01 กุมภาพันธ์ 2568

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมทร.ล้านนา พร้อมเดินหน้าสนับสนุน BCG Model ลำปาง หนุน การพัฒนา อุตสาหกรรมจากไผ่และครั่ง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง

มทร.ล้านนา พร้อมเดินหน้าสนับสนุน BCG Model ลำปาง หนุน การพัฒนา อุตสาหกรรมจากไผ่และครั่ง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง

 

 

 

 

วันที่ 30 เมษายน 2565  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการประชุมหารือและศึกษาดูงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมจากไผ่และครั่งของจังหวัดลำปาง และลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ บริษัท นอร์ทเทอร์น สยามซีดแลค จำกัด โดยมีคณะกรรมการ การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG และศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายชูศักดิ์  ชื่นประโยชน์ คณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายกสมาคมครั่งไทย  อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเข้าร่วมการประชุมและศึกษาดูงาน เพื่อขับเคลื่อนพืชเศรษฐกิจ (ครั่ง ไม้ไผ่) เพื่อเป็นส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์พื้นที่ลำปาง ด้วยฐานการวิจัยจากภาคการศึกษา

 

 

 

 

 

 


ในการประชุมหารือครั้งนี้ เป็นหารือถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัดลำปาง ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG Model ด้านการเกษตรของจังหวัดลำปาง ซึ่งในส่วนของมทร.ล้านนา จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการใน 3 ระยะดังนี้

  1. ระยะต้นน้ำ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ในการสำรวจพื้นที่ปลูกรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีปัจจุบัน โดยจะรับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วม มหาวิทยาลัยในพื้นที่ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มทร.ล้านนา
  2. ระยะกลางน้ำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โรงงานแปรรูปไม้ไผ่ และเครื่องจักรในการผลิต โดย มทร. ล้านนา ลำปาง ร่วม มรภ. ลำปาง ร่วมกันดำเนินการและขอทุนสนับสนุนจากโครงการ Talent mobility ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต พัฒนาเครื่องทำตะเกียบ
  3. ระยะปลายน้ำ ดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อ creative lanna และ local economy ซึ่งรับผิดชอบโดยคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา มรภ. ลำปาง และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยขอรับทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

06 พฤษภาคม 2565

ผู้ชม 450 ครั้ง

Engine by shopup.com