สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จับมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ดำเนินการโครงการโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสร้างนวัตกรรมสู่ SMEs4.0 และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ โดยมีระบบการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจให้เกิด High Value ผลักดันให้ SME และวิสาหกิจชุมชนเติบโตและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ในการดำเนินโครงการได้แบ่งผลผลิตออกเป็น 4 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการจะได้รับความรู้เบื้องต้นในการยกระดับ SME 4.0 จำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 ราย 2.ผู้ประกอบการมีแผนธุรกิจเตรียมความพร้อมนำไปปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ จำนวนไม่น้อยกว่า 1,500 ราย 3.ผู้ผ่านการบ่มเพาะเพื่อพัฒนาเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการให้เป็นที่ต้องการของตลาดและประกอบธุรกิจได้ จำนวนไม่น้อยกว่า 900 รายและ 4.ผู้ประกอบการได้รับการเชื่อมโยงเข้าสู่การส่งเสริมด้านการตลาด ทั้งการตลาดออนไลน์หรือการจัดการแสดงสินค้า จำนวนไม่น้อยกว่า 450 ราย ซึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นในงาน STARTUP Market fair 2018 จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 12-14 กันยายน 2561 ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมมากกว่า 150 ราย
คุณวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ในส่วนของ สสว.ในโครงการ STARTUP 2561 ใกล้จะจบแล้ว ซึ่งดำเนินการโครงการ STARTUP เป็นเวลามา 3 ปี ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาแรก ๆ และเป็นนโยบายของรัฐบาลที่อยากจะเห็นผู้ประกอบการในกลุ่ม STARTUP ขณะนั้นใช้คำว่า STARTUP คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจเริ่มต้นที่ไม่ใช่นิยามของ STARTUP และกำลังมีการปรับเปลี่ยน ดังนั้น ผู้ประกอบการในโครงการของเราที่ทำมาจนถึง 3 ปี มีจำนวนผู้ประกอบการจำนวนมาก สสว.พยายามที่จะให้โอกาสกับคนที่จะเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ และดำเนินธุรกิจมาไม่เกิน 3 ปี จะเห็นว่า ใน 3 ปีคือ ผู้ที่เริ่มต้น ยังเตาะแตะ ๆ หรือบางคนเริ่มมานานแล้วแต่ยังไม่เป็นนิติบุคคลที่ชัดเจนทาง สสว.พยายามที่จะดึงเขาเพื่อยกระดับให้เป็นนิติบุคคลต่อไปในอนาคต เป็นการสร้างความแข็งแรงของตัวผู้ประกอบการเอง ดังนั้น ผู้ประกอบการในกลุ่ม STARTUP จะมีอยู่ประมาณ 30,000 รา ย ซึ่งผู้ประกอบการใน 30,000 ราย ที่เข้ามาทาง สสว.ได้ให้ความรู้เบื้องต้น กับคนที่จะปูพื้นว่า การทำธุรกิจ เป็นอย่างไร มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร มีต้นแบบของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้วมาให้ความรู้ในเบื้องต้น เพื่อเป็น การเรียนรู้ว่า การที่เขาจะทำธุรกิจต่อไป แต่ละประเภทต้องระมัดระวังอะไรบ้าง เป็นสิ่งที่ควรจะรับรู้ในการทำธุรกิจ ต่อไป
ผอ.ผู้ฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สสว. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากนั้นในขั้นตอนต่อไป สสว.จะมีการ อบรมทั่วไปแล้วก็จะมีการทำแผนธุรกิจ ซึ่งการทำแผนธุรกิจ มีการปูพื้นง่าย ๆ คำว่า แผนธุรกิจทุกคนมักจะกลัว การที่ สสว.ร่วมกับ มจพ.พยายามที่จะดูว่าผู้ประกอบการ STARTUP หรือผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มต้น น่าจะเรียนรู้แผนธุรกิจอย่างง่ายมาก่อน เขาควรจะรู้มีบัญชีรับ-จ่าย มีการวางแผนการตลาด มีการวางแผนการเงินอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการ คือสิ่งที่สำคัญ ณ ปัจจุบัน ยังเป็นธุรกิจเล็ก ๆ มี ตัวเขาคนเดียวหรือมีพนักงานเล็ก ๆ 5-10 คน แต่ต่อไป หากกิจการโตขึ้น เขาจะต้องทำอย่างไร มีการวางแผนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 2 คือ การทำแผนธุรกิจเพื่อการเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตต่อไป ที่จะเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มที่ สสว.เตรียมไว้ หลังจากนั้น เราลงเชิญลึกที่จะเข้าไปให้ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัย ที่มีองค์ความรู้ดี ผ่านประสบการณ์มาเยอะ เนื่องจากอาจารย์มหาวิทยาลัย มีบริบทอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ไม่ใช่สอนหนังสืออย่างเดียว ร่วมทำวิจัยกับผู้ประกอบการหลากหลายในแต่ละธุรกิจแต่ละประเภท เป็นสิ่งที่คณาจารย์ มจพ.ได้เรียนรู้และมาเป็นที่ปรึกษาให้ผู้ประกอบการ เชิงลึก โดยเฉพาะระดับ STARTUP ที่ให้เขาเรียนรู้อย่างง่าย ๆ ยังไม่ลึก ดังนั้น เขาเป็นผู้ประกอบการต่อไป เขาจะระแวงระวังมากขึ้น สุดท้าย ผู้ประกอบการ STARTUP ของเราก็จะเตรียมเรื่องของตลาดไว้ให้ เช่น วันนี้ที่มาที่ศูนย์ราชการอาคาร A ก็จะเป็นบททดสอบให้เขาว่า หลังจากการเดินมาตั้งแต่แรกถึงปัจจุบันที่เขาได้ถูกคัดเลือกมาแล้ว เป็นการคัดเลือกของ สสว.และมจพ.เป็นการคัดเลือกที่มีศักยภาพ ออกสู่ตลาดได้ ไม่ใช่ผู้ประกอบการทุกรายที่จะไปได้ ดังนั้น ตรงนี้ถือว่าเป็นบททดสอบเบื้องต้น เขาจะได้เรียนรู้ว่าพอมาออกตลาดแล้ว ผู้บริโภคเองมีการตอบรับมากน้อยเพียงใด และต้องไปปรับอะไรในอนาคต นั่นคือ บริบทของโครงการ STARTUP 2561 ที่เราดำเนินการร่วมกับ มจพ. ผู้ประกอบการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME เป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจและเขาจะต่อยอด ต่อไปได้ เติบโตไปได้ในอนาคต
รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพงษ์ เลิศวิริยะประภา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า มจพ.มาช่วย SME STARTUP ทำให้ มีองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจเป็นของตัวเอง เราได้องค์ความรู้ที่ได้จากชั้นเรียน ได้อาจารย์ที่มีประสบการณ์มาช่วยทั้งในเชิงธุรกิจและในเชิงของงานวิจัย หวังว่า โครงการนี้จะทำให้ SME ได้อะไรใหม่ ๆ มีแนวในการประกอบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต่อไป ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุน STARTUP อยู่แล้วและจะขยายวงกว้างออกไปสู่ชุมชนมากขึ้นเรื่อย ๆ
นางสาววิภารัตน์ รัตนพิทักษ์ จักสานก้านมะพร้าว ท่าคา จ. สมุทรสงคราม บอกว่า เมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมา คุณแม่ทองหล่อ รัตนพิทักษ์ เป็นคนดั้งเดิมของท่าคำ ได้รู้จักก้านมะพร้าวเป็นของใช้ประจำบ้านทั่วไป เช่น ฝาชี พานโตก หม้อแบ่งขันน้ำพานรองกระจาดผลไม้ หมวกผู้ชาย ผู้หญิง เชี่ยนหมากโคมไฟรูปสับปะรด และอื่น ๆ คุณแม่ทองหล่อได้ถ่ายทอดวิชาการทำจักสานก้านมะพร้าวอย่างละเอียดทุกขั้นตอนให้กับลูกสาวคนโต คือ ดิฉัน โดยให้สืบทอดงานต่อจากคุณแม่ทองหล่อซึ่งได้พัฒนาสินค้าใหม่ ๆ เพิ่มเติมตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน
12 กันยายน 2561
ผู้ชม 762 ครั้ง