28 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม- ม.เกษตร-มทร.รัตนโกสินทร์  ยกระดับมาตรฐานด้านการบริหารจัดการ  โครงการขับเคลื่อนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม- ม.เกษตร-มทร.รัตนโกสินทร์  ยกระดับมาตรฐานด้านการบริหารจัดการ  โครงการขับเคลื่อนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

ตั้งแต่มีการจัดตั้ง otop ขึ้นมา ทุกคนจะนึกถึงผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  ว่าสินค้าตำบลนี้เด่น ด้านไหน  และมีสินค้าประเภทอะไร  และนำผลิตภัณฑ์มาโชว์และประชันตามศูนย์จัดแสดงงานต่างๆ  ซึ่งทุกคนมุ่งเน้นการขายให้กับลูกค้าเป็นหลัก ถ้าใครมีความคิดสร้างสรรค์ดี ก็นำพาให้สินค้าขายดิบดี ขายดีจนมือเป็นประวิง   แต่เมื่องานจบทุกอย่างก็จบ เมื่อมีงานก็เริ่มต้นหนึ่งใหม่  ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  มีความห่วงใย ต้องการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีความยั่งยืน เพื่อนำไปสู่ตลาดโลกโดยไม่ต้องอายชาติอื่นๆ  ว่าเราก็มีของดี ของเด่น ที่จะนำเสนอให้กับชาวโลกได้รู้เช่นกัน  จึงได้มอบหมายให้   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  (มทร.รัตนโกสินทร์) ดำเนินงานโดย  วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ เป็นที่ปรึกษาโครงการกิจกรรมพัฒนาและยกระดับมาตรฐานด้านการบริหารจัดการ   (ภาคกลางและภาคใต้) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ 2562

 

 

 

 

  

 



มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์ ได้รับมอบหมายในการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจชุมชน (ภาคกลางและภาคใต้) ให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ 5 ด้าน 1.  ด้านการบริหารจัดการผลิต 2. การบริหารจัดการองค์กร  3. การบริหารจัดการเงินและบัญชี 4. การบริหารจัดการจัดการตลาด 5.  การพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์  โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการ  otop  ที่มีศักยภาพและดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  โดยมี สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่  ผ้าและเครื่องแต่งกาย  ของใช้ /ของตกแต่ง/ของที่ระลึก   สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น  โดยกลุ่มเป้าหมายของพื้นที่อยู่ภาคกลางและภาคใต้   ซึ่งทำการประชาสัมพันธ์เพื่อค้นหาผู้ประกอบการที่สนใจ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น 99 ราย  โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้  1. กลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน 32 ราย กลุ่มจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 22  ราย  กลุ่มจังหวัดนครปฐม  จำนวน 25 ราย   กลุ่มจังหวัดสุพรรณบุรี 20 ราย  แล้วคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพเหลือ 77 ราย  เพื่อประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนเบื้องต้น โดยหลักการ ลงพื้นที่ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ ทั้ง หมด 5 ด้าน   โดยมีเงื่อนไขเวลาไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  รวมถึงการศึกษาดูงานเกาะยอ จังหวัดสงขลา และประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นองค์ความรู้นำกลับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

 

 

  

 



หลังจากทางมหาวิทยาลัยได้ทำการลงพื้นที่และให้คำปรึกษาทั้ง 5 ด้านอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่ามีผู้ประกอบการที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจ  otop อย่างรวดเร็วสมควรนำมาเป็นตัวอย่างของการพัฒนาธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์   ซึ่งทำการคัดเลือกผู้ประกอบการที่สมควรนำรายละเอียดของผลิตภัณฑ์มาลงพิมพ์ในหนังสือ “บทสำเร็จ  SMART OTOP  จำนวน 11 ราย  โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังนี้

1. จุดเด่นของ Story  Telling
2. การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3. ศักยภาพด้านการตลาด
4. ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นรองรับกับแนวโน้มของสังคม

 

 

 

นายจารุพันธ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

เมื่อโครงการเสร็จสิ้นลงทางมหาวิทยาลัยได้ประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการที่ได้นำความรู้ ไปพัฒนาต่อยอด โดยมีเกณฑ์คัดเลือกดังนี้ 1. คุณค่าของผลิตภัณฑ์ 2. ศักยภาพด้านการตลาด  3.การใช้ทักษะฝีมือ 4.นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ใช้ผลิต   ซึ่งเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัย ได้คัดเลือกผู้ประกอบการ เพื่อรับโล่รางวัล 3 ประเภท ได้แก่ รางวัลผลิตภัณฑ์ดีเด่น  จำนวน 15 รางวัล รางวัลผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมดีเด่น จำนวน 1 รางวัล   รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น จำนวน 1 รางวัล  โดยได้รับเกียรติจาก นายจารุพันธ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานมอบโล่รางวัล  พร้อมด้วย ดร.ฟ้าใส  สามารถ  รองอธิการบดี มทร. รัตนโกสินทร์   ดร.อำนวย บุญญารัตน์ไมตรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มทร.รัตนโกสินทร์   ผศ.ดร.ธนิต  พุทธพงษ์ศิริพร หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร  วิทยาเขตบางเขน  และ ผศ.ดร.จุมพล วรสาจัณห์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร ซี่งมีรายละเอียดของรางวัลดังนี้

 

 

 

ดร.ฟ้าใส  สามารถ  รองอธิการบดี มทร. รัตนโกสินทร์

 

 

 

 

1. รางวัลผลิตภัณฑ์ดีเด่น  จำนวน 15 รางวัล

1.1 ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย

ลำดับที่ 1  คุณชญาชล  ทองเกียว  วิสาหกิจชุมชนบาติกมัดย้อมเฉลิมพระเกียรติ   ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเทคนิคน้ำข้าว
ลำดับที่ 2 คุณเอกชัย  อิสลาม ผลิตภัณฑ์เส้นบาติก
ลำดับที่ 3 คุณวลีพร  ผงบุญตา ผลิตภัณฑ์ Walee Marbling  Artb  ลายผ้าบนผิวน้ำ

 

1.2 ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก

ลำดับที่ 1 คุณชินพัฒน์  พัฒน์ปณิธาน  ผลิตภัณฑ์นาฬิกาเฟื้องไม้
ลำดับที่ 2 คุณจันทิรา สุทธิประเสริฐ วิสาหกิจชุมชน  กลุ่มจักสานบ้านหัวเวียง ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานหวาย
ลำดับที่ 3 คุณสุกัญญา   สมสวาท   กลุ่มจักสานย่านลิเภาบ้านลิเภา   ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา

 

1.3 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

ลำดับที่ 1  คุณสมพงษ์   หนูศาสตร์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเกลือทะเล  กังหันทอง   ผลิตภัณฑ์ดอกเกลือเพื่อสุขภาพ
ลำดับที่ 2 คุณพิสณห์  คงพรหม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพิสณห์สมุนไพร  ผลิตภัณฑ์ยาน้ำมันเหลือ  สูตรน้ำมันขัน
ลำดับที่ 3 คุณกาญจนาวดี   พลายแก้ว   กลุ่มสวนปานะ   ผลิตภัณฑ์มะพร้าวสกัดเย็น

 

1.4 ประเภทอาหาร

ลำดับที่ 1  คุณกรภัทร  ภวสัจจานันท์ ผลิตภัณฑ์ปูกรอบแซ่บซี้ด
ลำดับที่ 2 คุณประภัสสร   รังสิโรจน์ กลุ่มสามร้อยยอดฮอลิเดย์รีสอร์ท    ผลิตภัณฑ์ปลาทูอบสับปะรด
ลำดับที่ 3 คุณหัสชัย   หนูศักดิ์ ผลิตภัณฑ์มิสเตอร์จิม   จมูกข้าวออแกนิค by ชาวนาปริญญาโท

 

1.5 ประเภทเครื่องดื่ม

ลำดับที่ 1  คุณภัคภร    สกุลสุขสิน   ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรมะขามแดง
ลำดับที่ 2  คุณษญาภา   นนททนาวริน   กลุ่มสมุนไพรไทยแปรสภาพ   เลควิวฟาร์ม   ผลิตภัณฑ์น้ำลูกยอ
ลำดับที่ 3  คุณพะยอม  ปลื้มจิตต์  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี บ้านหนองปุหลก   ผลิตภัณฑ์ ว่านหางจระเข้ในน้ำใบเตย

 

2. รางวัลผลิตภัณฑ์นวัตกรรมดีเด่น  1 รางวัล

ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมดีเด่น คุณทักษิณ  หมินหมัน กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน อนุรักษ์ป่าชายเลน  บ้านแหลมโฮมสเตย์   ผลิตภัณฑ์มาร์คหน้าจาก  Golden Bay

 

3. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น  1 รางวัล

การบริหารจัดการองค์กรดีเด่น คุณบังอร  กำปั่นวงษ์  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านพุใหญ่  ผลิตภัณฑ์ไม้กวาดก้านมะพร้าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการกิจกรรมพัฒนาและยกระดับมาตรฐานด้านการบริหารจัดการ(ภาคกลางและภาคใต้) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ไม่สามารถสำเร็จลงได้อย่างงดงามและได้สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ให้มีความรู้ทั้ง 5 ด้านอย่างครบถ้วนที่จะนำองค์กรความรู้ที่ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ ไปต่อยอดธุรกิจของตนเองให้ก้าวหน้าและยั่งยืนภายใต้คณะทำงานร่วมกัน ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์    และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน    และคาดหวังว่าปีงบประมาณใหม่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก็คงจะมีงบประมาณมาสร้างสรรค์ขับเคลื่อนหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้กับชุมชนอื่นต่อไป.....นะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

30 สิงหาคม 2562

ผู้ชม 858 ครั้ง

Engine by shopup.com