25 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความก.แรงงาน จับมือ มูลนิธิ IJM มุ่งพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

ก.แรงงาน จับมือ มูลนิธิ IJM มุ่งพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

หมวดหมู่: แรงงาน



         วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินผลระหว่างดำเนินงาน (Mid-term Assessment) โครงการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการป้องกันและปราบปราบการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน/บังคับใช้แรงงานหรือบริการ โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม Ms.Christa Sharpe ผู้อำนวยการไอเจเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค กล่าวต้อนรับ ณ ห้อง เลอเบลแอร์ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

          นายวรรณรัตน์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2566 (TIP Report 2023) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 โดยประเทศไทยได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน Tier 2 ติดต่อเป็นปีที่ 2 ซึ่งรายงานดังกล่าวยังคงมีข้อเสนอแนะ ให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถนำแนวปฏิบัติตาม มาตรา 6/1 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปใช้ในการคัดแยกผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้ทีมสหวิชาชีพประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมและมีประสบการณ์เพียงพอในการปฏิบัติงานด้านการค้ามนุษย์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้เสียหาย และเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจข้อบ่งชี้ของการค้ามนุษย์ เช่น การบังคับทำงานใช้หนี้ การทำงานเกินเวลามากเกินจำเป็น การยึดเอกสารของลูกจ้างและการทำงานโดยไม่จ่ายผลตอบแทน

 



          นายวรรณรัตน์ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงาน ภายใต้การนำของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านความมั่นคง โดยรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพหลักในการป้องกันการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ในการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองดูแลและป้องกันไม่ให้แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในปี 2565 กระทรวงแรงงานได้จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) และมอบหมายให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ในการคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการบังคับใช้แรงงานและการนำแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติฯ (NRM) นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นการยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้เทียบเท่ากับมาตรฐานขั้นต่ำในกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2000 (TVPA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

 



           การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิ IJM และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานและค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์ในการดำเนินงานของไอเจเอ็ม จึงได้มีความร่วมมือผ่าน “โครงการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการป้องกันและปราบปราบการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน/บังคับใช้แรงงาน หรือบริการ” เพื่อขับเคลื่อนนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ และการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่มาร่วมประชุมในวันนี้ ในการประเมินผลการนำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ไปใช้ในพื้นที่ การปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน และตอบสนองตามแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ (NRM)

 


           การจัดประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถคัดกรอง คัดแยกและสืบสวนสอบสวนกรณีแรงงานบังคับและค้ามนุษย์ด้านแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐาน โดยสอดคล้องกับ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยยึดผู้เสียเป็นศูนย์กลางและคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ ตลอดจนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นเพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการถึงปัจจุบัน และรวบรวมข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการในช่วงปีถัดไปที่สอดคล้องและส่งเสริมแนวทางและนโยบายของหน่วยงานในการขจัดการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในประเทศไทยต่อไป

10 พฤศจิกายน 2566

ผู้ชม 167 ครั้ง

Engine by shopup.com