29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความอาชีวะสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส บุกเบิก "ธนาคารจักรยานและศูนย์รักล้อ"

อาชีวะสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส บุกเบิก "ธนาคารจักรยานและศูนย์รักล้อ"

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 


 

 

ดร.สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้มอบหมายให้วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับมูลนิธิองค์กรเครือข่ายบริการธุรกิจภูมิภาค (SP-NET) ในโครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และMs. Junko Okala, Mr.takaski Hashimoto ผู้แทนสมาคมเอเชียและสังคมมิตรภาพเอเชีย จังหวัดโอซาก้า ได้จัดตั้ง "ธนาคารจักรยานและศูนย์รักล้อ" ณ วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส ขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า ในการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดสุขภาวะ ในด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม ผ่านการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และกิจกรรมการรณรงค์ต่างๆ เป็นการสร้างความสุข ในระดับจังหวัด ภูมิภาคและประเทศ กิจกรรมนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนชาวจังหวัดสุพรรณบุรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิต เพราะการใช้รถจักรยานนอกจากจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนแล้วยังช่วยลดการใช้พลังงาน ลดมลภาวะและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนอีกด้วย เป็นการรณรงค์ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยให้บ้านเมืองของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น

"ธนาคารจักรยานและศูนย์รักล้อ" หรือ “ธนาคารจักรยานสร้างสุขแห่งประเทศไทยและศูนย์รักล้อ แห่งที่ 11” ณ วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส เป็นความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่เห็นความสำคัญของการปั่นจักรยาน ในการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการจราจรภายในเมืองอย่างยั่งยืน เพราะการปั่นจักรยานสามารถพัฒนาเศรษฐกิจเมืองไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้คนเมืองมีสุขภาวะที่ดี จักรยานเป็นพาหนะเดินทางหนึ่งที่ควรสนับสนุนให้คนเมืองหันมาใช้ ซึ่งภาครัฐให้ความสำคัญกับการปั่นจักรยานเป็นอันดับต้นๆ ด้วยนโยบายสนับสนุนอย่างจริงจัง และครอบคลุมทั้งระบบ โดยเริ่มจากประโยชน์ที่ได้รับจากการปั่นจักรยานในหลายๆ ด้าน เช่น การเสริมสร้างสุขภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างจากโรคภัยทำให้ประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลส่วนหนึ่ง ทำให้มีผู้สนใจหันมาใช้จักรยานมากขึ้น เป็นการประหยัดพลังงาน ช่วยลดมลพิษจากการเผาไหม้ได้อีกด้วย และเป็นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในการปั่นจักรยานตามความนิยมของคนไทยที่หันมาปั่นจักรยานมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา

 

 

 



สำหรับกิจกรรมหลักของเครือข่ายจักรยานสร้างสุข คือ การสร้างเครือข่ายจักรยานสร้างสุข ในโครงการพัฒนาหลักสูตร "จักรยานสร้างสุข" และเชิญชวนตัวแทนจัดตั้ง "ศูนย์รักล้อ" และธนาคารจักรยาน รวมถึงการจัดกิจกรรมรณรงค์การใช้จักรยาน โดยจัดทำฐานข้อมูลการใช้จักรยานของประชาชนทั่วประเทศ และสนับสนุนให้เครือข่ายจักรยานในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมกันรณรงค์การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ภายใต้การรณรงค์ "จักรยานสร้างสุข" ที่เน้นการปั่นจักรยาน ส่งเสริมสุขภาวะสุขภาพ และการจัดทำแผนที่แนะนำเส้นทางจักรยานสร้างสุข โดยการจัดทำฐานข้อมูลเส้นทางจักรยานสร้างสุข ขอความร่วมมือจากเครือข่ายจักรยานในแต่ละพื้นที่ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปแนะนำเส้นทางจักรยานที่น่าสนใจในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นเผยแพร่ข้อมูลเส้นทางเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว มาปั่นจักรยาน ตามเส้นทางที่แนะนำ

ด้านทันตแพทย์อนุศักดิ์ คงมาลัย ประธานคณะกรรมการเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย กล่าวว่า ตามที่โครงการพัฒนาเครือข่ายจังหวัดสร้างสุขประเทศไทย จัดตั้ง "ธนาคารจักรยานและศูนย์รักล้อ" ณ วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนภายในจังหวัดสุพรรณบุรี จากระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ ได้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม รวมถึงการลดใช้พลังงาน ลดมลภาวะ ช่วยลดปัญหาโลกร้อนและหันมาใช้จักรยาน ในการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อซ่อมบำรุงดูแลรักษาและให้ความรู้เรื่องจักรยานกับทุกภาคส่วน ในจังหวัดสุพรรณบุรีที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดการรวมตัวกัน ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านรถจักรยาน ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาทุกระดับ ปั่นจักรยานเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ให้ความรู้เรื่องการใช้จักรยานอย่างถูกวิธี และการซ่อมบำรุงเบื้องต้น และเป็นการส่งเสริม ให้นักเรียน นักศึกษาได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ช่วยเหลือเครือข่ายประชาชน ผู้สนใจในการใช้จักรยานให้ได้รับการดูแลรักษา ซ่อมจักรยานที่มีคุณภาพ

 

  



การจัดตั้ง “ธนาคารจักรยานและศูนย์รักล้อ” เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายของสอศ. ที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ ทักษะวิชาชีพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ประกอบอาชีพได้ตามกำลังความสามารถ ดร.สาโรจน์ กล่าวปิดท้าย

25 กุมภาพันธ์ 2562

ผู้ชม 478 ครั้ง

Engine by shopup.com