วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับฝีมือหลักสูตร เทคโนโลยีงานเชื่อมสมัยใหม่ (Modern Welding Technology) ให้แก่เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เจ้าหน้าที่ภาคการศึกษาและภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านงานเชื่อม จำนวน 40 คน เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีการเชื่อมสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับงานเทคโนโลยีงานเชื่อมในปัจจุบัน ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานอ่างทอง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทองโดยมี นางจันทิรา สุนทสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานอ่างทองให้การต้อนรับ
นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า จากปัญหาการขาดแคลนช่างเชื่อมในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีด้านงานเชื่อม กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงเร่งดำเนินการพัฒนาบุคลากรทางด้านงานเชื่อมให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันจะมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องในการเชื่อม ได้มีพัฒนาขึ้นจากการเชื่อมเดิมที่เป็นแค่งานของอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น กลายมาเป็นโซลูชั่นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาการเชื่อมในงานอุตสาหกรรมนั้นถูกลงอย่างมาก ซึ่งหมายความว่า มีบริษัทหลายแห่งเริ่มนำเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการผลิตชิ้นงานต่างๆทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงแนวโน้มโดยทั่วไปของเทคโนโลยีที่เริ่มมีราคาถูกลงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การพัฒนาดังกล่าวก้าวหน้ายิ่งขึ้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรงานช่างเชื่อม และส่งเสริมเครือข่ายในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในด้านการฝึกอบรม การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน รวมถึงงานประเมินความรู้ความสามารถในงานช่างเชื่อม ซึ่งถือเป็นการพัฒนา "แรงงานเศรษฐกิจคุณภาพ" เพื่อรองรับการจ้างงานภายในประเทศ ต่อไป
นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า จากปัญหาทางด้านการขาดแคลนช่างเชื่อมในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีด้านงานเชื่อม ทำให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเร่งดำเนินการพัฒนาบุคลากรทางด้านงานเชื่อมให้เพิ่ม มากขึ้นปัจจุบันในการเชื่อมจะมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้มีพัฒนาขึ้นจากการเชื่อมเดิมที่เป็นแค่งานของอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น กลายมาป็นโซลูชั่นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในภาคอุตสาหกรรมหลากหลายส่วน โดยเฉพาะในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาการเชื่อมในงานอุตสาหกรรมนั้นถูกลงอย่างมาก ซึ่งหมายความว่ามีบริษัทหลายแห่งเริ่มนำเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาความคุมการผลิตชิ้นงานต่างๆ ให้มีปริมาณผลผลิตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มโดยทั่วไปของเทคโนโลยีที่เริ่มมีราคาถูกลงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การพัฒนาดังกล่าวก้าวหน้ายิ่งขึ้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร
งานช่างเชื่อม และส่งเสริมเครือข่ายในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในด้านการฝึกอบรมการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตลอดทั้งงานประเมินความรู้ความสามารถในงานช่างเชื่อม ซึ่งถือเป็นการพัฒนา "แรงงานเศรษฐกิจคุณภาพ" เพื่อรองรับการจ้างงานภายในประเทศ ต่อไป
16 พฤศจิกายน 2564
ผู้ชม 417 ครั้ง