25 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมทร.ล้านนา จัดประชุมวิชาวิจัย CRCI 2021 ผ่านแอป Microsoft Teams

มทร.ล้านนา จัดประชุมวิชาวิจัย CRCI 2021 ผ่านแอป Microsoft Teams

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับภาคีเครือข่าย 10 หน่วยงาน จัดการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7 CRCI 2021 หัวข้อ “...สู่วิจัยรับใช้สังคม สืบสานล้านนา สร้างมูลค่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” และ การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2564  ออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Microsoft Teams

 

 

 

 

 



โดยได้รับเกียรติจาก นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ประธานกรรมการคณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บรรยายพิเศษ หัวข้อ “อนาคตมหาวิทยาลัยไทยกับการรับใช้สังคมและพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน..”และดร. สมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษ หัวข้อ การพัฒนาบัณฑิตเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แผนยุทธศาสตร์์ภายใต้ไทย แลนด์ 4.0 และการเสวนา บทบาทมหาวิทยาลัยกับการวิจัยและนวัตกรรม รับใช้สังคมและพัฒนาประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ การระบาดของโควิด 19

 

 

 

สำหรับการประชุมดังกล่าว ได้รับความร่วมกับสถาบันภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 10 หน่วยงานได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก และสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย โดยมีผลรางวัล ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

รางวัลการนำเสนอผลงาน “รางวัลดีเด่น” Best Oral Present Award

Session 1 ENG งานวิจัยสาขาวิศวกรรม พลังงานและเทคโนโลยี   

โดย จิรศักดิ์  ปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

“การพัฒนากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบลำไย กรณีกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านสันกอเก็ต”

 

Session 2 SCI งานวิจัยสาขาวิศวกรรม พลังงานและเทคโนโลยี

ทัตพร  คุณประดิษฐ์ มหาวทิยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

“ความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศวิทยา และข้อมูลพันธุกรรม ของสาหร่ายขนาดใหญ่ที่กินได้ ในจังหวัดเชียงใหม่”

 

Session 3 (AGRI) งานวิจัยสาขาเทคโนโลยีเกษตร และอาหาร

นริศรา วิชิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม

“การเอนแคปซูเลชันสารสกัดจากมะเกี๋ยง โดยการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง”

 

Session 4 (BA) งานวิจัยสาขาบริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์

พงศ์ศิริ  คำขันแก้ว มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

“อิทธิพลที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานทัศนคติ ที่มีต่อการใช้งานโมบายแบงก์กิ้งแอพพลิเคชั่น ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”

 

Session 5 (ART) งานวิจัยสาขาศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมศาสตร์

ชัยวัฒน์ สุวรรณอ่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

“การใช้ภาพในใจ และกระบวนการออกแบบเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสรรค์กราฟิกอัตลักษณ์ชุมชน กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ”

 

Session 6 (SE) งานวิจัยรับใช้สังคม, งานวิจัยนวัตกรรมชุมชน

โสภิตา สุวุฒโฑ มหาวิทยาลัยมหิดล

“การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้านการผลิตสื่อวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อชุมชนและสังคม”

 

Session 7 (R2R) งานประจำสู่งานวิจัย

ออมทรัพย์ อินกองงาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

“ปัจจัยพัฒนาด้านเทคโนโลยีสนเทศ และการสื่อสารสำหรับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่บรรจุใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา”

 

 

 

 

 

 

รางวัลผลงานสร้างสรรค์

ประเภทผลงานสร้างสรรค์ (Creative Work) อันดับ 1

พบสันต์ ติไชย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มหัศจรรย์ฝ้ายสามสี ของดีบ้านก้อ

 

ประเภทผลงานสร้างสรรค์ (Creative Work) อันดับ 2

พัชราภา ศักดิ์โสภิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

บอร์ดเกมการเรียนรู้ “การอ่านภาษาไทย”

 

รางวัลสิ่งประดิษฐ์

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ (Invention) อันดับ 1

ศิรินันท์ กุลชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ไฮโดรเจลอัจฉริยะซ่อมแซมตัวเอง ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และสมานแผล

 

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ (Invention) อันดับ 2

คณโฑ ปานทองคำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

“นาฬิกาจับเวลา สำหรับทดสอบรีเลย์ป้องกัน”

 

 

 

18 พฤษภาคม 2564

ผู้ชม 680 ครั้ง

Engine by shopup.com