21 พฤศจิกายน 2567

ข่าวประกาศ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล รับสมัครบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565 กรมทางหลวง รับสมัครเข้ารับราชการ จำนวน 6 ตำแหน่ง สมัครตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2565 กรมสรรพสามิต รับสมัครบุคคล (คนพิการ) เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน 6 อัตรา สมัครตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2565

ดูบทความม.รังสิต เจ้าภาพฝ่ายสถานที่จัดการแข่งขัน “สะพานสู่ภาษาจีน” ครั้งที่ 23

ม.รังสิต เจ้าภาพฝ่ายสถานที่จัดการแข่งขัน “สะพานสู่ภาษาจีน” ครั้งที่ 23

          สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ สำนักงานกรุงเทพฯ  และสาขาวิชาภาษาจีน วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดการแข่งขัน “สะพานสู่ภาษาจีน”การประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2567 รอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย จากกิจกรรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการแช่งขันกว่า 100 คน จาก 25 สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

 

 

          ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในฐานะอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรังสิต ผมรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่มหาวิทยาลัยรังสิตได้รับโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้    

          “การแข่งขันสะพานสู่ภาษาจีน นับเป็นเวทีสำคัญระดับนานาชาติ สำหรับนักศึกษาหนุ่มสาวทั่วโลกในการแสดงทักษะภาษาจีนและความเข้าใจในวัฒนธรรมจีน เพราะไม่เพียงแต่เป็นการแข่งขันด้านทักษะภาษาเท่านั้น แต่ยังเป็นงานเฉลิมฉลองทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่อีกด้วย  โดยการแข่งขันในปีนี้ได้กำหนด เทียน เซี่ย อี้ เจีย เพื่อสื่อถึงความปรารถนาที่งดงามของเยาวชนทั่วโลก ต่อสันติภาพ มิตรภาพ และความสามัคคี ที่เชื่อมกันด้วยสะพานแห่งภาษา นับเป็นโอกาสอันดีที่เยาวชนจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งภูมิหลังทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน มารวมตัวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเพิ่มความเข้าใจระหว่างกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มหาวิทยาลัยรังสิตเห็นถึงความสำคัญ และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ในด้านการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน และการศึกษาภาษาจีนในหลากหลายรูปแบบ อาทิ  ความร่วมมือระหว่างศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ และสาขาวิชาภาษาจีน วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ร่วมกันจัดตั้งห้องเรียนดนตรีจีนแห่งแรกในประเทศไทย โดยมีแนวคิดมุ่งเน้น ภาษาจีน Plus แนวคิดนี้ ไม่เพียงแต่ให้โอกาสนักศึกษาไทยได้เรียนรู้ภาษาจีนในแพลตฟอร์มใหม่เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสและเข้าใจวัฒนธรรมจีนผ่านดนตรีอีกด้วย  การจัดตั้งห้องเรียนดนตรีจีน มหาวิทยาลัยรังสิต นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในนวัตกรรมการศึกษาที่เป็นการประกาศศักยภาพและพลังด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลก เราพยายามอย่างเต็มที่เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และเสริมสร้างความสามารถให้แก่นักศึกษา ผ่านการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ชุดกิจกรรมหนีห่าว ชุนเจี๋ย ผ่านประสบการณ์การสัมผัสวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจและรักวัฒนธรรมจีนมากยิ่งขึ้น”

 

       

            ผศ.ดร.ปิยสุดา ม้าไว คณบดีวิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การแข่งขัน “สะพานสู่ภาษาจีน”เป็นเวทีของการประกวดสุนทรพจน์ และความรู้ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา แห่งประเทศไทย นักศึกษาผู้เรียนภาษาจีนที่อยู่ที่แห่งนี้นั้น ผลงานของทุกคนไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงระดับภาษาจีนที่ยอดเยี่ยม แต่ยังสะท้อนถึงความเข้าใจและความรักอันลึกซึ้งต่อวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าผลการแข่งขันจะเป็นอย่างไร ทุกคนคือทูตแห่งวัฒนธรรมไทย-จีน และเป็นส่วนหนึ่งของสะพานแห่งความสัมพันธ์ไทย-จีนที่สำคัญยิ่ง

“สำหรับกิจกรรมการแข่งขันสะพานสู่ภาษาจีนเองนั้น ก็เป็นความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ระหว่าง สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำราชอาณาจักรไทย ศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ สำนักงานกรุงเทพฯ กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม และสถาบันขงจื่อ ที่มองเห็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยรังสิต และให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยของเราเป็นอย่างดี หากไม่มีความช่วยเหลือและสนับสนุนจากพวกท่าน ทุกอย่างนี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์  หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะยังคงมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันต่อไปในอนาคต เพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาจีน และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นตลอดไป”

 

31 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 83 ครั้ง

Engine by shopup.com