21 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความนักวิจัย มมส ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรผง ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพิ่มศักยภาพชุมชน

นักวิจัย มมส ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรผง ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพิ่มศักยภาพชุมชน

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 



ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยต่อยอดสมุนไพรไทย จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากพืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถใช้รักษาโรค และบรรเทาความเจ็บป่วยในบางอาการ เรียกได้ว่าเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ควรค่าต่อต่อสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

 

 



คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ภายใต้การส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพรไทย จึงได้สนับสนุนงบประมาณการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ให้กับคณะทำงานทีมวิจัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎาพร เสนาคุณ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ อัปมระกา จากสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช ,รองศาสตราจารย์ ดร.จักรมาส เลาหวณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ นวลแก้ว คณะเภสัชศาสตร์ ในโครงการการพัฒนากระบวนการผลิตสมุนไพรผงให้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูง เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรแปลงใหญ่ชาวนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

 

 

 

 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎาพร เสนาคุณ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการมีแผนการดำเนินงาน 3 ปี โดยในปีแรก ปี 2567 เป็นการพัฒนาศักยภาพการเพาะปลูกสมุนไพร และการแปรรูปเบื้องต้น โดยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่กลุ่มฯ เกี่ยวกับการคัดเลือกสายพันธุ์พืชสมุนไพร ขั้นตอนการปลูก การดูแล การจัดการผลผลิต การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว ให้ได้มาตรฐาน GAP สำหรับพืชสมุนไพร จากนั้นได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรผงบดละเอียดจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สมุนไพรผงเพชรสังฆาต และว่านนางคำ และถ่ายทอดกรรมวิธีการผลิตให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรแปลงใหญ่ชาวนาข่า คือ การผลิตสมุนไพรผง ส่วนปีที่ 2 ปี 2568 จะเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จากการต่อยอดผลิตภัณฑ์แปรรูปเดิม และในปีที่ 3 ปี 2569 จะเน้นพัฒนาด้านการตลาด วางแผนธุรกิจสำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

 

 

 



และในวันนี้ คณะทำงานได้พัฒนาอุปกรณ์บดละเอียดสมุนไพร และได้มอบให้กับกลุ่มจำนวน 1 เครื่อง เพื่อรองรับกระบวนการผลิตสินค้าให้กลุ่มให้มีคุณภาพรองรับมาตรฐาน GMP โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จักรมาส เลาหวณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้พัฒนา กล่าวว่า ก่อนนี้กลุ่มชุมชนฯ ประสบปัญหาเรื่องการผลิตวัตถุดิบที่ต้องส่งให้กับผู้ผลิตยาสมุนไพร บริษัทขนาดใหญ่ เพื่อเข้าตำรับยาต่าง ๆ เนื่องจากในการบดย่อยลดขนาด มีหลายขั้นตอน ต้องใช้แรงงานและอุปกรณ์จำนวนมาก ซึ่งสมุนไพรแห้ง 1 กิโลกรัม จะใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมงในการบดด้วยวิธีการเดิม ส่งผลให้ผลิตไม่ทันและไม่เพียงพอต่อความต้องการรับซื้อของผู้ประกอบการ และบริษัทผลิตยาสมุนไพร ทีมวิจัยจึงได้จัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อใช้สำหรับการย่อยบดลดขนาดวัตถุดิบสมุนไพร ได้แก่ เครื่องบดสมุนไพร (Universal Crusher) สามารถบดสมุนไพรให้ได้ความละเอียดในระดับ 20-100 mesh ตามความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

 

 


สำหรับขั้นตอนการใช้งานเครื่องบด ทีมวิจัยได้แนะนำพร้อมสาธิตให้กับสมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้ โดยเริ่มจากขั้นตอนการนวัตถุดิบสมุนไพรมาทำการล้างทำความสะอาด แล้วสับย่อยให้มีขนาดเล็ก จากนั้นนำไปลดความชื้นด้วยเครื่องอบแห้ง ซึ่งสมุนไพรควรแห้งสนิทหรือมีความชื้นต่ำ เพราะหากมีความชื้นสูงอาจทำให้เกิดการจับตัวเป็นก้อนขณะบด ทำให้เครื่องบดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือส่งผลให้เครื่องเสียหายได้

 

 

 

 

 

 



ผลลัพธ์ที่ได้พบว่า สามารถบดสมุนไพรแห้ง 1 กิโลกรัม ใช้เวลาบดละเอียดเพียง 5 นาที เปรียบเทียบกับวิธีการเดิม ที่ต้องใช้เวลานานในการบดด้วยเครื่องขนาดเล็กที่ใช้ในครัวเรือน ก่อนนำไปร่อนด้วยตะแกรงเพื่อให้ได้ขนาดผงสมุนไพรตามที่ตลาดต้องการ ทั้งนี้ได้ออกแบบให้ใช้งานเครื่องได้ง่าย สามารถปรับความละเอียดได้โดยการเปลี่ยนขนาดของตะแกรงร่อนให้ละเอียดขึ้น รวมถึงการออกแบบให้สามารถถอดประกอบเพื่อทำความสะอาดง่าย โดยเครื่องบดสร้างด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) ทนทานและป้องกันการปนเปื้อนของสมุนไพร สามารถใช้ได้กับไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับให้งานในพื้นที่เกษตรกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 


สำหรับการพัฒนาต่อยอด หลังจากการบดละเอียดสมุนไพรที่ได้คุณภาพมาตรฐานแล้ว ทีมวิจัยได้สนับสนุนชุดความรู้ แนะนำด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ควบคู่กับแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม การระบุรายละเอียดและโลโก้ บอกสรรพคุณเรื่องราวผลิตภัณฑ์ อบรมการตลาดเบื้องต้น ช่วยจัดทำแผนการตลาดเชิงรุก ช่องทางประชาสัมพันธ์ กลุ่มลูกค้า และการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการพึ่งตนเอง ช่วยเหลือกันภายในกลุ่มได้อย่างมีศักยภาพ เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

 

 

 

07 กันยายน 2567

ผู้ชม 61 ครั้ง

Engine by shopup.com