30 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความสพฐ.-เดินหน้าหนุนหลักสูตร “อุทยานธรณีศึกษา” เปิด รร.ทุ่งหว้าวรวิทย์ ต้นแบบศูนย์เรียนรู้ธรณีวิทยาแห่งแรกของประเทศไทย

สพฐ.-เดินหน้าหนุนหลักสูตร “อุทยานธรณีศึกษา” เปิด รร.ทุ่งหว้าวรวิทย์ ต้นแบบศูนย์เรียนรู้ธรณีวิทยาแห่งแรกของประเทศไทย

หมวดหมู่: การศึกษา

ตามที่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการเฉลิมฉลอง Satun UNESCO Global Geopark โดยมีพิธีมอบเกียรติบัตรในโอกาสที่อุทยานธรณีสตูลได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2561 ณ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรทางธรณีที่มีคุณค่าในด้านการศึกษาพบว่าโรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการรับรองประเมินจากยูเนสโกให้เป็นสถานศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้นักเรียน ชุมชนและบุคคลที่สนใจมาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้ในศูนย์เรียนรู้ธรณีวิทยา จนได้เป็นโรงเรียนอุทยานธรณีแห่งแรกในประเทศไทย

 



นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่ยูเนสโกได้ประกาศให้จังหวัดสตูลเป็นพื้นที่อุทยานธรณีโลก ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนในประเทศไทย โดยยูเนสโกให้การยอมรับว่าจังหวัดสตูลเป็นต้นแบบของพหุวัฒนธรรม ตามเงื่อนไขแรกคือการรักษาชาติพันธุ์และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืชพันธุ์ สัตว์ป่า ฟอสซิล ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการและกรมทรัพยากรธรณีจึงเล็งเห็นว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในเรื่องอุทยานธรณีโลกเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน และต้องสร้างให้เกิดเป็นความยั่งยืนในจังหวัดสตูล โดยต้องมีการเรียนการสอนวิชาอุทยานธรณีโลกในวิชาเลือกหรือวิชาบังคับ พร้อมทั้งขยายผลเรื่องหลักสูตรอุทยานธรณีไปยังจังหวัดที่สนใจในภูมิภาคต่างๆ ด้วย 

 



นายอรุณ โต๊ะหวันหลง ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ กล่าวว่า อุทยานธรณีหรือ Geoparkเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยาและวัฒนธรรม โดยมีเรื่องราวที่เชื่อมโยงคุณค่าของแผ่นดินกับวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน โดยการอนุรักษ์ถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งโรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์มีความพร้อมและได้รับการประเมินจากยูเนสโกให้เป็นโรงเรียนอุทยานธรณี โดยโรงเรียนมีศูนย์เรียนรู้ธรณีวิทยา (Geological Learning Center) ซึ่งเปิดให้ทุกคนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ พร้อมทั้งยังเป็นสถานศึกษาต้นแบบแห่งแรกที่ได้จัดทำหลักสูตรอุทยานธรณี โดยได้ทดลองจัดการเรียนการสอนในวิชาเลือก และได้พัฒนาหลักสูตรบูรณาการใน 8 สาระวิชา ซึ่งจะเริ่มจัดการเรียนการสอนแบบสมบูรณ์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

 

 

นายอรุณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ โรงเรียนเป็นแกนนำในการจัดทำหลักสูตรอุทยานธรณีของจังหวัด ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอน และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนโรงเรียนเล็งเห็นว่าเราต้องสร้างเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจ จนสามารถเป็นผู้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของจังหวัดและชุมชนตนเองได้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ค้นพบหิน แร่ ฟอสซิลอยู่ในชุมชน ดังนั้น คนในชุมชนจึงจำเป็นต้องรู้ความเป็นมานั้น พร้อมกันนี้โรงเรียนยังมีแผนการขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น บุคคลที่สนใจ รวมถึงเปิดให้บริการสังคมในการเข้ามาเรียนรู้ได้มากขึ้นด้วย

 



นางสาวรังสิมา อย่างดี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ กล่าวว่า การเรียนหลักสูตรอุทยานธรณีมีองค์ประกอบสำคัญใน 4 เรื่อง ได้แก่ ธรณีวิทยา ธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1-ม.6 ถือเป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญมาก ทำให้ได้รับความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งมิติทางวิชาการ มิติทางสังคม มิติทางเศรษฐกิจและการได้ลงศึกษายังสถานที่จริง ได้เรียนรู้วิถีชีวิต กิจกรรมต่างๆ ของคนในจังหวัดสตูล ที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยา ทำให้มีความพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ออกไป และพร้อมที่จะบอกว่าคนสตูลมีความรักและหวงแหนแผ่นดินที่เราอาศัย เพราะเป็นดินแดนที่มีคุณค่า สร้างความภาคภูมิใจ สร้างนิสัยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับทุกคน

 



“สตูลเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา มีเกาะมากมายที่คนทั้งในและต่างประเทศนิยมมาท่องเที่ยว เมื่อได้มาสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ทุกสถานที่จะมีความรู้ทางธรณีวิทยาแฝงไปด้วย เช่น เกาะตะลุเตาเป็นพื้นที่ที่เริ่มศึกษาธรณีวิทยาในจังหวัดสตูล ซึ่งค้นพบแหล่งฟอสซิลหินในยุคเก่ามีอายุกว่า 500 ล้านปี ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเซาท์อีสเอเชีย ดังนั้น หลักสูตรอุทยานธรณีเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่ส่งผลมากต่อประเทศ เมื่อได้เรียนรู้แล้วต้องเป็นผู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ส่งต่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ได้รับรู้ถึงความสำคัญและสามารถบอกต่อความมีคุณค่าของจังหวัดสตูล เพราะสตูลมีหลายสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างได้ แต่ธรรมชาติได้สร้างไว้ ฉะนั้น มนุษย์จึงยิ่งต้องช่วยกันรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป” นางสาวรังสิมา กล่าว

31 สิงหาคม 2561

ผู้ชม 1044 ครั้ง

Engine by shopup.com