วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เป็นประธานเปิดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอ (ร่าง)รายงานฉบับสมบูรณ์ ชุดโครงการวิจัย “การวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มรายได้ผู้ประกอบการ OTOP ด้านหัตกรรมสิ่งทอ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ในนามของหัวหน้าชุดโครงการวิจัยและนักวิจัยภายใต้ชุดโครงการวิจัย เป็นผู้กล่าวรายงาน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านสื่ออิเลกทรอนิกส์ Microsoft Teamและได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเบจมาศ ตีระมาศวณิช นักวิชาการอิสระ ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และผศ.ดร. วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อแนะนำในการดำเนินงานกิจกรรม
การวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มรายได้ผู้ประกอบการ OTOP ด้านหัตกรรมสิ่งทอ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ "เป็นโครงการที่โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้รับการสนับสนุนและดำเนินงานโครงการวิจัย “การวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มรายได้ผู้ประกอบการ OTOP ด้านหัตกรรมสิ่งทอ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ” จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า และยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นล้านนาอย่างเป็นรูปธรรม สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นล้านนา สู่ตลาดการแข่งขัน และพัฒนาระบบและกลไกการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในการพัฒนางานวิจัยพาณิชย์เชิงพื้นที่ที่มีผลกระทบสูง มีโครงการย่อยจำนวน 12 โครงการ ดำเนินงานกับกลุ่มผู้ประกอบการด้านผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่น จำนวน 23 กลุ่ม ครอบคลุม 8 จังหวัด มีนักวิจัยจำนวน 20 คน ครอบคลุม 4 คณะ 1 วิทยาลัย และ 1 สถาบัน มีกรอบระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2564 รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 15 เดือน โดยโครงการวิจัยย่อยและโครงการวิจัยกลาง ได้ดำเนินงานเสร็จสิ้นตามกำหนดการ
ดร.สุรพล ประธานในที่ประชุม กล่าวว่า “ขอแสดงความชื่นชมกับการเอาใจใส่ในการพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบและกลไกการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในการพัฒนางานวิจัยพาณิชย์เชิงพื้นที่ที่มีผลกระทบสูง และการยกระดับเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการด้านผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นโดยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า และยกระดับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นล้านนา สู่ตลาดการแข่งขัน ผ่านกระบวนการงานวิจัยและพัฒนา กิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการพัฒนากระบวนการวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยการเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอ (ร่าง)รายงานฉบับสมบูรณ์ต่อผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อจักได้รับฟังข้อเสนอต่อการจัดทำรายงาน รวมถึงการพัฒนาประเด็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคตด้วย”
18 สิงหาคม 2564
ผู้ชม 561 ครั้ง