26 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความสกศ.ระดมความคิดเห็น 4 ภูมิภาค ปรับเปลี่ยนค่านิยมการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

สกศ.ระดมความคิดเห็น 4 ภูมิภาค ปรับเปลี่ยนค่านิยมการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

“สุภัทร” เผยภายหลังระดมความคิดเห็นแผนการผลิต-พัฒนากำลังคนด้านการศึกษาตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ (พ.ศ.2563-2570) ครบ 4 ภาค เน้นการสร้างและปรับเปลี่ยนค่านิยมเรื่องการศึกษาเพื่อการมีงานทำและแนวโน้มอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไป ชูการออกแบบหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องอาชีพ

 

 

 

ดร. สุภัทร จำปาทอง  เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษาตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ (พ.ศ.2563 – 2570) ครั้งที่ 4   โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนายการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม กว่า 100 คน ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ อ.เมือง จ.ชลบุรี  เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า สำหรับการระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนตามช่วงวัย ใน 4 ภูมิภาค นั้น  ซึ่ง 3 ครั้งแรกไปที่จังหวัดอุดรธานี เชียงใหม่ สงขลา และสุดท้ายชลบุรี ครบ 4 ภูมิภาค ซึ่งกรอบในการประชุมมุ่งเน้นไปที่โฟกัสการมีงานทำ เนื่องจากเราไปสร้างกลยุทธ์ต่าง ๆ  ปรับเปลี่ยนวิธีการเน้นให้ผู้เรียนสามารถออกไปประกอบวิชาชีพดูแลตัวเองได้  เพื่อการมีงานทำ  โดยได้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเยอะ   ยกตัวอย่างเช่น  จังหวัดเชียงใหม่  เด็กเข้ามาอยู่ในสายอาชีพมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งอาชีวะอาจจะเปิดถึงระดับปริญญาตรีด้วย ซึ่งประเทศไทยยังใช้ปริญญาเป็นการตั้งมูลค่างาน การเปิดระดับปริญญาตรีของอาชีวะจึงมีส่วนช่วย แม้ผู้ปกครองจะยังไม่ค่อยยอมรับมากนักแต่เด็กยอมรับ  

 

 

 

 

เลขาธิการสภาการศึกษา  กล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องที่มีความเหมือนกันในหลาย ๆ ภูมิภาคคือ ครูแนะแนวเป็นเรื่องหลัก เพราะ การที่เด็กโตขึ้นเรียนจนถึงมัธยมปลายเด็กยังไม่รู้ตัวเองว่ามีความถนัด  มีความอยาก มีความชอบที่จะประกอบอาชีพอะไร  ฉะนั้น ความรู้จากครูแนะแนวเป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่ง 3-4 ภูมิภาค พูดคล้าย ๆ กันหมด  แต่ว่าในระบบของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ครูแนะแนวจะต้องดูเด็กให้ออกว่า เด็กจะมีความสามารถอย่างไร อยากจะประกอบวิชาชีพ ไหน คุณจะต้องใส่อะไรลงไปในศักยภาพของเด็ก  นับว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับครูแนะแนว

 

 

 

นอกจากนี้ การประชุมระดมความคิดเห็นในทุกภูมิภาค พูดถึงวิธีการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT)  วัดเด็กประถมการศึกษาปีที่ 3  ส่วนการสอบ Ordinary National Education Test คือการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่ถูกจัดสอบขึ้นโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. “ โอเน็ต” เป็นการจัดสอบสำหรับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพื่อชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษานักเรียนและโรงเรียน นอกนั้น วิชาประวัติศาสตร์จะเน้นวัดความรู้มากกว่า ไม่ได้วัดศักยภาพ เราต้องมีวิธีการวัดอื่นเพื่อส่งเสริมความสามารถเด็ก  ซึ่งมีความเห็นตรงกับผมในหลายจังหวัด เรากำลังจะศึกษาวิธีการทางด้านศักยภาพอื่น ๆ ของเด็กเพื่อนำไปส่งเสริมสู่ความสามารถของเขา  และเรื่องที่มีการพูดกันมากขึ้นในวันนี้ คือ เรื่องความเป็นธรรมในเรื่องค่าใช้จ่ายรายหัว ของโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะโรงเรียนเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

 

 

 

เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ “ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมความเป็นธรรมด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ วันนี้เราไม่ได้คุยกันเรื่อง ของโอกาส มีตัวแทนของผู้ที่ดูแลด้านคนพิการลงความเห็นว่า   ยังอยากจะเห็นความเป็นธรรมในการจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ให้เขาเหล่านั้น และสุดท้ายเราจะพัฒนาอาชีพให้น้อง ๆ ผู้พิการ โดยคุณจะหาแนวทางให้เขามีงานทำอย่างไร และเรื่องการลงทุนคนพิการจะต้องมีมากกว่าปกติ ”

 

 

 

 

ในส่วนของการสนับสนุนของภาคเอกชนในการจัดการศึกษา ดร. สุภัทร กล่าวว่า  การเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเป็นฐานสำคัญในการบอกดีมานด์ ไซส์ให้กับสถานศึกษา เช่น  จังหวัดชลบุรี มีตัวแทนภาคเอกชนท่านหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า  การดิวกับสถานประกอบการหรือภาคเอกชน โดยให้เด็กเข้าไปปฏิบัติงานได้ เขามองว่าเป็นภาระ แต่จริง ๆ แล้วเรื่องของการจัดทวิภาคีหรือการจัดสหกิจศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการ recruit คน  บริษัทสามารถที่จะจัดตำแหน่งงานได้ ในปีหนึ่ง 3-4 ตำแหน่งงาน ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกัน เด็กที่ได้มาฝึกงานระยะ 4 เดือน หรือ  1 ปี หรือแล้วแต่กำหนด  สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับหน่วยงานคุณได้ไหม ถ้าไม่ได้เมื่อเด็กจบ คุณไม่จำเป็นต้องรับเด็กคนนั้นเข้าทำงาน  แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณพอใจ ในระบบการศึกษา  90 เปอร์เซ็นต์เด็กจะได้กลับไปทำงานในที่ที่ไปฝึกงาน เขาสามารถปรับตัวเข้ากับวิธีการทำงาน  สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่เหลือเป็นเรื่องนิสัยใจคอ มนุษยสัมพันธ์ ความสามารถ

 

 

 

ทั้งนี้  บริษัทจะคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ บางแห่งสถานประกอบการส่งข้อมูลไปยังมหาวิทยาลัยว่า ต้องปรับหลักสูตรการจัดการศึกษา เพราะ ปี 4 เทอม 2 ที่จะต้องไปสหกิจหรือฝึกงาน เพื่อที่เขาจะได้รับเด็กเข้าทำงานได้เลย ถ้าเขาพอใจ ไม่ต้องรอเด็กกลับไปเรียนอีก  1 เทอมแล้วค่อยกลับไปทำงาน  นี่คือ สิ่งที่สะท้อน  เราอยากเห็นความร่วมมือและการสะท้อนผู้จ้างงานไปยังสถานศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

 

 

“อีกมุมหนึ่งคือ ทำอย่างไรให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่และสร้างงานเองได้  จริง ๆ เป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เพราะเราต้องการให้เด็กเมื่อพ้นจากการศึกษาภาคบังคับแล้วก็สามารถจะ ดำรงชีวิตอยู่ได้ ด้วยตัวเองหรือเข้าสู่ตลาดแรงงาน ก่อนอายุ 18 ได้ ซึ่งอาจมีข้อจำกัด คือ งานในบางเรื่องทำได้ แต่บางเรื่องอาจจะทำงานไม่ได้  เพราะว่าเด็กยังไม่โตเต็มวัย  แต่ถ้าเกิด 18 ปี จบ ปวช.หรือ ม.6 ก็จะเป็นเด็กอีกสเกลหนึ่ง  สามารถทำงานได้หลายอย่าง สุดท้ายการเน้นสู่สมรรถนะการมีงานทำต้องเปลี่ยนวิธีการเรียนในสถานศึกษาด้วย จากเดิมที่คุณครูต้องใส่วิชาการ  สมมติ 100 ชั่วโมงเต็มอาจจะปรับให้เหลือ 60 : 40 ซึ่งเรื่องนี้พูดกันเยอะ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเกือบ 10 ปี ทางฝ่ายวิชาการของ สพฐ.บอกว่า ถ้ามีการปรับหลักสูตร จัดดี ๆ อยู่กับเรา 55 เปอร์เซ็นต์ของเวลาเรียน อีก 45 เปอร์เซนต์ไปทำอะไรก็ได้ ประเทศของเราวัดความรู้ อย่างที่บอก ถ้าเราโอเน็ตดี performance โรงเรียนนั้นดีก็จะกลับไปที่โรงเรียนดี เวลาที่เรียนใส่วิชาการไปก็ได้ให้มันแน่น ๆ ไว้ดีกว่า  คะแนนจะได้ดีขึ้นเท่าที่ดีได้  ฉะนั้น เรามีวิธีการวัดที่ดีหลายรูปแบบก็จะทำให้ การจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปเองว่า ต้องส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนอย่างไร ผู้เรียนจะได้ใช้สมรรถนะที่ดีไปทำ ไปดำรงชีวิต ไปประกอบวิชาชีพ ตามที่ชอบหรือถนัดได้ ”เลขาธิการสภาการศึกษา  กล่าวปิดท้าย

 

 

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนฯ ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ความเชื่อมโยงของการจัดการศึกษา/การฝึกอบรมในทุกช่วงวัยให้สอดคล้องอย่าเป็นระบบ ระบบการแนวแนะเพื่อให้ผู้เรียนค้นพบความชอบและความถนัดของตนเอง การพัฒนาผู้สูงอายุซึ่งจะต้องคำนึงถึงมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้าน (มิติเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม ชุมชน และศักยภาพ) การให้ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างเรียน การดูแลสุขภาพในทุกช่วงวัยเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ การพัฒนาวัยแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน การสร้างและปรับเปลี่ยนค่านิยมเรื่องการศึกษาเพื่อการมีงานทำและแนวโน้มอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไป การออกแบบหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องอาชีพ อาทิ หลักสูตรทวิศึกษา หลักสูตรทวิภาคี การผลิตและพัฒนาครูเพื่อให้มีทักษะในการจัดการเรียนรู้เรื่องอาชีพ การกระจายอำนาจให้สถานศึกษาในการออกแบบหลักสูตรการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และความไม่สอดคล้องของการประเมินสมรรถนะผู้เรียนที่เน้นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการมากกว่าทักษะ เป็นต้น

 

#สกศ

#แผนการผลิต-พัฒนากำลังคน

#การศึกษาตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ

#สมัครด่วน

 

01 มีนาคม 2563

ผู้ชม 717 ครั้ง

Engine by shopup.com