27 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความสกศ.คิ๊กออฟ ขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษต่อยอดสู่การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของประเทศ

สกศ.คิ๊กออฟ ขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษต่อยอดสู่การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของประเทศ

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ข้อเสนอแนะและพิจารณาสภาวการณ์การจัดการศึกษา สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ โดยมี ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา (นางอำภา พรหมวาทย์) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา (ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์) ผู้ทรงคุณวุฒิชั้นนำของประเทศ อาทิ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร) ที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (ดร.ธงชัย ชิวปรีชา)  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (ดร.รุ่งเรือง สุขาภิรมย์) คณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา (ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน) และอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (จ่าอากาศเอก เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓ กลุ่ม อาทิ ๑) หน่วยงานระดับนโยบายด้านการศึกษา และด้านสุขภาวะสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ๒) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษในด้านวิชาการ ด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา และ ๓) หน่วยงานภาคเอกชนและภาคประชาสัมคมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร สกศ. ควบคู่กับการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook Fanpage ภายใต้ชื่อ "OEC News สภาการศึกษา" และ

"สภาวะการศึกษาไทย สกศ."

 

 

 

ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นหนึ่งในองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลักด้านการจัดทำนโยบายและแผนการศึกษาของประเทศ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์และผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมในการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาการของโลกและความจำเป็นของประเทศ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ที่รองรับการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ตลอดช่วงวัย โดยหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญของโครงการ ได้แก่ การจัดทำรายงานสภาวการณ์ทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ อันครอบคลุม ๔ กลุ่ม ดังนี้

 

๑) กลุ่มผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ได้แก่ ผู้มีสติปัญญาสูง (Gifted) และผู้มีความสามารถพิเศษ (Talented) ๒) กลุ่มผู้พิการหรือด้อยโอกาส ๓) กลุ่มผู้ที่มีความเปราะบาง เช่น เด็กที่มีปัญหาครอบครัว เด็กทะเลาะวิวาท เด็กติดยา ท้องก่อนวัยอันควร กลุ่มว่างงานและนอกระบบการศึกษา (Not in Education, Employment or Training: NEETs)และ ๔) กลุ่มผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการแข่งขัน เช่น พื้นที่การค้าชายแดน พื้นที่เกาะแก่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับการประชุมครั้งนี้ จะเน้นกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ ซึ่งมีความจำเป็นในการจัดการศึกษาให้เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพได้อย่างเต็มที่ ในการดำเนินการจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาความร่วมมือและเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกภาคส่วนทั้งในระดับนโยบายและการนำไปสู่ปฏิบัติ เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายทางการศึกษาของประเทศต่อไป

 

 

 

นางอำภา พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นเกี่ยวกับผู้มีความสามารถพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรายงานสภาวการณ์ทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อที่ประชุมโต๊ะกลมไทย-รัสเซีย ในระหว่างวันที่ ๔- ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและการวิจัยระหว่างประเทศไทยและประเทศรัสเซีย ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสำนักประเมินผลการจัดการศึกษาได้ดำเนินการในการยกร่างและปรับปรุงรายงานดังกล่าวร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ต้องเชื่อว่าเด็กที่เกิดมาอาจจะเก่งหลายด้าน ดังนั้นพ่อแม่ และครู จะต้องเป็นแมวมอง และกระตุ้นเด็ก โดยมีเวทีให้เด็กได้แสดงออก 

 

 

ดร.รุ่งเรือง สุขาภิรมย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ กล่าวว่า การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษต้องยึด ๓ ระบบ คือ ระบบการเสาะหา ระบบการพัฒนา และระบบการใช้ความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ อาทิ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีความรู้โดยสร้างแบบวัดแวว ทำให้ทราบว่าลูกมีความสามารถด้านใด เพื่อที่จะส่งเสริมได้เต็มศักยภาพ ควรมีหน่วยงานในระดับชาติที่เป็นองค์กรกลางในการรับผิดชอบและวางแผนการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ภาครัฐและเอกชนควรส่งเสริมและสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษ 

 

ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน คณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา และจ่าอากาศเอก เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อเสนอแนะและมุมมองที่เป็นประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา อาทิ  ต้องมีหน่วยงานในระดับนโยบายที่จะเข้ามาดูแลการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ รัฐบาลต้องกลับไปทบทวนว่าหน่วยงานใดที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษา ควรจัดการศึกษาอย่างไร หลักสูตรที่ใช้เป็นอย่างไร ซึ่งเป้าหมายในการจัดการศึกษาด้านกีฬาต้องเน้นวิชาชีพมาก่อนวิชาการ เน้น Play and Learn คือฝึก ๗๐% และเรียน ๓๐%  นอกจากนี้ควรมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้การสนับสนุนในด้านการให้ทุนการศึกษา เป็นต้น .

 

สำหรับการประชุมครั้งนี้มีการนำเสนอผลการดำเนินการการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษในแง่มุมที่หลากหลาย โดยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา ๖ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

 

 

ทั้งนี้ สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จะรวบรวมข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประชุมในครั้งนี้ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการจัดการศึกษา สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป

05 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 363 ครั้ง

Engine by shopup.com