26 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมรส.เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภูมิปัญญาการปลูกข้าวหอมไชยา

มรส.เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภูมิปัญญาการปลูกข้าวหอมไชยา

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(มรส.) จัดกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภูมิปัญญาการปลูกข้าวหอมไชยา หนึ่งในโครงการบริการวิชาการ ส่งเสริมและพัฒนา การใช้ประโยชน์จากข้าวหอมไชยา นำนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ลงพื้นที่ศึกษาภูมิปัญญาการปลูกข้าวหอมไชยา ต่อยอดพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภูมิปัญญาการปลูกข้าวหอมพันธ์ไชยา สนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 

 

 

 

 



ดร. ทวัช บุญแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มรส.ผู้รับผิดชอบโครงการ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มียุทธศาสตร์การพัฒนาโดยมีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเพื่อการรับใช้ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสู่สากล ผลิตบัณฑิตมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สามารถเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น มีศักยภาพการแข่งขันด้นการวิจัยได้รับการยอมรับในต้านการส่งเสริมความรู้สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนท้องถิ่น เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในมิติของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์สำคัญเชิงพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น เงาะนาสาร หอยนางรม ไข่เค็มไชยา เป็นต้น และยังมีอื่นๆ อีกมากมาย ที่ยังไม่ได้มีการเผยแพรไห้ได้รับความรู้จัก แต่ในท้องถิ่นถือว่าเป็นของเก่แก่ และมีมานานซึ่งกำลังจะเลือนหายไปในท้องถิ่น คือ "ข้าวหอมไชยา" ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่มีในท้องถิ่น อำเภอชายมาช้านาน มีลักษณะและรูปแบบการปลูกไม่เหมือนกับข้าวชนิดอื่น ซึ่งมีจุดเด่นที่เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม ตั้งแต่เป็นรวงข้าว และเมื่อนำไปหุงประกอบอาหารจะมีกลิ่นหอมมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 



คณะครุศาสตร์ มีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู และส่งเสริมบัณฑิตให้มีความรักและสำนึก ในอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และสืบสานศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้ รวมไปถึงมีพันธกิจร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมพัฒนาการศึกษาทั้งในเชิงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา และสร้างองค์ความรู้ร่วมกันในด้านต่างๆ จึงเล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น "การปลูกข้าวหอมไซยา" ในพื้นที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าของท้องถิ่น ควรคู่แก่การอนุรักษ์เอาไว้ให้ลูกหลานในอนาคตในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำเอาองค์ความรู้นี้ไปบูรณาการประกอบการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม ดร. ทวัช กล่าว

 

 

 

 

 

 

29 กรกฎาคม 2563

ผู้ชม 495 ครั้ง

Engine by shopup.com