“คุณหญิงกัลยา” เปิดประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” เล็งจับมือผู้ว่าราชการ 5 จังหวัด เร่งผลักดันวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทย์ 5 แห่งทั่วประเทศเพื่อการเรียนรู้
วันนี้ (28 ส.ค.) ที่โรงแรมเชียงใหม่ภูคํา มีการประชุมวิชาการนานาชาติโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4” (The 4th International Convention on Vocational Student’s Innovation Project) โดยมีนักเรียน 331 คนจาก 7 ประเทศ เข้าร่วมประชุมและนำเสนอ 90 ผลงาน ซึ่งคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติฯ ว่า ในการเรียนรู้ การทำงานเป็นด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นี้ จะนำพาประเทศก้าวสู่การแข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็นคนไทย โดยเฉพาะเด็กซึ่งจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีก้าวหน้าไปแค่ไหนก็ตาม ก็ต้องเป็นคนไทยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมไทยที่ดีงามของประเทศ เป็นต้นทุนมนุษย์ ต้นทุนของสังคมไทย เราเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนไทยที่ดีมีคุณภาพพร้อมก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 และพาประเทศก้าวพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปด้วยกัน
คุณหญิงกัลยา กล่าวต่อไปว่า ตนจะขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดที่มีวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ ให้ช่วยผลักดันสิ่งที่เราทำดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับ เป็นที่พึ่งของชุมชน โดยทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ 5 แห่งทั่วประเทศให้เป็นต้นแบบของการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาอื่นๆต่อไปในอนาคต คือ Active Learning , life long learning และ Project Based Learning แล้วยกระดับการเรียนอาชีวศึกษาว่า สอนเด็กให้มีงานทำ ทำงานเป็น
“การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยจากภาคการผลิตไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมนั้น เป็นส่วน สําคัญในการส่งเสริมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก เศรษฐกิจฐานบริการ จะเห็นได้ว่า จากนโยบายการบริหารจัดการอาชีวศึกษา มิติที่ 2 การพัฒนา คุณภาพ “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ปฏิรูปการสอบ ใหม่ทันกับยุคสมัยอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านคุณภาพของสถานศึกษานั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม พัฒนานวัตกรรมของผู้เรียน และผู้สอน อีกทั้งส่งเสริมนวัตกรรม การจัดการอาชีวศึกษา โดยนําไปสู่การเปิดวิทยาลัยเทคโนโลยี ฐานวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด หรือวิสัยทัศน์ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน จากการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้นั้น มาเป็นการเรียนรู้เพื่อนํามาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมไปถึงพัฒนางาน พัฒนาชีวิต สังคม และประเทศชาติ
ทั้งนี้เพื่อพร้อมสู่การพัฒนาไปเป็น ไทยแลนด์ 4.0 และการเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ในอนาคตอันใกล้นี้”คุณหญิงกัลยา กล่าวในที่สุด
ด้าน ดร.ประชาคม จันทรชิต รอง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) กล่าวเสริมว่า การจัดการเรียนการสอนของโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์มีเป้าหมายหลัก เพื่อสร้าง นักเทคโนโลยี โดยผ่านการศึกษาในหลักสูตรรูปแบบ Project Based Learning โดยบูรณาการทักษะด้าน STEM ที่สามารถประสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับทักษะวิชาชีพเพื่อสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ได้มีการจัดหมุนเวียนมีการประชุมระดับชาติและนานาชาติในวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 5 แห่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(ชลบุรี) วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์พังงา (วิทยาลัยเทคนิคพังงา) วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์สิงห์บุรี (วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี) วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์นครราชสีมา(วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี) และวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ลำพูน (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน ) โดยในปีนี้ได้มอบหมายให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน เป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมสร้างทักษะด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี อันเกิดจากการเรียนการสอนของวิทยาลัยต่าง ๆ และนานาประเทศ โดยใช้รูปแบบ Project Based Learning หรือ PJBL ให้กับนักเรียนในโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 5 แห่ง และนักเรียน นักศึกษาจากต่างประเทศ
การประชุมวิชาการนานาชาติฯ ครั้งที่ 4 จัดระหว่างวันที่ 26-29 ส.ค.2562 สำหรับรูปแบบการจัดกิจกรรม แบ่งเป็น 1. การประชุมทางวิชาการซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีหรือ Oral Presentation และ 2. การจัดนิทรรศการ โดยแบ่งออกเป็นการนำเสนอผลงาน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนในรูปแบบ Poster การจัดทำวารสารวิชาการฉบับพิเศษ เพื่อตีพิมพ์บทความด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และงานวิจัยของนักเรียน และกิจกรรมการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของนักเรียนทั้ง 5 สถานศึกษา รวมถึงกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมืองลำพูน ลำปางและเชียงใหม่
โดยการจัดงานมีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 331 คน มีนักเรียน นักศึกษาที่ส่งผลงานนำเสนอทั้งสิ้น 89 ทีม จาก 10 สถาบันการศึกษา ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 7 ผลงาน ประเทศมาเลเซีย จำนวน 3 ผลงาน ประเทศบังคลาเทศ จำนวน 2 ผลงาน ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 ผลงาน ประเทศไต้หวัน จำนวน 2 ผลงาน ประเทศอินเดีย จำนวน 1 ผลงาน วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จำนวน 20 ผลงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 16 ผลงาน วิทยาลัยเทคนิคพังงา จำนวน 15 ผลงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) จำนวน 12 ผลงาน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน จำนวน 10 ผลงาน โดยผลงานที่ได้รางวัลที่ 1 ในปรเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์
28 สิงหาคม 2562
ผู้ชม 1645 ครั้ง