29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความนักวิชาการแรงงาน ชี้ รัฐใช้เงินประกันสังคมเยียวยาตรงตามวัตถุประสงค์กองทุน

นักวิชาการแรงงาน ชี้ รัฐใช้เงินประกันสังคมเยียวยาตรงตามวัตถุประสงค์กองทุน

หมวดหมู่: แรงงาน

 

 

 

 

 

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน เปิดเผยถึงกรณีที่เพจเฟซบุ๊คของพรรคก้าวไกลเผยแพร่คลิปการอภิปรายของนายพิธา ลิ้มเจริญกุล หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในการประชุมสภาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยกล่าวพาดพิงถึงกระทรวงแรงงานว่า ต้องเปลี่ยน รมว.แรงงาน ได้แล้ว จากสาเหตุที่ใช้เงินประกันสังคมผิดวัตถุประสงค์ในการเยียวยา ในเรื่องนี้ ผมในฐานะประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน มองการทำงานของกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ภายใต้ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ท่านสุชาติ ชมกลิ่น เป็นทิศทางการใช้เงินกองทุนที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเงินเยียวยาในช่วงเหตุสุดวิสัยโควิด-19 เพราะถ้าคนไม่อยู่ในแวดวงของประกันสังคม ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนต่างคนก็ต่างพูดกันไปคนละทิศคนละทางทำให้ผู้ประกันตนเกิดความสับสนได้ คำว่า กองทุนว่างงานจากเหตุสุดวิสัย เราเพิ่งมีการแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม ปี 2558 ฉบับที่ 4 เดิมทีถ้ามีเหตุการณ์ เหตุสุดวิสัย ไฟไหม้ น้ำท่วม ส่วนมากเราจะลดเงินสมทบทั่วประเทศ พอเราปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคมให้ทันยุคทันสมัย ก็เลยมีการเพิ่มเติมแก้ไขกฎหมาย ฉบับปัจจุบัน จากฉบับที่ 4 ปี 2558 เพิ่มมาตรา 79/1 กรณีเหตุสุดวิสัย
เหตุป้องกันไม่ได้ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มีค่าตอบแทนกรณีว่างงาน เป็นเงินช่วยเหลือกรณีว่างงาน กฎกระทรวงให้อยู่ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง

นายมนัส กล่าวต่อว่า ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์ 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต โดยเฉพาะกรณีว่างงานจะแบ่งเป็น 3 กรณี คือ กรณีแรกลาออกจากงานลูกจ้างจะได้รับ 45 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน กรณีที่สองถูกเลิกจ้างไม่มีความผิด จะได้รับ 70 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเป็นเวลา 200 วัน และกรณีที่สามว่างงานจากเหตุสุดวิสัย จะได้รับ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเป็นเวลา 90 วัน

ดังนั้น การที่ ส.ส.หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านกล่าวหาว่ารัฐบาลใช้เงินประกันสังคมเยียวยาผิดวัตถุประสงค์นั้น เป็นการสร้างความสับสนให้กับประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ซึ่งเงินที่นำมาเยียวยาเป็นคนละส่วนกันกับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่าย เพราะกองทุนจะแบ่งเงินแต่ละก้อนชัดเจน ส่วนเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ตามโครงการ ม 33 เรารักกัน ทั้ง 2 ครั้งนั้น เป็นเงินจากรัฐบาลไม่ได้นำเงินจากกองทุนประกันสังคมมาจ่าย และมีผู้ประกันตนได้รับประโยชน์กว่า 9 ล้านคน

 

 

 

13 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 415 ครั้ง

Engine by shopup.com