29 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.นครพนม จัดประกวด “เถียงนาน้อยพอเพียง” ชูอัตลักษณ์ประจำถิ่นให้คนรุ่นใหม่ศึกษาเรียนรู้

ม.นครพนม จัดประกวด “เถียงนาน้อยพอเพียง” ชูอัตลักษณ์ประจำถิ่นให้คนรุ่นใหม่ศึกษาเรียนรู้

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 


มหาวิทยาลัยนครพนม จัดประกวดการแข่งขัน “เถียงนาน้อยพอเพียง” หรือ “กระท่อม” เพื่อสืบสานอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยมี ดร.ฑีรัตม์ พิริยะพลิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นประธานเปิดงาน

 

 



กิจกรรมประกวดการแข่งขัน “เถียงนาน้อยพอเพียง” เป็นส่วนหนึ่งของงานเกษตรลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 22 ที่ทางคณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดนครพนมจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1-9 มีนาคม 2562 มีชุมชนในพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมประกวด 5 ทีม โดยการประกวดมีเงื่อนไขอยู่ว่า “เถียงนา” หรือ กระท่อม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตกแต่งประดับประดาให้สวยงามสอดคล้องกับแนวคิดความพอเพียง และสามารถใช้งานได้จริง ในพื้นที่ที่จำกัดให้ คือ ขนาด 4x8 เมตร ก็มีหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงชุมชนร่วมส่งเข้าประกวด โดยทีมที่ชนะเลิศ คือ ทีมเทศบาลเรณูนคร จากอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม รับถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท

 

 




นายระพีพัฒน์ มหาโคตร ผู้นำทีมจากเทศบาลเรณูนคร ซึ่งเป็นทีมที่ชนะเลิศการประกวดแข่งขันเถียงนาพอเพียง กล่าวว่า เป็นการออกแบบที่แสดงถึงเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนภูไท จุดเด่นของเถียงนาคือทำจากโครงไม้ซึ่งเป็นไม้ไผ่ที่ปลูกใช้สอยตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งเป็นวัสดุในท้องถิ่น หรือจะเป็นหญ้าแฝกใช้มุงหลังคา นำมาแปรรูปทำเป็นเถียงนา รูปแบบของตัวเถียงนา เป็นการนำเอาวัฒนธรรมเดิม คือเป็นบ้านแฝด แบ่งโซนออกเป็น 3 ส่วนเชื่อมต่อกัน เช่น โซนของห้องครัวไว้ใช้ทำกับข้าว, พื้นกระดานตรงกลางใช้เป็นที่วางตุ่มน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และส่วนที่สามใช้เป็นที่อาศัยหลับนอน ใต้ถุนใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ รั้วบ้านปลูกพืชผักไว้รับประทานตามแบบของความพอเพียง

 

 

 




“เป็นเถียงนาแฝด ที่ทำด้วยโครงไม้ที่หนาแน่น มีความแข็งแรง เป็นรูปแบบโบราณ นำมาประยุกต์ใช้กับปัจจุบัน จรรโลงไว้ในเรื่องของวัฒนธรรมของคนชนเผ่าภูไทอีสาน ที่อยู่กันแบบเรียบง่าย เถียงนาที่ทำการประกวดก็ต้องทำแบบเรียบง่ายและอยู่ได้จริง คือ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า อากาศเย็นสบาย ใต้ถุนสามารถทำเป็นที่เลี้ยงสัตว์ได้ แสดงออกถึงความเป็นอยู่แบบพอเพียง รอบ ๆ รั้วทำด้วยไม้ไผ่ มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ทานเข้ากับวิถีความเป็นธรรมชาติ” นายระพีพัฒน์ มหาโคตร กล่าว.

ส่วนเถียงนาหลังจากทำการประกวดเสร็จแล้ว คนไหนที่อยากจะถ่ายรูปเซฟฟี่สวย ๆ หลังเสร็จจากเดินเที่ยวชมงานเกษตรลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 22 แล้ว ก็อย่าลืมเดินมาบริเวณจุดตรงนี้ด้วย ซึ่งงานก็จะมีไปจนถึงวันที่ 9 มีนาคม 2562 นี้ ณ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม (เขตพื้นที่ศรีโคตรบูรณ์)

08 มีนาคม 2562

ผู้ชม 1629 ครั้ง

Engine by shopup.com