29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมทร.สุวรรณภูมิ ส่งเสริมทักษะด้านวิชาชีพ แนะเกษตรกรปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียม

มทร.สุวรรณภูมิ ส่งเสริมทักษะด้านวิชาชีพ แนะเกษตรกรปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียม

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)สุวรรณภูมิ จัดโครงการคลินิกเทคโนโลยี การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะด้านวิชาชีพให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้มีการฝึกปฏิบัติและได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพสำหรับตนเองและชุมชนและเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน จึงได้มีการนำโครงการฝึกอบรม “การปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียน” เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีเผยแพร่ให้กับชุมชนและสังคม

 

 

รศ.นภัทร วัจนเทพินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.สุวรรณภูมิ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ 1. น้ำ ปริมาณคุณภาพ PH 2. อากาศ ออกซิเจน อุณหภูมิ ความชื้น การไหลเวียนอากาศ 3. แสง ชั่วโมงแสง คุณภาพแสง ความเข้มแสง สีของแสง 4. ธาตุอาหาร หลัก NPK รอง ca mg fe cu zn b ph ec ซึ่งแสงที่พืชต้องการมากที่สุด เรียกว่า พาร์สเปกตรัม มีความยาวคลื่นแสง 380-770 นาโนเมตร ผลดีของแสงต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโตของพืช สีม่วง ไม่แน่นอน แต่อาจมีผลมาจากแสงสีน้ำเงินที่ 400 นาโนเมตรอยู่บ้าง สีน้ำเงิน มีความเข้มแสงต่ำ ๆ มีความจำเป็นในการเพาะเมล็ดและการอนุบาลพืช สนับสนุนการเจริญเติบโตของต้นกล้า ลำต้นแข็งแรง สีเขียวและสีเหลือง ไม่มีความจำเป็น แต่มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์แสงอยู่บ้าง สีส้ม ดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์แสงสูงสุด สีแดงดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์แสงสูงสุด เพิ่มครอโรฟิลด์ ช่วยเร่งช่อดอก ลำต้น ช่วยให้ผลติดมาก ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า แสงสีแดงและสีน้ำเงินดีต่อพืชมากที่สุด พาร์และ พีพีเอฟดี พาร์ พลังงานแสงที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เฉพาะช่วงความยาวคลื่นแสง 400-700 นาโนเมตร พีพีเอฟดี พลังงานจากแสงต่อเวลาต่อตารางเมตรที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง หน่วยเป็นโมล แหล่งกำเนิดแสงสำหรับพืช โดยใช้หลอดเมทัล ฮาไลด์ และหลอดโซเดียมความดันสูง ในการประกอบเป็นไฟแอล อี ดี และหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยควรให้แสงประดิษฐ์แอล อี ดี วันละ 12-14 ชั่วโมงจะดีที่สุด โดยได้มีการปลูกสตอเบอรี่ในโรงเรือนแสงธรรมชาติร่วมกับหลอดเสริมจาก แอล อี ดี ที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งปรากฎว่าให้ผลผลิตมากขึ้น และทำให้รสชาติดีขึ้น แอล อี ดี สีแดงผสมสีน้ำเงินจะช่วยให้ผลผลิตมากขึ้นและลดเวลาการเพาะปลูกให้สั้นลง การศึกษาการเจริญเติบโตของผักกาดหอมภายใต้แสงจาก แอล อี ดี สีขาว แดง น้ำเงิน และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ การศึกษาการเจริญเติมโตของผักกรีนโอ๊คภายใต้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ผสมกับแสงจากแอล อี ดี สีขาว แดง น้ำเงิน โดยควบคุมเวลาการเปิดปิดแสง 1. ให้แสงสีแดง 8 ชั่วโมงสลับการแสงสีน้ำเงิน 8 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ที่ดี 2. ให้แสงสีแดง 1 ชั่วโมงสลับกับแสงสีน้ำเงิน 1 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นกัน การปลูกผักกรีนโอ๊คด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ภายใต้แสงแอล อี ดี อายุ 35 วัน แสงสีแดงร้อยละ 70 สีน้ำเงินร้อยละ 30 ให้ผลผลิตดีที่สุด จำนวนรากมากที่สุด ความยาวรากสูงที่สุด ให้น้ำหนักมากที่สุด เมื่อให้แสงสีขาวและแสงสีน้ำเงินหลังการเก็บเกี่ยวจะช่วยยืดอายุ ทำให้การเหลืองของใบให้นานกว่าช่วยให้ผลผลิตมีราคาดี ช่วยให้การขนส่งมีประสิทธิภาพดีขึ้น

 

 

ผู้ที่สนใจการปลูกพืชในชั้นปลูกโดยใช้แสงเทียม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 60 หมู่ 3 ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ และโทรสาร 035 709 097

 

16 ตุลาคม 2561

ผู้ชม 741 ครั้ง

Engine by shopup.com