27 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความผช.รมว.แรงงาน เปิดงานประชุมใหญ่สามัญประจําปีสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและ “งานรวมพลคนท่องเที่ยว 2022” พร้อมปาฐกถาพิเศษ “เดินหน้าท่องเที่ยวไทย”

ผช.รมว.แรงงาน เปิดงานประชุมใหญ่สามัญประจําปีสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและ “งานรวมพลคนท่องเที่ยว 2022” พร้อมปาฐกถาพิเศษ “เดินหน้าท่องเที่ยวไทย”

หมวดหมู่: แรงงาน

 

          วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมใหญ่สามัญประจําปีสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและ “งานรวมพลคนท่องเที่ยว 2022” พร้อมปาฐกถาพิเศษ “เดินหน้าท่องเที่ยวไทย” โดยมี นายสุทธิ สุโกศล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน จ่าเอก ยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมพิธีเปิดงานฯ ณ โรงแรมรามา กาณ์เด้น กรุงเทพฯ โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและหลากหลายรูปแบบที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และสามารถสร้างรายได้ให้แก่พี่น้องชาวไทย แม้ว่าในห้วงที่ผ่านมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจะเผชิญวิกฤต โควิด-19 ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในการความช่วยเหลือเพื่อให้คนไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน โดยมีโครงการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งตลอดระยะ 2 ปี ที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด–19 กระทรวงแรงงานได้ออกมาตรการต่างๆ มากมาย เพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด–19 และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ผู้ประกอบการ แรงงานที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวและบริการ เป็นภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 เป็นอย่างมาก และมีความจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูให้สามารถกลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะภาคการท่องเที่ยวและบริการ คือ กลไกสำคัญของการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ซึ่งช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ต่างๆ ตั้งแต่ การเกิดคลัสเตอร์แรงงานต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร กระทรวงแรงงาน ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดทำแฟคทอรี ควอรันทีน แรงงานเดินทางกลับบ้านช่วงปีใหม่ และคลัสเตอร์สถานบันเทิง ดำเนินการเปิดจุดตรวจโควิดแบบประจำจุดและตรวจเชิงรุกในโรงงาน โรงงานปิดตัวลงจากการแพร่ระบาดในโรงงาน กระทรวงแรงงานจัดโครงการแฟคทอรี่ แซนบ๊อก บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจศาสตร์และสาธารณสุข มุ่งเป้าภาคการผลิตส่งออกสำคัญ ยานยนต์ อาหาร ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การให้ความช่วยเหลือ SMEs เพื่อรักษาการจ้างงานให้ยังคงอยู่ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคสูงขึ้น การยกระดับฝีมือแรงงานด้านการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อให้พี่น้องแรงงานช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการรวมตัวกันของภาคเอกชน 5 กลุ่มสาขาอาชีพการท่องเที่ยว (1.ธุรกิจนำเที่ยวและธุรกิจด้านบริการขนส่ง 2.ธุรกิจที่พักแรมและการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3.ธุรกิจร้านอาหารและสินค้าของฝาก 4.ธุรกิจการจัดประชุมและสัมมนา และ 5.ธุรกิจด้านสุขภาพ กีฬา และนันทนาการ) เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนแนวทาง การส่งเสริมการท่องเที่ยวและไมค์ (MICE : Meeting ประชุม, Incentive Travel การจัดการท่องเที่ยว Conventions ประชุมนานาชาติ Exhibitions การจัดแสดงสินค้าและบริการ) โดยเฉพาะการแสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดน เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ 5 ภูมิภาคกับประเทศเพื่อนบ้าน

 

 

 

 

          ตามที่รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนา จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ยิ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ อย่างทีเส็ป (สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ก็ยิ่งนับเป็นมิติใหม่ของการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐอย่างแท้จริง รัฐบาลยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้กรอบความร่วมมือดังกล่าวเป็นกระบอกเสียงในการรวบรวมปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่นโยบายการแก้ไขต่อไป สุดท้ายนี้ กระทรวงแรงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเกิดขึ้นของกรอบความร่วมมือนี้ จะเป็นเวทีที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและไมซ์ ในการผลักดันให้เกิดการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน นายสุรชัยฯ กล่าวในท้ายที่สุด

16 กันยายน 2565

ผู้ชม 261 ครั้ง

Engine by shopup.com