การบริการวิชาการให้กับชุมชน ถือเป็นโจทย์หลักสำคัญในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยพะเยา โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในจังหวัดพะเยา วันนี้คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อสำรวจปัญหาด้านโภชนาการที่เกิดขึ้นของเด็กเล็กภายในศูนย์ พร้อมกับสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการ คณะครู ผู้ประกอบอาหาร และผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ และวางแผนการดำเนินงาน ในการให้ความรู้และคำแนะนาด้านโภชนาการ เพื่อสุขภาพสาหรับเด็กเล็ก
อาจารย์วิทวัส สัจจาพงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กล่าวว่า “การบริการวิชาการให้กับชุมชนถือเป็นโจทย์สำคัญในการพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิติที่ดีขึ้น โดยบูรณาการ การเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนักวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมถึงการนำนิสิตลงพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือตามความต้องการของคนในชุมชน โดยเฉพาะกิจกรรมในวันนี้ ซึ่งนำรายวิชาในหลักสูตรโภชนาการ นำมาช่วยพัฒนาในเรื่องของการให้ความรู้ด้านโภชนาการ และการกำหนดอาหารให้แก่ผู้ปกครองของเด็กเล็ก ครู ผู้ประกอบอาหาร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา แห่งนี้”
อาจารย์ นริศรา พันธุรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาโภชนาการ กล่าวว่า “การนำนิสิตมาลงพื้นที่ในวันนี้ ถือเป็นครั้งแรกในการลงพื้นที่ช่วยเหลือและฝึกประสบการณ์ให้กับนิสิต นอกจากจะได้เรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนแล้ว การที่ได้ลงมาพุดคุยพบปะกับชุมชน จึงถือเป็นสิ่งที่ดีในการฝึกประสบการณ์ เพื่อนำไปทำงานในอนาคตได้จริง” นายเกียรติภูมิ อานันท์ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นปีที่ 3 กล่าวว่า “รู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากเพราะเป็นการลงพื้นที่ครั้งแรกของผมด้วย ผมได้เตรียมคำถามเพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์นอกห้องเรียนกับคนในพื้นที่ ซึ่งในวันนี้เราจะนำเรื่องที่ได้จากผู้ปกครองกับไปวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไข โภชนการในเด็ก จะทำอย่างไรให้เด็กได้รับประทานอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และจะทำอย่างไร เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองในการสร้างความรู้เรื่องการเตรียมอาหาร และดูแลบุตรให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามวัย”
นางฌัชกานต์ เสมอเชื้อ ผู้ประสานงานกับชุมชนในพื้นที่ กล่าวว่า “ชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนในเขตพื้นที่ของตนเอง ซึ่งเราอยากเห็นเด็กในชุมชนของเรา มีความเป็นอยู่ที่ดี ให้เด็กมีโภชนาการด้านอาหารครบตามวัยที่เด็กควรจะได้รับ จึงอาสาเป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ นำผู้บริหารท้องถิ่น ครูศูนย์เด็กเล็ก รวมถึงผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยาและชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” กิจกรรมในวันนี้ ต้องขอขอบคุณองค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย ที่ให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องของการเปิดพื้นที่บริการวิชาการ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ของนิสิต และเชื่อมโยงส่ิงที่เรียน กับชุมชน ด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้ และทักษะทางด้านโภชนาการ และการกำหนดอาหาร และเป็นการสง่เสริมยุทธศาสตร์ด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาของมหาวิทยาลัยพะเยาอีกด้วย
12 ธันวาคม 2562
ผู้ชม 1106 ครั้ง