกันสังคม ความปลอดภัยในการทำงาน อาชีวอนามัย การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแรงงานอย่างยั่งยืน รวมทั้งประสานกับองค์กรภายในประเทศ ต่างประเทศ ประชาคมภายในประเทศและนานาชาติเกี่ยวกับงานด้านแรงงาน พิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรักการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจดังกล่าวคณะกรรมาธิการได้กำหนดบทบาทในการขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทยหลังยุคโควิด -19 ในประเด็นการปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุกช่วงวัยเพื่อความอยู่รอดและยั่งยืนว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 



สำหรับการสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ร่วมกับศูนย์ประสานงานวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางของการทำงานของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ในการขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทยหลังยุคโควิด – 19 ในประเด็นของการปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุกช่วงวัยเพื่อความอยู่รอดและยั่งยืน รวมทั้งการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ และเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลและความคิดเห็นจากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมสัมมนาต่อการปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุกช่วงวัยและการวางแผนของทุกภาคส่วนในระยะกลางและระยะยาว พร้อมทั้งร่วมกันแสวงหาแนวทางการเตรียมความพร้อมรับมือ
ต่อวิกฤติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

 

17 มิถุนายน 2563

ผู้ชม 467 ครั้ง

Engine by shopup.com