วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพิ่มการผลิตบัณฑิตทางด้าน Healthcare System Engineering พร้อมเข้าสู่เฟสวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการสมบูรณ์แบบ รับปี 2564
รองศาสตราจารย์ นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของประเทศและของสังคมโลกในปัจจุบันพบว่า ทิศทางของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจะมุ่งเน้นทางด้านนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ ในด้านของตลาดแรงงานทางด้านการแพทย์นั้น ในอนาคตก็จะไปในทิศทางที่ต้องการบัณฑิตที่มีองค์ความรู้และทักษะขั้นสูงมากขึ้น ต้องมีองค์ความรู้ที่ครบมีทั้งในด้านเนื้อหา (Content) เทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะและองค์ความรู้ทางด้านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำระบบการจัดการข้อมูลในสถานบริการทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพเช่นระบบ Hospital Information Systems ในลักษณะต่างๆ ทักษะและองค์ความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับในด้านของลักษณะงานที่เป็นที่ต้องการเป็นอย่างสูงมากขึ้นของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคตคือ นักวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาให้ตอบโจทย์ (Solution) ตามความต้องการของสถานประกอบการ โดยที่เงินเดือนหรือรายได้ก็ย่อมสูงตามความต้องการไปด้วยในตัวมันเอง
จากทิศทางของอุปสงค์ (Demand) ดังกล่าว ประกอบกับทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีทิศทางการพัฒนาคนเพื่อผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ในทิศทางดังกล่าวอยู่แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น ในปีการศึกษา2564 ทางวิทยาลัยฯ จึงได้มีการเน้นการผลิตบัณฑิตเพื่อให้จบออกไปเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ที่สามารถใช้องค์ความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบให้ตรงกับความต้องการขององค์กรที่เรียกว่า Healthcare Systems Biomedical Engineer โดยเน้นใน 3 แขนงย่อยดังนี้
ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสการทำงานของบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของทั้งนายจ้างในศตวรรษที่ 21 และการเป็นเจ้าของกิจการด้วยตนเอง โดยที่แนวทางการทำงานสำหรับแขนง Healthcare Systems Engineering นั้นมีหลากหลายเส้นทาง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลสุขภาพ (Health Data Specialist) นักวิเคราะห์วิจัยปฏิบัติการ (Operations Research Analyst) นักวิเคราะห์ธุรกิจการดูแลรักษาสุขภาพ (Healthcare Business Analyst) ผู้ช่วยด้านการพัฒนาองค์กรและนวัตกรรม (Corporate Development & Innovation Associate) ที่ปรึกษาทางวิศวกรรมคลินิก (Clinical Engineering Consulting) การจัดการวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Management ) เป็นต้น
“นอกจากนี้ เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องมือแพทย์ทั้งในส่วนของ Hard Ware และ Soft Ware ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทางวิทยาลัยยังได้มองเห็นว่าการที่รับเอาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาโดยไม่มีการวิจัยและพัฒนาขึ้นมาใช้เอง จะทำให้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนและก้าวทันกับต่างประเทศได้ รวมทั้งไม่สามารถหลุดพ้นสภาพที่เป็นกับดักรายได้ปานกลางของประเทศไทยได้ ทางวิทยาลัยฯ จึงได้มุ่งมั่นในการที่จะเป็นวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการ ตามวิสัยทัศน์ของท่านดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในเรื่องของการมุ่งเป็น Innovative และ Entrepreneurship University” คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวปิดท้าย
#BME #ม.รังสิต #ผลิตบัณฑิต #HealthcareSystemEngineering #ปี64
06 มกราคม 2564
ผู้ชม 777 ครั้ง