27 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความปลัดแรงงาน เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการไตรภาคีเพื่อเตรียมความพร้อมระดับชาติ สำหรับการประชุมอาเขียนว่าด้วยแรงงานต่างด้าว (AFML) ครั้งที่ 15

ปลัดแรงงาน เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการไตรภาคีเพื่อเตรียมความพร้อมระดับชาติ สำหรับการประชุมอาเขียนว่าด้วยแรงงานต่างด้าว (AFML) ครั้งที่ 15

หมวดหมู่: แรงงาน

 

           วันที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น. นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการไตรภาคีเพื่อเตรียมความพร้อมระดับชาติ สำหรับการประชุมอาเขียนว่าด้วยแรงงานต่างด้าว (AFML) ครั้งที่ 15 ณ ห้องประชุมพิมานแมน ชั้น 2 โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ โดยกล่าวว่า การประชุม AFMLในครั้งนี้ ราชอาณาจักรกัมพูชาในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ได้กำหนดหัวข้อหลัก คือ การฟื้นฟูการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานและการเสริมสร้างความร่วมมือด้านแรงงานในระดับภูมิภาค โดยมีหัวข้อย่อย 2 หัวข้อ ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงาน และการคุ้มครองสิทธิเพื่อให้เกิดการพัฒนาสูงสุดต่อการโยกย้ายถิ่นของแรงงาน : ผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติ และจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ซึ่งราชอาณาจักรกัมพูชามุ่งเน้นให้เกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระดับภูมิภาคอาเซียน เพื่อช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวให้มีงานทำได้รับการคุ้มครองและความช่วยเหลือผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้อย่างปลอดภัย รวมถึงความสำคัญกับการฟื้นฟูและการเคลื่อนย้ายแรงงานให้กลับมาอีกครั้งภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง

 

 

 

 

            ประเทศไทยตระหนักดีถึงความสำคัญของแรงงานต่างด้าวในฐานะกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่องไม่น้อยไปกว่าแรงงานไทย ซึ่งทุกท่านคงทราบดีว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงานและรูปแบบการดำเนินชีวิต รวมถึงความไม่แน่นอนในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ในปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายกว่า 2 ล้านคน โดยเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าแรงงานต่างด้าวเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครองในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน กระทรวงแรงงานในฐานะหน่วยงานหลักด้านการคุ้มครองแรงงาน ได้เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของแรงงานทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีความสำคัญในภาคการผลิตซึ่งก็คือกลุ่มแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงานมีความห่วงใยและให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จึงออกมาตรการ "ดูแล ช่วยเหลือเยียวยา รักษาป้องกัน" เพื่อบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวในประเทศ โดยการดูแลช่วยเหลือแรงงานเหล่านี้ให้เข้าถึงสิทธิที่ประโยชน์ต่างๆ และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากผลกระทบช่วงโควิด-19 ในขณะนี้ โดยแบ่งมาตรการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ มาตรการดูแล ได้แก่ การบริหารจัดการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวกว่า 650,000 คน เพื่อให้แรงงานเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องและช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการผ่อนผันแรงงานต่างด้าวให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ โดยปรับเปลี่ยนระยะเวลาการหานายจ้างใหม่จาก 30 วัน เป็น 60 วัน มาตรการช่วยเหลือเยียวยา ได้แก่ การจ่ายเงินชดเชยจากสิทธิประโยชน์ว่างงานกรณีสุดวิสัย ตั้งแต่ปี 2563 - 2564 รวมเป็นเงินกว่า 700 ล้านบาท ให้แก่ผู้รับสิทธิ กว่า 200,000 คน และการดูแลแรงงานต่างด้าวกรณีว่างงาน หยุดงาน จากการติดเชื้อหรือการกักตัวด้วยการช่วยเหลือด้านอาหารและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น และมาตรการรักษาป้องกัน ได้แก่ การตรวจคัดกรองเชิงรุกโดยการสุ่มตรวจ RT - PCR และ Rapid Test ในสถานประกอบการที่มีความเสี่ยง รวมถึงการจัดให้มีศูนย์ตรวจคัดกรองโควิด-19 เพื่อให้บริการผู้ประกันตนนอกสถานพยาบาล ตลอดจนการฉีดวัคซีนให้กับแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียมเพราะรัฐบาลมีนโยบายให้ลูกจ้างผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข และได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินจากระบบประกันสังคมภายใต้นโยบายของท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ว่า "ดูแลแรงงานทุกชาติ ทุกภาษา ดุจคนในครอบครัว" ด้วยเหตุนี้ การประชุมที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อจากนี้ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของกระทรวงแรงงานเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นโอกาสอันดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และภาคประชาสังคม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีส่วน ได้ส่วนเสียในเรื่องดังกล่าว จะได้มาพูดคุย และร่วมกันสะท้อนความคิด ตลอดจนเสนอข้อคิดเห็นและประมวลสถานการณ์ผ่านมุมมองต่างๆ เพื่อร่วมกันหานโยบายและวางแนวทางร่วมกันในการฟื้นฟูการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงาน และการเสริมสร้างความร่วมมือด้านแรงงานในระดับภูมิภาค ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

19 กันยายน 2565

ผู้ชม 253 ครั้ง

Engine by shopup.com