คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมต้อนรับ ศ.ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะ ณ บ้านคลองหินขาว หมู่ 9 ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19)
ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีการสร้างระบบแนวคิดแบบใหม่ในการพัฒนชุมอย่างยั่งยืน โดยใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทางมหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการปรับชุมชนเป็นห้องเรียน เปลี่ยนบัณฑิตราชภัฏเป็นวิศวกรสังคม ซึ่งคำว่าวิศวกรสังคม นั้น จะสร้างให้นักศึกษามีการวิเคราะห์เป็นระบบและสามารถลงพื้นที่ใชุมชนสร้างความเชื่อมโยงต่อชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรในการพัฒนาประเทศ โดยมีคุณลักษณะหลัก 4 ประการ คือ 1. นักศึกษาต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผล เห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย 2. คือการนำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนได้อย่างไร สามารถสื่อสารองค์ความรู้ที่เรียนเพื่อนำไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ 3.คือการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้งสามารถที่จะระดมกำลังไม่ว่าจะภายในท้องถิ่นหรือนอกท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้ และ 4. คือต้องมีทัษะในการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
ด้าน ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID -19 ส่งผลให้เกิดการตกงาน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในทุกระดับ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงดําเนินโครงการจ้างงานประชาชนผู้ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมการบูรณาการ ผสานองค์ความรู้ สู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยังยืน เน้นการสร้างคนให้เป็น “วิศวกรสังคม”โดยมีแผนการขับเคลื่อนให้ประชาชนลงพื้นที่เป็นวิศวกรสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้ มีการดำเนินงานโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรั COVID-19 อันเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม หรือ อว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เกิดการจ้างงาน สร้างสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ในพื้นที่
ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า วิศวกรสังคมคือความภาคภูมิใจของมหาวิทยลัยราชภัฏสุราษภร์ธานี บุคลากรผู้เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงาม ความเสียละ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ที่เปี่ยมไปด้วยความตั้งใจ ความพากเพียร และวิริยะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่น่าชื่นชม เป็นเสมือนเครื่องกำกับทิศทาง ตอกย้ำอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการพัฒนาประเทศ และบำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่พี่น้องประชาชนชาวไทย ดังนั้นในทุกก้าวย่างเพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเป็น "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน" อย่างแท้จริง
ส่วน นายธนพงศ์ ปานรัตน์ วิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดเผยถึงโครงการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สวนผึ้งบ้านคลองหินขาว ประเภท เลี้ยงผึ้งโพรงกึ่งธรรมชาติ หมู่ที่ 9 ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานีว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวมีนายประพาส เพชรพิฆาฏ ประธานกลุ่มและผู้ก่อตั้ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ยังเป็นการผลิต แบบดั้งเดิม จึงต้องการพัฒนา เป็นแบบใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับให้มีมาตรฐานสูงขึ้นจะได้รองรับการขอใบรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ จากหน่วยงานภาครัฐในอนาคต และจำเป็นที่จะต้องใช้ เครื่องจักรในการบรรจุ เพื่อลดระยะเวลาในการบรรจุ ป้องกันสิ่งปนเปื้อน ส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย พร้อมจัดอบรม ให้ความรู้ แก่สมาชิก เรื่องการตลาดและการขาย ในช่องทางต่างๆ เเละส่งเสริมจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ ประจำถิ่น เพื่อสร้างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริม ให้ชุมชน มีความยั่งยืน เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชน การได้ทำหน้าที่วิศวกรสังคมจึงเป็นความภาคภูมิใจ ที่ได้ลงพื้นที่ชุมชนอย่างเเท้จริงก่อให้เกิดสำนึกรักบ้านเกิดและภูมิลำเนา เป็นที่ปรึกษาแนะนำประสานงาน ให้แก่กลุ่มสมาชิกผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการพัฒนาต่อยอดในอนาคตต่อไป
22 กรกฎาคม 2563
ผู้ชม 479 ครั้ง