29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความมจพ.เจ๋ง แถลงผลการส่ง"ดาวเทียมแนคแซท"ดวงแรกของไทย ขึ้นสู่วงโคจร

มจพ.เจ๋ง แถลงผลการส่ง"ดาวเทียมแนคแซท"ดวงแรกของไทย ขึ้นสู่วงโคจร

หมวดหมู่: การศึกษา

 

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.61 ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน  อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) แถลงข่าวผลการส่งดาวเทียมแนคแซทขึ้นสู่วงโคจร โดยมี ฯพณฯ ชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวและให้เกียรติมอบประกาศนียบัตรให้กับทีมนักวิจัยโครงการดาวเทียมแนคแซท ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)

 



ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  กล่าวว่า ในการส่งดาวเทียม ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ตามวันในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จรวดฟอลคอน 9 ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ ภายใต้มิชชั่น SSO-A ของบริษัทสเปซไฟล์ท ได้ส่งดาวเทียมแนคแซทพร้อมด้วยดาวเทียมอื่นๆ รวมทั้งหมด 64 ดวงจากทั้งหมด 17 ประเทศ ขึ้นสู่วงโคจรประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การส่งจรวดครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่เป็นการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรพร้อมกันจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยส่งจากฐานยิงจรวดของฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก (Vandenberg Air Force Base) ประเทศสหรัฐอเมริกา การปล่อยเพย์โหลดออกจากหัวจรวดเริ่มดำเนินการหลังจากจรวดทะยานขึ้นไปแล้ว 43 นาที 11 วินาที ซึ่งตรงกับวันที่ 3 ธ.ค. เวลา 19:32น. ตามเวลาสากล (หรือวันที่ 4 ธ.ค. เวลา 02:32น. ตามเวลาในประเทศไทย) เพย์โหลดประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ปล่อยดาวเทียม 2 ชุดมีชื่อว่า Upper Free Flyer (UFF) และ Lower Free Flyer (LFF) และดาวเทียมหลักของมิชชั่น SSO-A อีก 4 ดวง จากนั้น UFF และ LFF เริ่มทำการปล่อยดาวเทียมที่เหลือทุกๆ 5 นาที ใช้เวลารวมในการปล่อยทั้งหมดมากกว่า 5 ชั่วโมง การปล่อยแต่ละครั้งมีความจำเป็นต้องเว้นระยะเวลาการปล่อย โดยดาวเทียมแนคแซทถูกปล่อยออกจาก LFF ณ. วันที่ 3 ธ.ค. เวลา 22:49:57UTC (ตรงกับวันที่ 4 ธ.ค. เวลา 05:49:57น. ตามเวลาในประเทศไทย)

 



สัญญาณวิทยุของดาวเทียมแนคแซทถูกรับได้ครั้งแรก (First Voice) โดยนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้ชื่อว่า Mike Rupprecht ชาวเยอรมัน ในวันที่ 4 ธ.ค. เวลา 09:04น ตามเวลาสากล (ตรงกับวันที่ 4 ธ.ค. เวลา 14:04น. ตามเวลาในประเทศไทย) เป็นการยืนยันว่าดาวเทียมแนคแซทได้เริ่มต้นปฎิบัติงานในอวกาศแล้ว โดยนักวิทยุสมัครเล่น รับสัญญาณวิทยุของดาวเทียมแนคแซทได้อีกครั้งในเวลา 10:41น ตามเวลาสากล (ตรงกับเวลา 17:41น. ตามเวลาในประเทศไทย) ในวันเดียวกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. เวลา 02:52น ตามเวลาสากล (ตรงกับวันที่ 5 ธ.ค. เวลา 07:52น. ตามเวลาในประเทศไทย) และวันที่ 7 ธ.ค. เวลา 15:04น ตามเวลาสากล (ตรงกับวันที่ 7 ธ.ค. เวลา 22:04น. ตามเวลาในประเทศไทย) สัญญาณวิทยุของดาวเทียมแนคแซทถูกรับได้โดยนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้ชื่อว่า Fatc Mubin ชาวอินโดนีเซีย นับเป็นความสำเร็จของดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรกที่ออกแบบและสร้างในประเทศไทย โดยทีมนักศึกษาและอาจารย์จาก มจพ. ความสำเร็จของโครงการดาวเทียมแนคแซทนี้จะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า คนไทยมีศักยภาพในการออกแบบและสร้างดาวเทียมและระบบต่างๆ ที่ใช้ในอวกาศได้เอง และประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

 



อธิการบดี มจพ. กล่าวต่อไปว่า ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย สร้างโดยนักวิจัยและนักศึกษา มจพ.ส่งออกไปสู่วงโคจรเป็นดาวเทียมดวงแรก ดวงเล็ก ๆ น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มีพันธกิจที่เป็นดาวเทียมใช้ในการศึกษา การสื่อสาร ระหว่างภาคพื้นดิน เพื่อสื่อสารกับดาวเทียม  ส่งข้อมูลเพื่อศึกษาศักยภาพของดาวเทียม ซึ่งสร้างโดยคนไทย  ซึ่งเป็นสิ่งที่ มจพ.ใช้องค์ความรู้จากบุคลากรที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นนักวิจัย เป็นนักศึกษาที่ทำงานดาวเทียมมาอย่างต่อเนื่อง การนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ทางมหาวิทยาลัยและนักวิจัยพยายามที่จะสื่อสารกับดาวเทียมที่เราส่งขึ้นไป 4 ธันวาคมที่เราได้กล่าวข้างต้นไปแล้ว และ พันธกิจขณะนี้ คือ เราพยายามที่จะศึกษาสื่อสารกับดาวเทียมดวงนี้ เพื่อจะให้มีการตอบสนองสัญญาณ เป็นแนวทางในการที่จะสร้างดาวเทียมในอนาคตดวงต่อไป

 



“ดาวเทียมที่ผ่านมา ในประเทศไทยยังไม่มีการสร้างขึ้นเอง โดยคนไทย  เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ใช้องค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยและนักศึกษาเอง  ซึ่งทุกชิ้นส่วนเราสร้างขึ้นมาเองใน มจพ.พิสูจน์ให้เห็นว่า คนไทยก็มีเสถียรภาพ  สามารถที่จะทำได้ นักวิจัยเองก็มีศักยภาพ สามารถที่จะต่อยอดในเรื่องของการเอาองค์ความรู้ในรั้วมหาวิทยาลัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องนำไปสู่แนวทางปฏิบัติได้  เป็นเครื่องยืนยันในงบประมาณที่เราได้รับมาจากทาง กสทช. มีขีดจำกัดในเรื่องของงบประมาณที่เราได้มา 900 กว่าล้าน ซึ่งการส่งดาวเทียมเราใช้งบประมาณ 2-3 ล้านบาทแล้ว โดยดาวเทียมเป็นระดับที่สามารถปฏิบัติงานและสามารถต่อฟังก์ชั่นได้ทุกอย่างเอง ซึ่งหากเรานำเข้าเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศหรือซื้อจากต่างประเทศดวงหนึ่ง 3,000-4,000 ล้าน แต่ดาวเทียมดวงนี้เราใช้งบประมาณและใช้องค์ความรู้จาก มจพ.ซึ่งสามารถยืนยันว่าคนไทยก็สามารถที่จะสร้างเอง โดยอุปกรณ์ หรือเทคนิคต่าง ๆ ถ้าเกิดเรามีขยายศักยภาพ มีงบประมาณจากภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุน มจพ. หรือคนไทยเองหากมีอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้อง ในเรื่องของการนำงบงบประมาณและใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพอย่างตัวกล้องเอง อุปกรณ์ซึ่งอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีความแม่นยำสูงขึ้น เป็นโอกาสของภาคอุตสาหกรรมและเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัย ที่นำเอาองค์เหล่านี้ไปสร้างดาวเทียม ซึ่งมีศักยภาพสูงขึ้น ทั้งนี้ ดาวเทียมดวงแรกเพื่อการศึกษา เพื่อให้เห็นศักยภาพว่าฟังก์ชั่นต่าง  ๆ ของนักวิจัยเองของนักศึกษาจะสามารถที่จะสร้างด้วยคนไทยเองไปสู่แนวทางปฏิบัติได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ดาวเทียมแนคแซทถือเป็นดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรกที่ออกแบบและสร้างในประเทศไทยโดยอาจารย์และนักศึกษาจาก มจพ. โดยมี พันธกิจหลักในอวกาศ ได้แก่ การถ่ายภาพโลกจากอวกาศ (ความละเอียด: 1 – 2 กิโลเมตรต่อ pixel)  ทดสอบการทำงานของระบบต่าง ๆ ที่ออกแบบและจัดสร้างขึ้นในอวกาศ  ซึ่งหวังว่าความสำเร็จในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายและกระตุ้นให้นักเรียนในโรงเรียนเกิดแรงบันดาลใจ และสนใจเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น และเป็นการ ยืนยันว่านักวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมของไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน และในอนาคตหวังว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตดาวเทียมของไทย  และใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการศึกษาต่อไปได้

 



ด้านดร.พงศธร สายสุจริต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า  นอกจากเรื่องเทคโนโลยีที่ได้เรียนมา สิ่งที่มีประโยชน์กับโครงการที่เกี่ยวกับอวกาศ  คือเรื่อง Management  เรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องรอง ประเทศญี่ปุ่นสอนให้เราคิดอย่างเป็นระบบ วางแผนให้ละเอียดและบริหารโครงการหรือทดสอบอะไรหลาย  ๆ อย่าง ให้รอบคอบ เป็นสิ่งที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ  สิ่งนี้ คือได้เรียนรู้จากการทำงานในประเทศญี่ปุ่น

ในส่วนของสถานภาคพื้นดินของโครงการดาวเทียมแนคแซท ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรธรไทย-เยอรมัน มจพ. ยังไม่ได้สัญญาณวิทยุของดาวเทียมแนคแซท  แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการส่งดาวเทียมไปถึง 64 ดวงและขณะนี้ได้รับสัญญาณไปเพียง 3 ดวงเท่านั้น และขณะนี้มจพ.ได้จัดนักศึกษา และอาจารย์ เพื่อรอจับสัญญาณดังกล่าวได้ด้วยตนเองแล้วหลังจากที่สัญญาณวิทยุของดาวเทียมแนคแซทถูกได้รับครั้งแรก  ซึ่งก็หมายความว่าดาวเทียมแนคแซทยังมีชีวิตอยู่ และคาดว่าอีกไม่นานมจพ.จะได้รับสัญญาณในภาคพื้นของตัวเอง

20 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 768 ครั้ง

Engine by shopup.com