01 กรกฎาคม 2568

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความประกันสังคมคุ้มครองทันตกรรมรักษาโรคในช่องปาก เข้าโรงพยาบาลตามสิทธิไม่เสียค่าใช้จ่าย

ประกันสังคมคุ้มครองทันตกรรมรักษาโรคในช่องปาก เข้าโรงพยาบาลตามสิทธิไม่เสียค่าใช้จ่าย

หมวดหมู่: แรงงาน

 

 

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึง สิทธิประโยชน์การรับบริการทางการแพทย์กรณีโรคในช่องปากและการรับบริการทันตกรรมแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ว่า ไม่ได้จำกัดเพียง การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด ภายในวงเงิน 900 บาทเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการทำฟันปลอมอีกด้วย รวมถึงการรักษาทางทันตกรรม กรณีโรคในช่องปากหรืออุบัติเหตุในช่องปากสามารถรักษาได้ในสถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม ดังนี้
     1. การรักษาถุงน้ำและเนื้องอกของกระดูกขากรรไกร
     2. การติดเชื้อบริเวณช่องปากและใบหน้า (Orofacial Infection) จำเป็นต้องผ่าตัดระบายหนอง จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
     3. การรักษาการแตกหักของฟัน กระดูกขากรรไกรและใบหน้าจากอุบัติเหตุ
          - กรณีฟันยังไม่หัก มีการโยกต้องทำการดามฟันและรักษารากฟัน
          - กรณีฟันหัก ให้ทำการรักษารากฟัน ใส่เดือยฟัน และใส่ฟันเทียมแบบติดแน่น หรือทำการถอนฟันและใส่ฟันเทียมแบบถอดได้
          - กรณีอุบัติเหตุฟันหักจำนวนหลายซี่จำเป็นต้องใส่ฟันเทียม เพื่อมิให้ฟันที่ยังอยู่ล้มทั้งแถว หรือเพื่อใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร
          - กรณีกระดูกขากรรไกรและใบหน้าแตกหัก ให้การรักษาโดยการใส่เฝือกฟัน หรือการผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่และยึดด้วยลวดหรือแผ่นโลหะ
           -กรณีฟันหรือกระดูกขากรรไกรบนและล่างสบกันไม่สนิทหลังประสบอุบัติเหตุ และเกิดปัญหาในการบดเคี้ยว จำเป็นต้องทำการจัดฟัน หรือทำการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรและยึดด้วยลวด
          - การผ่าตัดเล็กอื่นๆ ภายในช่องปาก ที่เป็นการรักษาเนื่องจากความผิดปกติและส่งผลต่อสุขภาพจำเป็นต้องแก้ไข
          - กรณีมีปัญหาด้านการออกเสียงหลังประสบอุบัติเหตุ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขการพูด (speech therapy)
     4. การผ่าตัดเพื่อรักษาปากแหว่งเพดานโหว่
          - กรณีที่มีปัญหาด้านการกลืน
          - กรณีไม่มีปัญหาด้านการกลืน แต่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

นางมารศรี กล่าวต่อไปว่า สำนักงานประกันสังคมอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับสิทธิทันตกรรม โดยกระตุ้นให้ผู้ประกันตนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อทราบปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก และวางแผนการรักษา รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรม กรณี อุด ขูด ถอน ผ่าฟันคุดได้มากขึ้น ยังสถานพยาบาลหรือคลินิกทั้งรัฐและเอกชน อีกทั้งเพิ่มการเข้าถึงทุกบริการทันตกรรมในสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง โดยผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือสายด่วนประกันสังคม 1506 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

 

26 มิถุนายน 2568

ผู้ชม 25 ครั้ง

Engine by shopup.com