26 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ สกัดแอลกอฮอล์เข้มข้น 90-95% จากสุรากลั่นชุมชน แก้ปัญหาแอลกอฮอล์ขาดแคลนในท้องตลาด

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ สกัดแอลกอฮอล์เข้มข้น 90-95% จากสุรากลั่นชุมชน แก้ปัญหาแอลกอฮอล์ขาดแคลนในท้องตลาด

หมวดหมู่: การศึกษา

 

 

 

 

จากสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ทำให้ตอนนี้แอลกอฮอล์ขาดแคลนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ที่มีเปอร์เซ็นต์สูงตั้งแต่ 70% ,90% เนื่องจากว่าแอลกอฮอล์พวกนี้เป็นสารตั้งต้นในการทำเจลล้างมือ หรือว่าตัว spray gel จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่จะสกัดหรือกลั่นแอลกอฮอล์จากสุรากลั่นชุมชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เพื่อนำมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นสูงในระดับ 90%ขึ้นไป สำหรับเป็นสารตั้งต้นการผลิตเจลล้างมือ สาเหตุที่เรานำเอาสุรากลั่นชุมชนของพัทลุงมาใช้ เนื่องจากจังหวัดพัทลุงเป็นพื้นที่ที่มีวัตถุดิบในการผลิตสุรากลั่นชุมชนค่อนข้างที่จะมีคุณภาพดีและมีจำนวนมาก

 

 

 



อาจารย์ ดร.พลากร บุญใส อาจารย์สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์  เปิดเผยว่า สำหรับขั้นตอนการผลิตตัวแอลกอฮอล์ 95% หรือ 90% ขึ้นไป จะเริ่มจากการเอาสุรากลั่นชุมชนที่มีดีกรีอยู่ที่ประมาณ 35-40 ดีกรี มาทำการกลั่นซ้ำโดยเครื่องที่เรียกว่า “หอกลั่นลำดับส่วน” ซึ่งคุณสมบัติของเครื่องหอกลั่นลำดับส่วนจะสามารถแยกเอาตัวสารละลายที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันออกจากกันได้ สิ่งที่เราต้องการแยกคือ “เอทานอล (Ethanol)” หรือ “เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol)” สามารถที่จะแยกออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนการแยกเราได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพของการแยกให้มีความบริสุทธิ์สูงขึ้นไปอีก โดยสิ่งที่เรียกว่า “การตัดหัวตัดท้าย” โดยทำการกลั่นตัวสุรากลั่นชุมชนแล้วทำการแยกเอาส่วนที่กลั่นออกมาส่วนแรก หรือที่เรียกว่า “หัว” ทิ้งไปเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของตัว “เมทานอล (Methanol)”หรือ “เมธิล แอลกอฮอล์(‎Methyl Alcohol)” ซึ่งเป็นสารเป็นพิษ หลังจากนั้นเราจะทิ้งส่วนที่กลั่นออกมาท้ายสุดออกไปด้วย เก็บเฉพาะส่วนกลางซึ่งมีจุดเดือดที่ตรงกับ “เอทานอล(Ethanol)” หรือ “เอทิลแอลกอฮอล์(Ethyl Alcohol)”ซึ่งจะทำให้ได้“เอทานอล (Ethanol)” หรือ “เอทิลแอลกอฮอล์(Ethyl Alcohol)”ที่มีความบริสุทธิ์สูง ขั้นตอนต่อไปเราก็จะนำ“เอทิลแอลกอฮอล์(Ethyl Alcohol)” ที่ได้ไปพิสูจน์อีกครั้งหนึ่ง โดยการใช้เครื่องที่เรียกว่า “แก๊สโครมาโทรการฟี”(GasChromatography)” หรือเครื่อง “GC” เครื่องตัวนี้จะสามารถพิสูจน์หรือ ”detect”ได้ว่ามีเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์อยู่เท่าไหร่และเป็นแอลกอฮอล์ “เอทานอล(Ethanol)”จริงหรือไม่ จากผลการกลั่นของเราพบว่าเราสามารถจะกลั่นแอลกอฮอล์จากสุรากลั่นชุมชนได้90-95% โดยการพิสูจน์ด้วยกระบวนการ “แก๊สโครมาโทรการฟี (Gas Chromatography)” ซึ่งหวังว่าการทดลองในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารตั้งต้นในการผลิตเจลล้างมือที่มีความต้องการสูงในขณะนี้ได้

 

 

 



อาจารย์ ดร.ธนพันธุ์ ปัทมานนท์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เราก็มีคณาจารย์และบุคลากรที่มีองค์ความรู้อยู่มากมาย มาพัฒนางานเพื่อช่วยเหลือสังคมได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการหมักเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ และนำไปกลั่นลำดับส่วน เพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์ 90-95% เพื่อนำไปใช้ต่อในการผลิตเป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ COVID-19 และเชื้ออื่นๆ  

 

 

 



โดยเราสามารถใช้วัสดุทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปใช้ในกระบวนการหมัก โดยทางคระวิทยาศาสตร์สามารถทำขึ้นใช้เองได้ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนแอลกอฮอล์

แต่เนื่องจากว่าระบบที่จะพัฒนาขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ อาจจะไม่ใช่ระบบใหญ่แบบระบบของอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นในส่วนของปริมาณที่จะใช้ก็อาจจะไม่มาก แต่เราก็สามารถจะพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความขาดแคลนในช่วงสั้นๆ ช่วงเวลาจำเป็นได้

 

 

 

24 มีนาคม 2563

ผู้ชม 1001 ครั้ง

Engine by shopup.com