ศูนย์วิจัย RDI มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดขั้นตอนเที่ยวบินพิเศษการบินไทย เที่ยวบิน TG 476 และ TG 492 ในเส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ – ซิดนีย์ และ กรุงเทพฯ – โอ๊คแลนด์ เผยขั้นตอนการรับมือรวมถึงมาตรการของเที่ยวบินพิเศษของสายการบินไทย ช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อรับผู้โดยสารชาวไทยที่ตกค้างในประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมทั้งส่งชาวต่างประเทศที่ตกค้างในประเทศไทยจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสในวันที่ 26 และ 27 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา
โดยอาจารย์ขนิษฐา เขียวพวงงาม วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และคณะ ได้ศึกษาเที่ยวบินพิเศษของการบินไทยสำหรับผู้มีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งผลสำรวจพบว่ามีมาตรการที่ตรวจเข้ม 3 ระดับ ได้แก่ ตรวจเข้มก่อนขึ้นเครื่อง มาตรการบนเครื่องบิน และ มาตรการหลังจากเครื่องบิน Landing
มาตรการตรวจเข้มก่อนขึ้นเครื่อง
- มีการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าสนามบิน
- Check in ตรวจ ID พร้อมเอกสารรับรองสุขภาพ รับบัตรโดยสาร
- มีการรักษาระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
มาตรการบนเครื่องบิน ได้แบ่งเป็น ข้อปฏิบัติของผู้โดยสาร และ ข้อปฏิบัติพนักงาน
ข้อปฏิบัติของผู้โดยสาร
- วัดอุณหภูมิบนเครื่องบินระหว่างเดินทาง
- รักษาระยะห่างไม่น้อยกว่า1 เมตร
- การบริการอาหารแบบเสิร์ฟครั้งเดียวครบ
- ลดการสัมผัสโดยใช้ถาดส่งอาหาร
ข้อปฏิบัติของพนักงาน ได้มีการแบ่งโซนบนเครื่องบิน มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ รวมถึงสังเกตอาการผู้โดยสารระหว่างเที่ยวบิน
- แบ่งโซนบนเครื่องบิน
- โซนพนักงานต้อนรับต้องสวมชุด PPE เท่านั้น
- จัดโซนเปลี่ยนชุดพนักงานและห้องน้ำแยกให้เป็นสัดส่วน
- เว้น 3 แถวหลังสุดท้านยเป็นพื้นที่แยกผู้ป่วยหรือ ผู้สงสัยว่าจะป่วย
- แยกโซนห้องน้ำของผู้โดยสาร ผู้ป่วย / ผู้ที่สงสัยว่าป่วย และพนักงานต้อนรับ (ซึ่งต้องแบ่งโซนชัดเจนงดการเคลื่อนย้ายระหว่างโซน)
- มีอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อที่จัดสรรให้ระหว่างเดินทาง ได้แก่ ถุงมืออนามัย กระดาษทิชชู่ หน้ากากอนามัย Face shield
- คอยสังเกตอาการผู้โดยสารระหว่างเที่ยวบิน
มาตรการหลังจากเครื่องบิน Landing
- มีการประกาศย้ำเตือนให้ผู้โดยสารนั่งประจำที่ห้ามเคลื่อนย้าย
- เว้นระยะห่างระหว่างเตรียมตัวลงเครื่อง
- ผู้โดยสารขาเข้าทุกคนต้องผ่านศูนย์คัดกรองเพื่อตรวจหาเชื้อ COVID-19
- ผู้โดยสารทุกคนต้องกักตัว 14 วัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Research Development and Innovation (RDI) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผลงานวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563
ดูบทความและงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://www.dpu.ac.th/research/9
ทั้งผู้โดยสารและลูกเรือต่างให้การตอบรับกับมาตรการในการให้บริการและการโดยสารเครื่องบินเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลตลอดการเดินทางทั้งในระหว่างรอเช็คอิน บอร์ดดิ้ง และโดยสารบนเครื่อง การเว้นระยะห่างและแบ่งโซนที่นั่ง การใช้ห้องน้ำ การให้บริการอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างโดยสาร การตรวจวัดอุณหภูมิระหว่างเดินทาง ความพึงพอใจในการใช้จ่ายให้สิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่อง รวมถึงขั้นตอนการลำเลียงผู้โดยสารและลูกเรือออกจากเครื่องเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
ซึ่งขั้นตอนดังกล่าว ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อสายการบินเพิ่มมากขึ้นหลังการเดินทางอยู่ที่ 8.10 / 10 คะแนน ซึ่งถือเป็นคะแนนที่น่าพึงพอใจสำหรับการให้บริการด้านการบิน และอาจนำมาเป็นมาตรฐานและปรับใช้หลังจากเปิดน่านฟ้าให้ทำการบินตามปกติ ในช่วงที่ COVID-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้โดยสารยังให้การตอบรับกับการใช้จ่ายให้สิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องบินเป็นอย่างดี โดยยินยอมจ่ายในราคาที่แตกต่างกันตามลำดับของการให้ความสำคัญดังภาพ
09 พฤศจิกายน 2563
ผู้ชม 924 ครั้ง